คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่ฟ้องทางอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยและการรับช่วงสิทธิ
แม้จะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยในทางอาญา ก็เป็นเรื่องที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งสำนวนไปตาม พยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนจะนำมารับฟังเป็นที่ยุติในชั้นพิจารณาของศาลในคดีแพ่งไม่ได้ว่าจำเลย ไม่ได้กระทำละเมิด เมื่อพยาน หลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐาน ของจำเลย โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ผู้รับประกันภัยมีสิทธิฟ้องตามเจ้าของรถจริงหรือไม่
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตายและความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ พ.เจ้าของรถยนต์ไม่ใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตาย และข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย พ. เจ้าของรถยนต์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาและถือไม่ได้ว่า พนักงานอัยการฟ้องคดีแทน พ.แม้พ. จะเป็นโจทก์ ฟ้องคดีเองก็ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองต้องใช้อายุความ 1 ปี เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.ได้ซ่อมรถยนต์ให้พ. ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่ พ. มีอยู่ในมูลหนี้ต่อ จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิ ของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปีเช่นกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองมีความหมายว่าในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด และการกระทำละเมิดนั้นเป็นความผิดอาญาด้วยดังนั้น ผู้ที่ถูกกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ผู้รับประกันภัยซ่อมรถแล้วฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย ต้องใช้อายุความ 1 ปี
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 56,152 เจ้าของรถยนต์ที่จำเลยขับชนได้รับ ความเสียหายย่อมมิใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56,152 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนเจ้าของรถยนต์ ดังนี้ การที่เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ย่อมมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จากพ.เจ้าของรถยนต์ที่ถูกจำเลยขับชนได้ซ่อมรถยนต์ให้พ.ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่พ.มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของพ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของพ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปี เช่นเดียวกัน ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีอาญาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 จึงล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด การกระทำละเมิดนั้นต้องเป็นความผิดอาญาด้วย ฉะนั้น ผู้ที่ถูกกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำละเมิดได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกันที่ดินเป็นที่สาธารณประโยชน์: ศาลไม่ผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา และจำเลยมีสิทธิสืบพยานในคดีแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงที่ 35และแปลงที่ 36 เนื้อที่รวม 25 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา ซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินบางส่วนของนิคมสหกรณ์อำเภอพนาที่โจทก์และสมาชิกนิคมสหกรณ์อำเภอพนาได้ร่วมกันกันไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน และโจทก์ได้ขึ้นทะเบียนคุมที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ พ.ศ.2498 และทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยเมื่อ พ.ศ.2503 ก่อนที่พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2519 มีผลใช้บังคับหากตัวแทนโจทก์ได้ขึ้นทะเบียนคุมที่ดินทั้งสองแปลงให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ก็ขึ้นทะเบียนโดยมิชอบ จึงมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้คือ การกันที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว อ้างเหตุผลที่ยกฟ้องในฐานความผิดตาม ป.อ.มาตรา 362 และ365 ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินที่ไม่ได้จัดสรรให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ เป็นที่ดินที่สงวนไว้สำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินตามฟ้องจึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน หาใช่เป็นที่ดินที่มีเอกชนเป็นเจ้าของหรือกรมส่งเสริมสหกรณ์ผู้เสียหายมีกรรมสิทธิ์อย่างเอกชนไม่ คดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดดังกล่าวไม่มีประเด็นโดยตรงว่า การกันที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง จำเลยจึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามประเด็นดังกล่าวได้ และการพิจารณาคดีนี้ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีแพ่งต้องไม่ผูกพันกับคำพิพากษาคดีอาญา หากประเด็นข้อเท็จจริงต่างกัน จำเลยมีสิทธิสืบพยานเพิ่มเติม
