คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายและข้อพิพาทเรื่องราคาซื้อขาย ศาลสั่งให้จดทะเบียนโอนที่ดินได้
โจทก์ขายฝากที่พิพาทแก่จำเลยแล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนดแต่จำเลยได้ตกลงขายที่พิพาทคืนโจทก์ในราคา 105,000 บาทโดยจำเลยขอค่าเช่าที่ค้างชำระจำนวน 22,500 บาท ด้วยแต่ยอมให้หักเงินจำนวน 30,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้ในการตกลงซื้อครั้งก่อน คงเหลือราคาที่จะต้องชำระ 97,500 บาทโจทก์ตกลง และนัดจดทะเบียนซื้อขายกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเดือนมีนาคม 2533 ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท เมื่อปรากฏว่าจำเลยยอมให้หักเงินจำนวน 30,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้ในการตกลงซื้อครั้งก่อนออกจากราคาที่พิพาทที่ตกลงกันในครั้งหลังนี้ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้บางส่วนตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา แต่กลับบิดพลิ้วเรียกราคาใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 1123/2534 ที่จำเลยทั้งสองคดีนี้ฟ้องให้ขับไล่โจทก์เป็นจำเลยในคดีหลัง มีประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยขี้ขาดว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นของจำเลยทั้งสองคดีนี้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1123/2534 ของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีแล้ว กรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าที่ดินวัดและการฟ้องขับไล่: ข้อพิพาทสิทธิเช่าและการอ้างสิทธิโดยบุคคลอื่น
ที่พิพาทเป็นที่ของวัด ศ. ให้ราษฎรเช่าโดยวัดเก็บค่าเช่าปีละ 900 บาท จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาท โจทก์จึงฟ้องขับไล่โดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้เช่าที่พิพาทจากวัด ศ. ดังนั้น จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยเข้ามาอยู่อาศัยในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ฟ.ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฎีกาว่าโจทก์แต่ผู้เดียวเป็นผู้เช่าที่พิพาทจำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่พิพาทโดยอ้างว่า ฟ.พี่สาวโจทก์ได้โอนสิทธิข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ฟ.ให้จำเลย เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังไม่ได้ เมื่อฟ.ตาย สิทธิอันเกี่ยวกับการเช่าที่พิพาทเป็นอันระงับไป จำเลยกับพวกอยู่ในที่พิพาทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมการศาสนายังมีอยู่ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิการเช่าแต่ผู้เดียว เป็นการโต้แย้งว่าโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินวัด ศ.แต่ผู้เดียวโดยมิได้ทำแทน ฟ.ด้วย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาททางเดิน: ทางภาระจำยอม vs. ทางสาธารณะ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางสาธารณะ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม ไม่เป็นทางสาธารณะ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ คงมีแต่จำเลยฎีกามาฝ่ายเดียวว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ ส่วนโจทก์มิได้ฎีกา ปัญหาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยสุจริต, การไม่คัดค้านในชั้นศาล, และประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาล
ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริต จำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ
จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า ขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณา โจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา 2 ครั้ง เป็นการไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติ เพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง 7 วัน แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริต มูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 274,665 บาท ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์5,000 บาท จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การ, อายุความ, และผลผูกพันตามหนังสือผ่อนชำระหนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทและขอบเขตอำนาจ
การที่ศาลชั้นต้นจ่ายสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยให้โจทก์ในวันชี้สองสถาน โดยไม่กำหนดวันพิจารณาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยออกไป เพื่อจะได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยให้โจทก์ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โดยไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181(1) แต่การแก้ไขคำให้การนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติว่าข้อความที่แก้ไขใหม่จะต้องเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิม คงบัญญัติเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้น การแก้ไขคำให้การจะยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่จึงไม่สำคัญทั้งเรื่องอายุความก็เป็นข้อตัดฟ้องโจทก์ จำเลยอ้างเหตุผลมาด้วยว่า มูลหนี้ตามฟ้องโจทก์กล่าวอ้างการเช่าและใช้บริการซึ่งตามกฎหมายโจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดอายุความสองปีดังนั้น คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามกฎหมายแล้ว ซึ่งเป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้วส่วนอายุความที่จำเลยต่อสู้นั้นต้องด้วยบทกฎหมายลักษณะใดเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเอง และโจทก์สามารถนำสืบว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดได้อยู่แล้ว จึงไม่เสียเปรียบเชิงคดีแต่อย่างใด หากจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใหม่ ผลก็เหมือนเดิม คือต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เช่นเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้สืบพยานหลักฐานในท้องสำนวนเสร็จสิ้น พอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ว.