คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความสมบูรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 235 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดเจน หากระบุเพียงการหลอกลวงโดยไม่บอกความจริง คำฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์
การฟ้องคดีอาญานั้น โจทก์จะต้องระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
คำฟ้องของโจทก์บรรยายแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ให้ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้กับจำเลยเพื่อเอาไปลงแชร์และให้คำรับรองอันเป็นเท็จว่า ถ้าส่งเงินครบแล้วจำเลยจะคืนเงินพร้อมทั้งผลประโยชน์ให้ จำเลยทั้งสองได้เก็บเงินจากผู้เสียหายไปจวนครบจำนวนแล้วก็ปฏิเสธไม่ยอมรับไม่ยอมคืนเงิน โดยตามคำฟ้องมิกล่าวว่าความจริงเป็นอย่างไร เพื่อที่จะแสดงให้เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงผู้เสียหายตรงไหน ฉะนั้น คำฟ้องในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องที่ระบุความพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ดังนี้ ศาลก็ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมตามแบบเอกสารฝ่ายเมือง แม้ผู้ทำพินัยกรรมมิได้ยื่นคำร้องด้วยตนเอง
กฎกระทรวงมหาดไทยที่ว่า ผู้ใดจะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้ทำคำร้องแสดงความจำนงตามแบบของเจ้าพนักงานยื่นต่อกรมการอำเภอนั้น เป็นแต่เพียงระเบียบไม่เกี่ยวกับเรื่องแบบแห่งพินัยกรรม ฉะนั้น แม้ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ยื่นคำร้องเอง ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องข่มขืน การระบุสถานะผู้เสียหายที่ไม่ใช่ภริยาจำเลย
ฟ้องของโจทก์ที่บรรยายระบุตัวบุคคลผู้เสียหายที่ถูกข่มขืนกระทำชำเราว่า คือ "นางสาวลำไย+ " โดยไม่ได้บรรยายต่อไปว่า "ผู้เสียหายมิใช่ภรรยาของจำเลย"นั้น เป็นฟ้องที่บรรยายแสดงความหมายครบองค์ความาผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 และเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว เพราะคำว่า "นางสาว" แสดงอยู่ในตัวแล้วว่า เป็นหญิงที่ยังไม่มีสามี และไม่ได้เป็นภริยาของผู้ใด รวมทั้งจำเลยด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้จำนองทรัพย์สินร่วม: ผลผูกพันทางกฎหมายและการรับรองความสมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยกับผู้ร้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างนั้นได้ออกเงินช่วยกันซื้อที่ดินและร่วมกันครอบครองมา เมื่อจำเลยผู้เป็นสามีนำรังวัดที่ดินนี้เพื่อออกโฉนดและใบไต่สวน ผู้ร้องก็ทราบแต่ก็ยอมให้ลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวภายหลังจำเลยนำที่ดินนี้ไปจำนองไว้กับโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวการบังคับจำนอง ผู้ร้องก็ติดต่อขอผ่อนผันกับโจทก์โดยได้รับมอบอำนาจจากจำเลย ต่อมาผู้ร้องปลูกห้องแถวลงในที่ดินนี้ ผู้ร้องก็ขออนุญาตโจทก์ และยังยอมให้สิ่งปลูกสร้างตกอยู่ในสัญญาจำนองด้วย เมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องบังคับจำนองตลอดจนกระทั่งโจทก์ชนะคดีแล้วยึดที่ดินจำนองขายทอดตลาด ผู้ร้องก็ไม่เคยโต้แย้งเลยดังนี้ ผู้ร้องจะเพิ่งมาโต้แย้งภายหลังที่ขายทอดตลาดแล้วว่าทรัพย์รายนี้เป็นของผู้ร้องร่วมอยู่ด้วย และว่าจำเลยไม่มีอำนาจจำนองทรัพย์ส่วนของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงขอแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเช่นนี้หาได้ไม่เพราะตามพฤติการณ์ของผู้ร้องแสดงชัดแจ้งแล้วว่าผู้ร้องรับรองต่อโจทก์ว่าที่จำเลยจำนองที่ดินนี้แก่โจทก์นั้นเป็นการสมบูรณ์และโดยมีอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา กรณีเทศบัญญัติยังมิได้ประกาศตามขั้นตอน แต่จำเลยทราบและไม่โต้แย้ง
การบรรยายฟ้องว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2484 เทศบาล
ได้ตราเทศบัญญัติเรื่องการจัดตั้งตลาดเอกชน พ.ศ. 2485 ไว้ตามสำเนาท้ายฟ้องและหาว่าจำเลยจัดตั้งตลาดเอกชนในเขตเทศบาลนั้นโดยมิได้รับอนุญาต ดังนี้ แม้จะไม่ได้บรรยายว่ามีประกาศเทศบัญญัตินี้โดยเปิดเผยที่สำนักงานเทศบาล 7 วันแล้ว ดังที่กำหนดไว้ในเทศบัญญัติ ก็ถือว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนในสัญญากู้: ความสมบูรณ์ตามประเพณีการค้าธนาคาร
ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจในการให้กู้ยืมเงินและมีประเพณีการค้าในการให้กู้เงินด้วยการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนเป็นปกติเสมอมา ทำสัญญาให้กู้ยืมเงินโดยตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อผิดนัดเป็นรายเดือน ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 254 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงวันที่ไม่สมบูรณ์ ผู้ทรงเช็คกรอกวันเดือนปีตามความจริงได้ แต่ต้องไม่เกินอายุความ
