คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทที่เป็นสินสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนโอน
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี 2525เป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 99 เดิม เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งมาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯ และไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ดังนั้น สามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 มาตรา 1468 การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1469 ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อน หากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล โจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1475
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากสามี หากฟ้องโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นข้อบกพร่องด้านความสามารถในการฟ้อง
โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับสามีโจทก์จึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมและพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็น สินสมรส เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนการที่โจทก์ ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีความบกพร่องในเรื่อง ความสามารถ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56กรณีจึงต้องทำการแก้ไขบกพร่องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากสามี หากไม่ได้รับความยินยอมถือว่าขาดความสามารถในการฟ้อง
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี2525เป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา99เดิมเมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ซึ่งมาตรา7บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯและไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ดังนั้นสามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477มาตรา1468การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนหากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผลโจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1475 โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56วรรคสองก่อนแต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จจึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนำทรัพย์มรดกไปทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น สัญญาผูกพันเฉพาะผู้ทำสัญญา
โจทก์กับ ร. กับทายาทคนอื่นเป็นเจ้าของรวมในที่ดินทรัพย์-มรดกของ ส. เมื่อมรดกของ ส. ยังมิได้แบ่งแยกระหว่างทายาท ร.จะนำที่ดินทรัพย์มรดกไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยทั้งแปลงโดยทายาทคนอื่นซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมิได้ยินยอมด้วยถือว่าทำไปโดยไม่มีสิทธิคงผูกพันเฉพาะ ร.เท่านั้น
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายมีผลผูกพัน ร. จำเลยก็มีสิทธิเพียงเรียกร้องบังคับเหนือ ร.ในฐานะคู่สัญญาได้เท่านั้น การที่โจทก์ซึ่งมิได้รู้เห็นยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือมอบโฉนดพิพาทให้จำเลยยึดถือไว้ขอให้จำเลยส่งโฉนดเพื่อที่โจทก์จะนำไปแบ่งแยกเป็นชื่อของโจทก์และทายาทคนอื่นในฐานะผู้มีสิทธิรับมรดก จึงเป็นสิทธิอันชอบของโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดพิพาทไว้ ต้องคืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมรดกโดยทายาทคนเดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น สัญญาไม่ผูกพันทายาทอื่น และจำเลยต้องคืนโฉนด
เมื่อส. ถึงแก่กรรมที่ดินของส. เป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของส. ทุกคนโจทก์กับร. กับทายาทคนอื่นรวม7คนจึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินทรัพย์มรดกเมื่อมรดกของส. ยังมิได้แบ่งปันระหว่างทายาทร. ทายาทคนหนึ่งจะนำที่ดินทรัพย์มรดกไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยทั้งแปลงโดยทายาทคนอื่นซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมิได้ยินยอมด้วยก็ถือว่าทำไปโดยไม่มีสิทธิคงผูกพันเฉพาะร. เท่านั้นแม้สัญญาจะซื้อจะขายจะมีผลผูกพันร. จำเลยก็มีสิทธิเพียงเรียกร้องบังคับเหนือร. ในฐานะคู่สัญญาได้เท่านั้นเมื่อโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือมอบโฉนดที่ดินให้จำเลยยึดถือไว้ขอให้จำเลยส่งโฉนดเพื่อที่โจทก์จะนำไปแบ่งแยกเป็นชื่อของโจทก์และทายาทคนอื่นในฐานะผู้มีสิทธิรับมรดกจึงเป็นสิทธิอันชอบของโจทก์จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้ต้องคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยภริยาที่ไม่ยินยอม และผลของการสันนิษฐานความสุจริตของผู้ซื้อ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 จะสมรสกันก่อน ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519ใช้บังคับก็ต้องนำ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาใช้บังคับจำเลยที่ 1 ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ และจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทราบว่าโจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่สุจริตอย่างไร โจทก์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายและการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมทำนิติกรรม: ความยินยอมล่วงหน้าตลอดไปได้หรือไม่?
ความยินยอมให้ทำนิติกรรมไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะราย จะให้ความยินยอมเป็นการล่วงหน้าและตลอดไปไม่ได้ ทั้งโดยสภาพผู้ให้ความยินยอมสามารถให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายหรือตลอดไปก็ได้
หนังสือให้ความยินยอมมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมให้ จ.สามีทำนิติกรรมในการกู้เงิน กู้เบิกเงินเกินบัญชี ค้ำประกัน ฯลฯ หรือทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้โดยจำเลยที่ 2 ตกลงให้ความยินยอมในการกระทำนั้นตลอดไปย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาให้ความยินยอมในการที่ จ.ทำนิติกรรมที่ระบุในหนังสือให้ความยินยอมและนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ได้ตลอดไปดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่ จ.ทำกับโจทก์เพื่อค้ำประกันหนี้ของ ว.ที่มีต่อโจทก์ ย่อมมีผลใช้บังคับโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความยินยอมในการค้ำประกันหนี้: การตีความเจตนาและความหมายของคำว่า 'ตลอดไป' ในหนังสือยินยอม
ความยินยอมให้ทำนิติกรรมไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายจะให้ความยินยอมเป็นการล่วงหน้าและตลอดไปไม่ได้ทั้งโดยสภาพผู้ให้ความยินยอมสามารถให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายหรือตลอดไปก็ได้หนังสือให้ความยินยอมมีข้อความว่าจำเลยที่2ยินยอมให้ จ. สามีทำนิติกรรมในการกู้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีค้ำประกันฯลฯหรือทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้โดยจำเลยที่2ตกลงให้ความยินยอมในการกระทำนั้นตลอดไปย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2มีเจตนาให้ความยินยอมในการที่ จ. ทำนิติกรรมที่ระบุในหนังสือให้ความยินยอมและนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ได้ตลอดไปดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่ จ. ทำกับโจทก์เพื่อ ค้ำประกันหนี้ของ ว. ที่มีต่อโจทก์ย่อมมีผลใช้บังคับโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการทำนิติกรรมของคู่สมรส: ขอบเขตและผลผูกพันของหนังสือยินยอมที่ให้ความยินยอมตลอดไป
ความยินยอมให้ทำนิติกรรมของสามีภริยาไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายจะให้ความยินยอมเป็นการล่วงหน้าและตลอดไปไม่ได้และโดยสภาพแล้วความยินยอมให้ทำนิติกรรมผู้ให้ความยินยอมสามารถให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายหรือตลอดไปได้ หนังสือให้ความยินยอมมีข้อความว่าจำเลยยินยอมให้จ.สามีทำนิติกรรมในการกู้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีค้ำประกันและมีข้อความต่อไปอีกว่าหรือทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้โดยจำเลยตกลงให้ความยินยอมในการกระทำนั้นตลอดไปสัญญาค้ำประกันที่จ. ทำกับโจทก์จึงมีผลใช้บังคับโดยชอบจำเลยไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการอยู่อาศัยในสินสมรส: ความยินยอมของเจ้าของรวมอีกคนไม่ถือเป็นการขัดสิทธิ
โจทก์กับ ฉ. เป็นเจ้าของบ้านพิพาทร่วมกัน ฉ. ยินยอมให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทแต่โจทก์ไม่ยินยอมความยินยอมของ ฉ.ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1360วรรคแรกการที่จำเลยไม่ยอมออกไปจากบ้านพิพาทจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
of 57