กรรมการจำเลยได้มีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ต่อโจทก์ แต่หนังสือดังกล่าว ว.ลงลายมือชื่อไว้เพียงผู้เดียวโดยไม่ประทับตราจำเลย ซึ่งตามหนังสือรับรองนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้ระบุจำนวนและอำนาจของกรรมการจำเลยไว้ว่า ให้กรรมการสองนายร่วมกันลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลย จึงมีอำนาจทำการแทนจำเลยได้ การที่ ว.กระทำการดังกล่าวโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาอ้างอิงให้เห็นว่า จำเลยได้มอบหมายหรือเชิดให้ ว. เป็นตัวแทนจำเลยมีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ต่อโจทก์ดังนั้นการที่ ว. ลงชื่อในหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย การที่โจทก์จัดให้มีการบริการพูดโทรศัพท์ทางไกลติดต่อไปต่างประเทศ และเรียกเก็บเงินค่าบริการในการพูดโทรศัพท์นั้นถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ และเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) ดังนั้น สิทธิเรียกร้องสำหรับค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ไปต่างประเทศของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6417/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์พินัยกรรมเป็นโมฆะเนื่องจากวิกลจริต ต้องมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากผู้มีส่วนได้เสีย
กรณีจะพิสูจน์ว่า พินัยกรรมเป็นอันเสียเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1704 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทว่า พินัยกรรมที่บุคคลวิกลจริตทำขึ้นนั้นเสียเปล่า โดยบุคคลผู้มีส่วนได้เสียได้กล่าวอ้างขึ้นเพื่อให้มีการพิสูจน์เช่นนั้น คำร้องขอของผู้ร้องให้พิสูจน์ว่าพินัยกรรมเป็นอันเสียเปล่าต่างจากการร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลได้ กรณีของผู้ร้องยังถือไม่ได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิหรือจะต้องใช้สิทธิทางศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประนีประนอมยอมความครอบคลุมหนี้สินแล้ว แม้ไม่ได้ระบุชัดเจน
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ส่งมอบสินส่วนตัวและแบ่งสินสมรสโจทก์ให้การว่า โจทก์เป็นหนี้ธนาคาร ก. จำนวน 50,000 บาทซึ่งกู้มาใช้ในครอบครัว หากจะต้องแบ่งสินสมรสให้จำเลยจะต้องหักเงินจำนวน 25,000 บาท ให้โจทก์ด้วย ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมถึงที่สุดโดยไม่ได้กล่าวถึงหนี้จำนวน 50,000 บาท ดังกล่าว เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้ธนาคาร ก. ไปแล้ว โจทก์มาฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดครึ่งหนึ่งเป็นคดีนี้ กรณีเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 วรรคแรก เพราะปัญหาหนี้สินที่โจทก์นำมาฟ้องนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อน ซึ่งได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้ว แม้ศาลจะมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ในชั้นชี้สองสถานในคดีก่อนก็ตาม และข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจเรียกร้องมากไปกว่านี้อีกย่อมหมายถึงหนี้สินที่โจทก์ฟ้องนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากข้อพิพาทมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
แม้โจทก์จะอ้างว่าที่ดินของโจทก์ที่จำเลยบุกรุกแย่งการครอบครองมีเนื้อที่ 250 ไร่ และเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์250,000 บาท ก็ตามแต่ตามแผนที่พิพาทซึ่งคู่ความรับรองว่าถูกต้องนั้นที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายโต้เถียงกันมีเนื้อที่เพียง 90 ไร่ 1 งาน06 ตารางวา จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาที่ดินที่พิพาทกันคิดไร่ละ1,000 บาท ตามฟ้องไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์และโจทก์ไม่เคยครอบครองที่พิพาทในฐานะเจ้าของ ที่โจทก์ฎีกาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทตลอดมา จำเลยและจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5992/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน – ประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับคดีเดิมที่ยังไม่สิ้นสุด
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากมารดาโจทก์ ขอให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดิน โจทก์ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ได้รับการยกให้ที่พิพาทจากมารดา แล้วครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อเกิน 10 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ นิติกรรมการซื้อขายของจำเลยกับมารดาโจทก์เป็นโมฆะ ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ ในคดีเดิมศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย พิพากษาให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกจากที่พิพาท ดังนี้มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่า คู่ความฝ่ายใดเป็นเจ้าของที่พิพาทเป็นประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกัน การที่โจทก์ในคดีนี้ขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอีกในคดีนี้เท่ากับโจทก์ขอให้ศาลมีคำพิพากษาในประเด็นที่ได้วินิจฉัยไปแล้วในคดีซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
of 49