คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำพิพากษาตามยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม การขยายเวลา และเหตุสุดวิสัยจากการขัดขวางการบังคับคดี
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินจำนองที่พิพาทของจำเลยเพื่อบังคับคดี ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องและให้จำเลยมีชื่อในทะเบียนที่ดินแทน และผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินคืนผู้ร้อง ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนการพิจารณาคดีร้องขัดทรัพย์เพื่อรอฟังผลคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลย ซึ่งคู่ความไม่ได้โต้แย้งคำสั่ง คำสั่งของศาลย่อมเป็นที่สุด ต่อมาโจทก์ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติม เจ้าพนักงานบังคับคดียกคำขออ้างว่าโจทก์ขอยึดพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่อาจบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีและให้โจทก์บังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยต่อไป ศาลชั้นต้นยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์เพียงว่าโจทก์มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมได้หรือไม่ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้อง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาทต่อไปเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ ทั้งเป็นการผิดขั้นตอนของการวินิจฉัยที่ต้องเป็นไปตามลำดับชั้นศาล เนื่องจากคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องยังมิได้ผ่านการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีจากศาลชั้นต้นแต่อย่างใด
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยตกลงชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาด หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นบังคับชำระหนี้ คำพิพากษากำหนดขั้นตอนการบังคับคดีโดยมีลำดับก่อนหลังไว้ชัดแจ้งโดยต้องบังคับจำนองก่อน เมื่อได้เงินไม่พอชำระหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยต่อไป ตราบใดที่ยังไม่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนอง โจทก์ก็ย่อมไม่อาจขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมได้ เพราะเป็นการบังคับคดีเกินกว่าข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม
การร้องขอให้บังคับคดีต้องกระทำภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาได้โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
เมื่อการบังคับทรัพย์จำนองไม่อาจกระทำได้เนื่องจากผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์จนศาลมีคำสั่งให้รอการพิจารณาคดีร้องขัดทรัพย์ไว้ก่อน ทำให้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยภายในกำหนดของจำเลยภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 กรณีย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ดังนั้น หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองภายหลังการยึดทรัพย์จำนองเกิน 10 ปี แล้วขายได้เงินไม่พอชำระหนี้ และโจทก์ขอบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมตามเงื่อนไขที่กำหนดในคำพิพากษาตามยอม ศาลย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลาการบังคับคดีให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะยื่นคำขอหรือไม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมถึงที่สุด การยื่นคำร้องหลังพ้นกำหนดอุทธรณ์ไม่สามารถโต้แย้งได้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ที่โจทก์สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ โจทก์ต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง คือภายในวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 13 มกราคม 2549 ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ ความมุ่งหมายของโจทก์ก็คือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ มีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอม ซึ่งไม่มีบทกฎหมายใดให้โจทก์กระทำเช่นนั้นได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของโจทก์จึงชอบแล้ว ส่วนคำพิพากษาตามยอมย่อมเป็นอันถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ไม่อาจอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7907/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแปลงหนี้หลังคำพิพากษาตามยอม: ศาลไม่รับรู้หากมิได้ทำต่อหน้าศาล
ข้อตกลงในการชำระหนี้ที่คู่ความทำขึ้นใหม่แตกต่างจากข้อตกลงในการชำระหนี้ที่คู่ความกำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมไปแล้วนั้น เมื่อมิได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลไม่รับรู้ข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น หากปรากฏว่าจำเลยทั้งสองยังไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัด ศาลย่อมออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอมต่อบริวารของผู้เช่า และการบังคับคดี
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่ผู้เช่าและบริวารออกจากที่ดินพิพาทที่จำเลยเช่าจากโจทก์ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท กับให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างพร้อมค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้อง เป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง คดีที่เกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงด้วย
ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาตามยอมผูกพันเฉพาะจำเลยกับโจทก์ผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ผูกพันผู้ร้อง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมออกจากที่ดินพิพาทพร้อมกับบริวาร แม้ผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว คำพิพากษาตามยอมก็มีผลบังคับแก่ผู้ร้องด้วย โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่ผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับของคำพิพากษาตามยอมแก่บริวารของผู้เช่า และการห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยผู้เช่าและบริวารออกจากที่ดินพิพาทที่จำเลยเช่าจากโจทก์ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท ให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหาย 22,000 บาท กับค่าเสียหายอีกเดือนละ 4,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกจากที่ดินดังกล่าว คู่ความในคดีดังกล่าวจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ในชั้นบังคับคดีอันเป็นสาขาของคดีเดิม จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคสอง เช่นกัน
อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่า จำเลยเป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ คำพิพากษาตามยอมจึงไม่มีผลบังคับแก่ผู้ร้องซึ่งมิใช่คู่ความในคดีนั้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยผู้เช่าและบริวารออกจากที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยยอมออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมกับบริวารและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม แม้ผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวแต่ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย คำพิพากษาตามยอมก็ย่อมมีผลบังคับแก่ผู้ร้องด้วย โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่ผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6109/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม เริ่มนับจากวันที่จำเลยผิดนัดตามสัญญาประนีประนอม
สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4 กำหนดไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดหรือเดือนหนึ่งเดือนใด ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมให้โจทก์บังคับได้ทันที เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมกับค่าทนายความแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ภายในกำหนดวันที่ 15 มิถุนายน 2538 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมนั้นแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ทันทีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในการบังคับชำระหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2538 มิใช่เริ่มนับในวันที่ 16 กรกฎาคม 2538 อันเป็นวันถัดจากวันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์งวดแรกตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องคดีเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2548 พ้นกำหนด 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำบังคับและการบังคับคดี: คำบังคับที่ระบุในสำนวนและลงลายมือชื่อคู่ความแล้ว ถือเป็นการส่งคำบังคับโดยชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมได้อ่านคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับให้คู่ความฟังแล้ว จึงให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ที่หน้าสำนวน และที่หน้าสำนวนระบุข้อความของคำบังคับไว้ว่า ให้โจทก์และจำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิฉะนั้นจะถูกบังคับคดีตามกฎหมาย โดยมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นลงนามในฐานะเป็นผู้ออกคำบังคับ ข้อความที่ระบุไว้ที่หน้าสำนวนดังกล่าวถือได้ว่าเป็นคำบังคับแล้ว เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ลงลายมือชื่อรับทราบคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับ ย่อมถือได้ว่ามีการส่งคำบังคับไปยังจำเลยแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องออกคำบังคับซ้ำอีก
โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี แม้ท้ายคำขอระบุยอดหนี้คำนวณถึงก่อนยื่นคำขอ 1 วัน ก็ไม่ถือว่าโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีผิดแผกแตกต่างไปจากคำพิพากษาตามยอม คำขอดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 275

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินวางศาลตามคำพิพากษาตามยอม: สิทธิการรับเงินภายใน 5 ปี หากไม่เรียกรับเงินตกเป็นของแผ่นดิน
จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมโดยวางเป็นแคชเชียร์เช็คซึ่งเจ้าหน้าที่ศาลได้ออกใบรับเงินให้แก่จำเลยและได้บันทึกไว้ในคำแถลงของจำเลยว่ารับลงบัญชีแล้ว จึงเท่ากับศาลชั้นต้นได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คโดยนำเข้าบัญชีของศาลชั้นต้นแล้ว ไม่ใช่ศาลชั้นต้นรับแคชเชียร์เช็คไว้แทนโจทก์ เงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมนั้นย่อมเป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้มีสิทธิเรียกเอาเงินดังกล่าวจะต้องเรียกเอาภายใน 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางศาลอันเป็นวันที่โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเอาเงินนั้นได้ เมื่อโจทก์มิได้เรียกเอาเงินดังกล่าวภายใน 5 ปี จึงตกเป็นของแผ่นดิน และโจทก์เป็นอันสิ้นสิทธิที่จะขอรับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีใหม่หลังมีสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ศาลต้องพิจารณาในคดีเดิม
สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมคดีก่อนถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนจำเลยถือได้ว่าเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองโดยอยู่ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเข้าไปในคดีเดิมตาม มาตรา 7 (2) โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีดังกล่าวมาฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้มีคำพิพากษาตามยอมเป็นคดีใหม่ได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองได้ตาม มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
of 13