คำพิพากษาคดีส่วนอาญาถึงที่สุดแล้วอ้างเหตุผลที่ยกฟ้องโจทก์ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินที่ไม่ได้จัดสรรให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ เป็นที่ดินที่สงวนไว้สำหรับพลเมือง ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินตามฟ้องจึงยังคงเป็นที่ดิน สาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน หาใช่เป็นที่ดินที่มีเอกชน เป็นเจ้าของหรือกรมส่งเสริมสหกรณ์ผู้เสียหายมีกรรมสิทธิ์อย่างเอกชนไม่จึงลงโทษจำเลยในฐานความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 365 ไม่ได้ คำพิพากษาคดี ส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดดังกล่าวไม่มีประเด็นโดยตรงว่า การกัน ที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อันเป็นประเด็นในคดีนี้ ดังนั้น ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง จำเลยจึงมีสิทธินำพยานหลักฐาน เข้าสืบตามประเด็นดังกล่าวได้ และการพิจารณาคดีนี้ศาลไม่จำต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่ความสืบพยานเพื่อพิสูจน์ประเด็นที่ยังไม่ตัดสิน
คดีอาญาโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 365 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงที่ 35 และแปลงที่ 36 เนื้อที่รวม 25 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา ซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินบางส่วนของนิคมสหกรณ์ที่กันไว้เป็น ที่สาธารณประโยชน์ ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันและโจทก์ได้ ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว จำเลย ให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2498 และ ทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แล้วก่อนที่ พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ และ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ฯ มีผลใช้บังคับ หากโจทก์ ได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ก็ขึ้นทะเบียนโดยมิชอบ คดีจึงมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าการกันที่ดินพิพาท และขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ถึงที่สุดว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินที่ไม่ได้จัดสรรให้ราษฎรเข้า ทำประโยชน์ หากแต่เป็นที่ดินที่สงวนไว้สำหรับพลเมือง ใช้ประโยชน์ร่วมกัน จึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน หาใช่เป็นที่ดินที่มีเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้เสียหายมีกรรมสิทธิ์ อย่างเอกชนไม่ คดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดดังกล่าวไม่มี ประเด็นโดยตรงว่า การกันที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งจำเลยจึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามประเด็นดังกล่าวได้ และการพิจารณาคดีนี้ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษา คดีส่วนอาญา การที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการอุทธรณ์คดีอาญา: ไม่อาจใช้บทบัญญัติคดีแพ่งโดยอนุโลมได้
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีอาญาของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 จะนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสีย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิในการต่อสู้คดีทำให้คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ทำให้ไม่ต้องนำสืบพยาน
ก่อนวันสืบพยานในคดีที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การทนายโจทก์และทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาศาล ทั้งสองฝ่ายร่วมกันแถลงว่าคดีตกลงกันไปเกือบเสร็จสิ้นแล้วยังติดขัดรายละเอียดอีกเล็กน้อย ขอเลื่อนคดีเพื่อทำยอมนัดหน้า และฝ่ายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยินดีสละข้อสู้ตามคำให้การทั้งหมดคงเหลือไว้ประเด็นเดียวคือค่าเสียหาย หากนัดหน้าทำยอมกันไม่ได้ก็ติดใจสู้ประเด็นนี้เพียงประการเดียว ศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาไว้และได้อ่านให้คู่ความฟังแล้วโดยทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงชื่อไว้ รายงานกระบวนพิจารณาของศาลดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 49 และคำแถลงของทนายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อตกลงในการสละสิทธิในข้อต่อสู้ตามคำให้การของตนทั้งหมดในประเด็นอื่นรวมทั้งประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยและกรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จริง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่งและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ไปศาล
คดีแพ่งระหว่างโจทก์ทั้งห้าและจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7กับโจทก์ทั้งห้าต่างไม่ไปศาลตามวันเวลานัด ต้องถือว่าคู่ความ ทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4แถลงไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป จึงขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีกรณีดังกล่าวบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 วรรคแรก โดยศาลไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 5ที่ 6 และที่ 7 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิในที่ดินมรดก เพื่อใช้ในการพิจารณาคดีแพ่ง ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
หนังสือหลักฐานการได้รับเงินและสละสิทธิ์ในที่ดินมรดกเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแก่การก่อ เปลี่ยนแปลงโอนหรือระงับซึ่งสิทธิในที่ดินมรดก จึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9)
of 122