พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8951/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้ไม่ถือเป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องคดีอาญาและแพ่งยังคงอยู่
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะให้การรับสารภาพเพราะสามารถตกลงกับโจทก์ร่วมได้ โดยจำเลยต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมเพียงบางส่วน แต่ก็มิได้เป็นการตกลงให้โจทก์ร่วมต้องถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความเพื่อให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยเป็นอันระงับไปทันทีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยจำเลยไม่จำต้องชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมตามข้อตกลงดังกล่าวให้ครบถ้วนก่อน ศาลชั้นต้นจึงได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปตามคำแถลงของจำเลย เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยชำระหนี้ตามข้อตกลง เจตนาอันแท้จริงของโจทก์ร่วมและจำเลยจึงเป็นเพียงความตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามที่โจทก์ร่วมยินยอมลดยอดหนี้ให้ โดยมีเงื่อนไขเป็นปริยายว่า เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมครบถ้วนตามจำนวนดังกล่าวก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา โจทก์ร่วมก็จะติดใจเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เพียงเท่านั้น และไม่ติดใจดำเนินทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยต่อไปอีก ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง สิทธิและความรับผิดระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยยังคงมีอยู่ต่อกันตามฟ้องทุกประการข้อตกลงดังกล่าวโจทก์ร่วมและจำเลยจึงมิได้ประสงค์ให้เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องต้องระงับไปไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมไม่ถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความด้วย ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้และจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินทั้งหมดที่ยักยอกคืนแก่โจทก์ร่วมตามคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8951/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้ไม่ถือเป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิเรียกร้องยังคงอยู่ หากไม่ชำระหนี้ตามตกลง
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะให้การรับสารภาพเพราะสามารถตกลงกับโจทก์ร่วมได้ โดยจำเลยต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมเพียงบางส่วน แต่ก็มิได้เป็นการตกลงให้โจทก์ร่วมต้องถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความเพื่อให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยเป็นอันระงับไปทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) โดยจำเลยไม่จำต้องชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมตามข้อตกลงดังกล่าวให้ครบถ้วนก่อน ศาลชั้นต้นจึงได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปตามคำแถลงของจำเลย เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยชำระหนี้ตามข้อตกลง เจตนาอันแท้จริงของโจทก์ร่วมและจำเลยจึงเป็นเพียงความตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามที่โจทก์ร่วมยินยอมลดยอดหนี้ให้ โดยมีเงื่อนไขเป็นปริยายว่า เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมครบถ้วนตามจำนวนดังกล่าวก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา โจทก์ร่วมก็จะติดใจเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เพียงเท่านั้นและไม่ติดใจดำเนินทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยต่อไปอีก ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง สิทธิและความรับผิดระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยยังคงมีอยู่ต่อกันตามฟ้องทุกประการข้อตกลงดังกล่าวโจทก์ร่วมและจำเลยจึงมิได้ประสงค์ให้เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องต้องระงับไปไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมไม่ถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความด้วย ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้และจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินทั้งหมดที่ยักยอกคืนแก่โจทก์ร่วมตามคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8151/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการต่างประเทศมีผลผูกพัน เมื่อจำเลยลงนามในเอกสารและติดต่อเรื่องค่าเสียหาย
โจทก์นำข้อพิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการแห่งเมืองฮัมบูร์ก ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งได้ชี้ขาดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ ตามฟ้อง แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาล เมื่อปรากฏว่า ในการติดต่อซื้อขายสินค้ารายพิพาทจำเลยและบริษัท ว. จำกัดได้ ลงชื่อในเอกสารว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อ รวมทั้งระบุข้อความให้เสนอข้อพิพาท ตามสัญญาให้อนุญาโตตุลาการแห่งเมืองฮัมบูร์ก วินิจฉัยไว้ด้วยเมื่อ จำเลยได้ร่วมลงชื่อในเอกสารดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ จำเลย จึงต้องผูกพันในเนื้อความของเอกสารดังกล่าวต่อโจทก์ อีกทั้งเมื่อโจทก์แจ้งจำเลยว่าโจทก์ได้นำข้อพิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการแล้วจำเลย ได้ติดต่อกับโจทก์เรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยตลอดและได้ส่ง คำแถลงเกี่ยวกับคดีไปยังอนุญาโตตุลาการเพื่อปฏิเสธความรับผิด การที่ ทางอนุญาโตตุลาการแจ้งให้จำเลยไปสู้คดี จำเลยมิได้ไปสู้คดีเพราะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายสูงมาก พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยตกลงให้นำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยจึงใช้บังคับได้ การที่คู่กรณีได้นำข้อพิพาทเสนอให้ อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยโดยถูกต้องตามขั้นตอนและระเบียบของสมาคมสินค้า แห่งเมืองฮัมบูร์กและข้อความแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและ การใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์คฯ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าว จึงฟ้องร้องบังคับกันได้ในศาลไทย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นเวลาก่อนที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ บทกฎหมายว่าด้วย การอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 222 อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ การที่จำเลยนำปัญหาข้อห้าม อุทธรณ์มาฎีกาจึงเป็นการฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อโดยพยานบุคคลขัดต่อข้อตกลงในสัญญา และการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกรณีรถยนต์เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย แต่โจทก์ไม่ไปเก็บเงินค่าเช่าซื้อเอง จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการนำสืบถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สัญญา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นั้นจึงเป็นประเด็นแห่งคดีโดยตรงและเป็นสาระแห่งคดีอันควรได้รับการวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6916/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงลดหนี้กับการถอนฟ้อง, การยักยอกเงินค่าเบี้ยประกัน, และการกำหนดโทษ
จำเลยได้มาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาให้ทราบและควบคุมตัวดำเนินคดีสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึงเป็นสถานที่ที่จำเลยถูกจับ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึงมีอำนาจทำการสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสอง พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมและจำเลยแถลงในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ร่วมยังติดใจหนี้อีกเพียง 381,699 บาท และจะถอนคำร้องทุกข์ต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมแล้วไม่มีข้อความว่าโจทก์ร่วมตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีต่อจำเลยในทันที การที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ร่วมจนครบจึงถือเป็นเงื่อนไขในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ร่วมจึงไม่ถูกผูกพันที่ต้องถอนคำร้องทุกข์และถือไม่ได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อโจทก์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิเรียกร้องในหนี้บางส่วน โดยยังติดใจในหนี้อีกเพียง 381,699 บาท การแสดงเจตนาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพัน เมื่อจำเลยนำเงินมาชำระแก่โจทก์ร่วมเพียง 30,000 บาทจึงเหลือเงินจำนวน 351,699 บาท ที่จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์ร่วม จำเลยฎีกาว่า จำเลยทำผิดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีเหตุอันจำเป็นบังคับ จำเลยใช้เงินคืนโจทก์ร่วมบางส่วนแล้ว การรับสารภาพเป็นส่วนหนึ่งของวิธีที่จำเลยจะใช้เงินแก่โจทก์แสดงว่าจำเลยไม่เคยรู้สึกสำนึกผิด ทั้งจำเลยได้ยักยอกเงินค่าเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันชำระให้แก่โจทก์ร่วมมีจำนวน 84 ราย เป็นเงินจำนวน 763,399 บาท โทษจำคุก6 เดือน จึงเหมาะสมและไม่มีเหตุรอการลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลจำหน่ายคดีเมื่อคู่สัญญายอมรับข้อตกลงและไม่คัดค้านการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การจำเลยและนัดชี้สองสถาน ก่อนถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยอ้างว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนตามที่ได้ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นสั่งว่าสำเนาให้โจทก์ถ้าจะคัดค้านให้ยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือในวันชี้สองสถาน เมื่อถึงวันนัดชี้สองสถานฝ่ายโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริงว่าได้ลงนามในสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการกับจำเลยจริงและแถลงไม่ติดใจคัดค้านคำร้องของจำเลย เป็นการที่ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 แล้ว และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้ไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชีและการปฏิบัติตามข้อตกลงสัญญา แม้มีการคิดดอกเบี้ยไม่ตรงวันสิ้นเดือน
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกเดือนภายในวันสิ้นเดือน ในเวลาทำงานของผู้ให้กู้ แต่ถ้าวันกำหนดชำระดอกเบี้ยเช่นว่านี้ตรงกับวันหยุดของผู้ให้กู้ ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำงานที่ถัดไปเป็นข้อตกลงกำหนดเวลาให้จำเลยผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีชำระดอกเบี้ยแต่ละเดือนหากจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้ถือว่าจำเลยผิดนัดชำระดอกเบี้ย โจทก์มีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยในเดือนถัดไปตามประเพณีของธนาคาร แต่โจทก์และจำเลยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดว่าโจทก์จะต้องคิดดอกเบี้ยในวันสิ้นเดือนหาโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงวันสิ้นเดือนโจทก์มิได้คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในระยะเวลาไม่ถึงรอบบัญชีรายเดือนตามสัญญากู้ดังกล่าว เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยถูกต้องตามสัญญาการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงกับวันสิ้นเดือนจึงไม่ผิดจากข้อตกลงในสัญญา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยมิได้ระบุชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดแจ้ง