เช็คที่มิได้ลงวันออกเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คได้แต่จะกรอกวันเดือนปีลงตามที่ถูกต้องแท้จริงเท่านั้น เพราะผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังย่อมประสงค์ที่จะผูกพันโดยอายุความอยู่ด้วยเสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเรือนพิพาทบนที่ดินเช่า: ความสมบูรณ์ของสัญญาและการมีเจตนาที่ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย
ผู้ขายขายบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่เช่าจากสำนักงานทรัพย์สินฯได้รับชำระราคาครบถ้วน และมอบให้ผู้ซื้อเข้าอยู่อาศัยแล้ว แต่ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพราะผู้ขายอ้างว่าหากไปทำโอนกันสำนักงานทรัพย์สินฯทราบเรื่องเข้าจะหาว่าผิดสัญญาและเลิกสัญญาเช่าที่ดิน ซึ่งผู้ซื้อก็ยอม ดังนี้ แสดงว่าคู่กรณีมิได้มีเจตนาจะดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายมาแต่แรกแล้ว สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะและจะถือว่าคู่กรณีตั้งใจจะให้สมบูรณ์ในฐานเป็นสัญญาจะซื้อขายก็ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม, หนังสือสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์, และผลของพินัยกรรมที่ทำผิดแบบ
พินัยกรรมตามแบบมาตรา 1656 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานทั้งสองนั้นต้องลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงจะสมบูรณ์ จึงต้องฟังข้อเท็จจริง (ให้) ได้ (ความ) ว่า มีการกระทำถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด มิใช่เพียงแต่ฟังตามตัวหนังสือที่เขียนขึ้นไว้ พินัยกรรมที่มีบันทึกผู้รู้เห็นเป็นพยาน 5 คน แต่คนหนึ่งในจำนวนนี้ไม่ได้ลงชื่อ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างพยานที่ลงชื่อ 4 คนนี้มาสืบว่า 3 คนในจำนวนนี้เซ็นชื่อลับหลังผู้ทำพินัยกรรม คงมีคนเดียวที่ผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า ดังนี้ แม้จะเป็นการสืบพยานแก้ไขข้อความในเอกสารแต่ก็เป็นการนำสืบเพื่อแสดงความไม่สมบูรณ์ของเอกสารนั้น ย่อมนำสืบได้
ก. จำเลย กับ ฮ. บุตรของเจ้ามรดก ตกลงแบ่งมรดกกัน โดย ก. จำเลยตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 4 ให้ ฮ. ฮ. ก็ตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 5 ให้ ก. จำเลย และต่างทำเป็นหนังสือสละมรดกโดยต่างทำให้แก่กัน เมื่อปรากฏว่า ก. ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก เพราะเป็นแต่สะใภ้ไม่มีอำนาจแบ่งมรดกได้ ข้อตกลงนี้ก็ไม่สมบูรณ์ และหนังสือนี้เป็นแต่ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์มรดกเท่านั้น มิใช่เป็นการสละมรดกตามกฎหมาย เพราะยังมีข้อผูกพันจะต้องแบ่งมรดกบางส่วนตอบแทนให้ ฮ.ทายาทอื่นที่มิใช่คู่สัญญามีสิทธิจะอ้างข้อตกลงนี้ (หนังสือที่ ฮ.ทำ) เป็นประโยชน์แก่ตนไม่
พินัยกรรมที่ทำขึ้นผิดแบบตามมาตรา 1656 เป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ไม่เป็นพินัยกรรมเสียแล้ว ความเสียเปล่านี้ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ หากต้องฟ้องขอให้เพิกถอนไม่ มาตรา 1710 ใช้เฉพาะเมื่อเป็นพินัยกรรมแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องในคดีเด็ก: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดของบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจลักเอาธนบัตรของชายผู้มีชื่อไปโดยเจตนาทุจริต โดยจำเลยล้วงกระเป๋าชายผู้มีชื่อเพื่อลักทรัพย์" ดังนี้ เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเห็นได้ว่ายังไม่มีความหมายแน่นอนพอที่จะเข้าใจได้ว่าชายผู้มีชื่อนั้นหมายถึงบุคคลใดโดยเฉพาะ แม้โจทก์ไม่สามารถทราบชื่อก็น่าจะกล่าวบรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับชายผู้นั้นให้พอที่จะทำให้ฟ้องของโจทก์มีความแน่นอนขึ้น ไม่เกิดความสับสนหลงผิดแก่จำเลยได้
ในคดีที่จำเลยเป็นเด็กนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 44 จะให้ศาลพยายามกระทำโดยไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดก็ตาม แต่แท้ที่จริงมาตรานี้ก็เป็นบทบัญญัติให้ความคุ้มครองประโยชน์แก่เด็ก มีความมุ่งหมายที่จะให้เด็กเข้าใจการพิจารณาของศาลเป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้จากที่มีความบัญญัติไว้ด้วยว่า "ให้ใช้ภาษาง่าย ๆ ให้จำเลยเข้าใจ" โจทก์จึงชอบที่จะบรรยายฟ้องให้ละเอียดเพื่อช่วยให้จำเลยซึ่งเป็นเด็กเข้าใจข้อหาโดยชัดแจ้งด้วย
of 24