คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิดชอบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าสินไหมทดแทนจากละเมิด, ข้อจำกัดการฎีกา, และขอบเขตความรับผิดชอบในกรณีบาดเจ็บ/เสียชีวิต
ในคดีฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการละเมิด โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ปรากฏว่าโจทก์ที่ 15 ที่ 17 ที่ 19 และที่ 21 แต่ละคนเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248
จำเลยอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์เคยสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ในข้อดังกล่าวมาแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยหาอาจฎีกาต่อไปได้ไม่
การทนทุกข์ทรมานบังเกิดขึ้นจากสภาพร่างกายและจิตใจผิดปกติหรือเสื่อมสุขภาพอนามัย ทำให้หย่อนสมรรถภาพในการศึกษาและในการประกอบอาชีพหรือทำให้ทางทำมาหาได้ลดน้อยลงกว่าปกติและการมีรอยแผลเป็นติดตัวหรือกรณีของโจทก์ที่ 9 ได้รับบาดเจ็บข้อเท้าขวาพิการทำให้เส้นประสาทขาขาดและขาลีบซึ่งพอถือได้ว่ามีรอยแผลเป็นติดตัวนั้น เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่เป็นตัวเงิน และไม่ซ้ำซ้อนกับค่าสินไหมทดแทนในกรณีอื่น ทั้งการทนทุกข์ทรมานหรือเสื่อมสุขภาพอนามัยและการมีรอยแผลเป็นติดตัวเป็นผลโดยตรงแห่งการละเมิดของจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยผู้กระทำละเมิดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา444 และ 446
การได้รับบาดเจ็บจนเป็นเหตุให้ต้องพักการศึกษาเล่าเรียนไม่มีกฎหมายในเรื่องละเมิดให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับทราบกำหนดนัดสืบพยาน: ความรับผิดชอบของผู้รับหมาย และการเข้าใจผิดของผู้ถูกแจ้ง
ศาลชั้นต้นได้เกษียณสั่งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในคำให้การจำเลยในวันที่จำเลยยื่นคำให้การ ต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดนัดวันสืบพยานโจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยนำคำให้การไปยื่นต่อศาล
จำเลยได้รับหมายนัด และได้ทราบกำหนดนัดวันสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว การที่จำเลยเข้าใจหรือจำเวลานัดสืบพยานโจทก์ผิดพลาดไปเพราะความเข้าใจผิดหรือหลงลืมของจำเลยเอง ไม่มีเหตุสมควรที่จะขอให้พิจารณาใหม่และไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงบัญชีซ้ำซ้อนและความรับผิดชอบในการคืนเงิน กรณีจำเลยนำเงินไปใช้ประโยชน์
จำเลยนำเช็คจำนวนเงิน 120,000 บาท เข้าฝากในบัญชีออมทรัพย์ที่ธนาคารโจทก์ โจทก์ลงบัญชีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง รวมเป็นเงิน240,000 บาท จำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเหลือเพียง 57 บาท 32สตางค์ ดังนี้ โจทก์มีสิทธิเรียกเงิน 120,000 บาท คืนได้ กรณีเป็นเรื่องลงบัญชีซ้ำซ้อนเนื่องจากความพลั้งเผลอหาใช่เป็นการกระทำการตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ไม่ และการที่จำเลยปฏิเสธไม่คืนเงินให้แก่โจทก์ตามคำบอกกล่าว จำเลยจึงผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายกัญชาโดยผู้มีหน้าที่ส่งเสริมสังคม: ไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษ
จำเลยเป็นผู้มีการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นวิทยากรไทยอาสาป้องกันชาติและเป็นวิทยากรอบรมลูกเสือชาวบ้าน ทั้งเคยเป็นภริยานายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้มีหน้าที่ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย รู้แจ้งในการที่จะสร้างสรรค์ประชาชนให้เป็นพลเมืองดีแต่กลับกระทำผิดด้วยการจำหน่ายกัญชาอันเป็นการบ่อนทำลายด้วยการมอมเมาประชาชนเสียเอง ไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการขับรถบรรทุกชนสายไฟฟ้า ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกถังเหล็กมาตามถนน เห็นสายไฟฟ้าพาดขวางถนนอยู่ข้างหน้า จำเลยที่ 1 น่าจะต้องคิดว่าความสูงของของที่บรรทุกมาจะลอดพ้นได้หรือไม่ และควรจะค่อย ๆ เคลื่อนรถลอดใต้สายเคเบิลนั้น โดยให้คนในรถดูว่าจะพันได้หรือไม่ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ทำดังนั้น คงขับต่อไปด้วยความเร็วเพราะคิดว่าลอดพันได้ เป็นเหตุให้ถังเหล็กที่บรรทุกมาเกี่ยวสายไฟฟ้าจนทำให้เสาไฟฟ้าล้มไป 13 ต้น ดังนี้ เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบจากการละเมิดข้อบังคับภายในองค์กร และอายุความคดีแพ่ง
ข้อบังคับของโจทก์ระบุว่า ถ้าเงินที่นำไปคราวหนึ่งเป็นตัวเงินสดรวมกันเกิน 20,000 บาท ให้มีกรรมการประกอบด้วยพนักงานการเงินกับพนักงานชั้นหัวหน้าหรือเทียบเท่าอีกไม่น้อยกว่า 2 นาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 1 นาย พร้อมกับอาวุธปืนร่วมกันเป็นคณะ ห้ามนำเงินไปแต่ลำพังผู้เดียว ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 โดยลำพังแต่ผู้เดียวเป็นผู้รับเงินค่าข้าวสารเป็นจำนวนสูงถึง140,250 บาท จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว และเป็นช่องทางให้เงินดังกล่าวต้องเกิดการสูญหายขึ้นอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบในทางแพ่งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2527 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12กุมภาพันธ์ 2529 จะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วในวันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการสอบสวนได้เสนอผลการสอบสวนให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2528 คดีที่โจทก์นำมาฟ้อง จึงยังไม่เกิน 1 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5881/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและการใช้ทำร้ายร่างกาย ศาลพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน และความรับผิดชอบเรื่องการอนุญาต
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยใช้อาวุธปืนที่ติดตัวไปตีทำร้ายผู้เสียหาย แม้จะไม่ได้อาวุธปืนมาเป็นของกลาง แต่จำเลยให้การในชั้นสอบสวนรับว่าไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน จึงลงโทษจำเลยในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ แต่ตามฟ้องของโจทก์มิได้ระบุว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีและพาไปเป็นอาวุธปืนที่มิได้รับอนุญาตให้มีตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ก็นำสืบไม่ได้เช่นนั้น จึงต้องฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีตามกฎหมาย
ในกรณีข้างต้น เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้ระบุว่าให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 72 วรรคใด จึงไม่ชัดเจน ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุวรรคว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 72 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือชิงทรัพย์และพยายามฆ่า: จำเลยต้องรับผิดชอบการกระทำของพวกด้วย
จำเลยกับพวกอีก 1 คน ชิงรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดยจำเลยเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ขวางหน้ารถผู้เสียหาย พวกของจำเลยซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจำเลยชักอาวุธปืนออกมาและบอกให้ผู้เสียหายหยุด เมื่อผู้เสียหายขัดขวางมิให้จำเลยขับรถของผู้เสียหายไปพวกของจำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทันทีและยิงซ้ำอีกแต่กระสุนไม่ลั่น แล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไปด้วยกัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยต้องทราบดีว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืนติดตัวมา โดยจำเลยกับพวกตั้งใจที่จะใช้อาวุธปืนที่เตรียมมานั้นประหัตประหารผู้ที่ต่อสู้ขัดขืนในการที่จำเลยกับพวกทำการชิงทรัพย์ การที่พวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ และเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นความผิดอาญา จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายด้วย.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4568/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารใช้เช็คปลอม - ความรับผิดชอบในการตรวจสอบลายมือชื่อและตราประทับ
โจทก์เป็นเจ้าของเช็คซึ่งธนาคาร ร. ในต่างประเทศมีคำสั่งให้ธนาคารจำเลยใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ห้าง ฯ อ.เพื่อชำระหนี้ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแต่ห้าง ฯ อ. แจ้งว่าไม่ได้รับเช็คดังกล่าว โจทก์จึงได้ส่งเช็คฉบับใหม่มาชำระให้แก่ห้าง ฯอ. อีกฉบับหนึ่ง ภายหลังโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คฉบับแรกซึ่งมีผู้ปลอมตราประทับและลายมือชื่อผู้จัดการห้าง ฯ อ. มาเรียกเก็บเงินไปก่อนแล้วดังนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าของเช็คพิพาทผู้มีสิทธิในเงินจำนวนที่สั่งจ่ายตามเช็คซึ่งยังไม่ตกไปถึงมือผู้รับเงินตามความประสงค์ของโจทก์ ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ธนาคารจำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทอันเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะผ่านธนาคาร ส. ซึ่งส่งเช็คมาเรียกเก็บเงิน การที่จำเลยมิได้ตรวจสอบลายมือชื่อและตราประทับของผู้สลักหลังในเช็คพิพาทยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คไปโดยประมาทเลินเล่อ เพราะเช็คขีดคร่อมที่ส่งมาเรียกเก็บจากธนาคารส.นั้นเป็นหน้าที่ของธนาคารส. ผู้รับเช็คที่จะตรวจสอบไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยซึ่งใช้เงินผ่านธนาคาร ส.ดังนั้นแม้ลายมือชื่อและตราประทับที่ปรากฏในเช็คพิพาทจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตามจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากสินค้าและการปฏิเสธความรับผิดชอบจากเหตุเพลิงไหม้ โดยพิจารณาว่าไม่ใช่ผู้รับฝากตามกฎหมาย
จำเลยรับเก็บสินค้าไว้เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีเท่านั้น จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 770เมื่อสินค้าเกิดเสียหายจึงไม่อาจนำบทบัญญัติอันว่าด้วยการรับขนตาม ป.พ.พ. มาตรา 772 ประกอบด้วยมาตรา 616 มาใช้บังคับ จำเลยจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เว้นแต่จะฝากเกิน3 วัน จำเลยจึงจะคิดค่าธรรมเนียมจากเจ้าของสินค้าเพิ่มขึ้นทุกวันเพื่อเป็นการลงโทษให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกไป การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เมื่อเกินกำหนด 3 วัน นับแต่เจ้าของสินค้านำสินค้าเข้าไว้ในโรงพักสินค้า และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นทุกวันนั้น โดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์เพื่อที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากทรัพย์เท่านั้น จึงถือได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝาก ไม่ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้สินค้าในโรงพักสินค้าเพราะเหตุใดสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากความสะเพร่า ของบุคคลที่ทิ้งบุหรี่หรืออย่างอื่นจำเลยได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ มีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่ภายนอกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง มีอุปกรณ์เคมีในการดับเพลิง มีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ภายในโรงพักสินค้า เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว ยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิงมาช่วย แต่ไม่อาจดับเพลิงได้ทันท่วงที เพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าได้โดยลำพังจะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจดับเพลิงถึงต้นเพลิง หรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา659 วรรคสอง แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด.
of 33