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยมิได้ระบุชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญาและข้อตกลงการชำระดอกเบี้ยรายเดือน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกเดือนภายในวันสิ้นเดือน ในเวลาทำงานของผู้ให้กู้ แต่ถ้าวันกำหนดชำระดอกเบี้ยเช่นว่านี้ตรงกับวันหยุดของผู้ให้กู้ ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำงานที่ถัดไปเป็นข้อตกลงกำหนดเวลาให้จำเลยผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีชำระดอกเบี้ยแต่ละเดือน หากจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้ถือว่าจำเลยผิดนัดชำระดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยในเดือนถัดไปตามประเพณีของธนาคารได้ แต่โจทก์และจำเลยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดว่าโจทก์จะต้องคิดดอกเบี้ยในวันสิ้นเดือน และหากโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงวันสิ้นเดือน โจทก์ก็มิได้คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในระยะเวลาไม่ถึงรอบบัญชีรายเดือนตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าว เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยถูกต้องตามสัญญา การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงกับวันสิ้นเดือนจึงไม่ผิดจากข้อตกลงในสัญญา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยมิได้ระบุชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดแจ้ง
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยมิได้ระบุชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ vs. สัญญาตัวแทน: การบังคับชำระค่าจ้างตามข้อตกลงและหลักฐาน
หนังสือเสนอราคาที่โจทก์มีไปถึงจำเลยถือเป็นคำเสนอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 ส่วนหนังสือแต่งตั้งและว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำเครื่องจักรไปส่งให้จำเลยที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังได้รับคำเสนอแล้ว แม้จะไม่ได้อ้างถึงหนังสือเสนอราคาแต่ก็มิได้มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยแต่อย่างใดจึงย่อมเป็นคำสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง และเมื่อคำบอกกล่าวสนองของจำเลยไปถึงโจทก์ผู้เสนอแล้วย่อมเป็นสัญญาขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 361 วรรคแรก ในสัญญาตัวแทน ตัวการและตัวแทนมักมีความเกี่ยวพันกันเป็นส่วนตัวหรือหน้าที่การงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 803 จึงวางหลักไว้ว่าตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จจากกิจการที่ตนทำไปแทนตัวการ แต่สำหรับสัญญาจ้างทำของนั้น มีอยู่เสมอที่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมิได้รู้จักผูกพันกันมาก่อนเหตุที่ทำสัญญากันก็เนื่องมาจากผู้ว่าจ้างต้องการผลสำเร็จของงานซึ่งผู้รับจ้างมีความถนัดและมักประกอบเป็นอาชีพโดยหวังสินจ้างเป็นสำคัญอันเป็นเรื่องของธุรกิจการค้าการบริการ โจทก์และจำเลยไม่รู้จักเกี่ยวพันกันมาก่อนต่างเป็นนิติบุคคลประกอบธุรกิจการค้าการให้บริการโดยมุ่งหวังผลกำไร สัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องการเพิ่มทุนโดยการโอนทรัพย์สิน จำเลยมีหน้าที่โอนทรัพย์สินให้โจทก์ตามข้อตกลง
ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์ที่ 2 กับนายสมชัยและจำเลยตกลงเข้าร่วมลงทุนกับโจทก์ที่ 1 โดยจะจดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 1,000,000 บาท เป็น6,000,000 บาท ในการเพิ่มทุนครั้งนี้โจทก์ที่ 2 และนายสมชัยจะต้องชำระเงินคนละ2,000,000 บาท ส่วนจำเลยจะโอนทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการของโจทก์ที่ 1 มาตีราคาในการเพิ่มทุน ต่อมาโจทก์ที่ 2 ชำระเงิน 2,000,000 บาท และนายสมชัยชำระเงิน1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 1 ชำระเงิน 3,000,000 บาท ให้แก่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์ตอนนี้จะบรรยายว่า เพื่อเป็นการซื้อทรัพย์สินจากจำเลย อันมีความหมายว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ตาม แต่เมื่ออ่านฟ้องโจทก์ทั้งหมดโดยตลอดแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีความประสงค์จะให้จำเลยโอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงเข้าร่วมลงทุนโดยมิได้คำนึงว่าทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นของจำเลยหรือเป็นของผู้อื่น ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดกัน และจำเลยก็เข้าใจข้อหาต่อสู้คดีได้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยชำระเงินค่าทรัพย์สินดังกล่าวให้จำเลยไม่ครบถ้วนดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมโจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลย โจทก์ที่ 2 และนายสมชัย ไชยศุภรากุล เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้ คือกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยให้การว่าในการแต่งตั้งนายสุรัตน์ แสงจันทร์รุ่ง เป็นทนายความดำเนินคดีแทน โจทก์ที่ 1 มิได้ลงลายมือชื่อกรรมการสองคนและประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ให้ถูกต้องตามข้อบังคับการแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องคำให้การจำเลยดังกล่าวไม่ได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าตราประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์ที่ 1 เป็นดวงตราปลอม คดีย่อมไม่มีประเด็นในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ว่าตราประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์ที่ 1 เป็นดวงตราปลอม จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.พ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง จำเลยชักชวนโจทก์ที่ 2 และ ส.เข้าร่วมลงทุนในบริษัทโจทก์ที่ 1 โดยจดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 1,000,000 บาท เป็น 6,000,000 บาท โจทก์ที่ 2 และ ส.ลงทุนคนละ 2,000,000 บาท ส่วนจำเลยนำทรัพย์สินตีราคาเป็นทุน 6,000,000 บาทการเพิ่มทุนของโจทก์ที่ 1 มีการกำหนดสัดส่วนในการลงทุน จำนวนกรรมการและอำนาจกรรมการที่จะลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ที่ 1เป็นเงิน 3,000,000 บาท แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงร่วมลงทุน หากโจทก์ที่ 1 ยังค้างชำระเงินให้แก่จำเลยเท่าใด จำเลยชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ที่ 1 เป็นคดีใหม่