คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 886 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำฟ้องและการแก้ไขคำฟ้องในศาลภาษีอากรกลาง การไม่ยกคำฟ้องเดิม แม้จะปฏิเสธคำร้องดำเนินคดีอนาถา
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำฟ้องมีข้อบกพร่องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18 ศาลภาษีอากรกลางก็ต้องจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความนั้นไว้ การที่ศาลภาษีอากรกลางให้โจทก์ทำคำฟ้องใหม่โดยไม่ปรากฏเหตุดังที่กล่าวข้างต้นจึงไม่ชอบ
ศาลภาษีอากรกลางเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ คำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่เช่นเดิม
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อความในลักษณะเป็นการขอแก้ไขโดยสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือลดจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมที่ศาลจะพิจารณาสั่งให้แก้ไขคำฟ้องได้ ชอบที่จะให้โจทก์ยื่นคำร้องใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับคำฟ้องกรณีคำฟ้องไม่สมบูรณ์และการแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำฟ้องมีข้อบกพร่องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลภาษีอากรกลางก็ต้องจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความนั้นไว้ การที่ศาลภาษีอากรกลางให้โจทก์ทำคำฟ้องใหม่โดยไม่ปรากฏเหตุดังที่กล่าวข้างต้นจึงไม่ชอบ
ศาลภาษีอากรกลางเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ คำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่เช่นเดิม
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อความในลักษณะเป็นการขอแก้ไขโดยสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือลดจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมที่ศาลจะพิจารณาสั่งให้แก้ไขคำฟ้องได้ชอบที่จะให้โจทก์ยื่นคำร้องใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับคำฟ้องหลังศาลให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ตรวจพบข้อบกพร่องเดิม เป็นการกระทำที่ไม่ชอบ
คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ให้โจทก์ทำคำฟ้องใหม่ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลตรวจพบคำฟ้องของโจทก์ว่ามีข้อบกพร่องตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 บัญญัติไว้ศาลจึงต้องจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความนั้นไว้ ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางให้โจทก์ทำคำฟ้องใหม่โดยไม่ปรากฏเหตุดังกล่าวและมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ ต่อมาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงคำฟ้อง การอ้างสิทธิโดยมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า มีการแบ่งปันที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองเป็นส่วนสัด เมื่อปี 2533 อันเป็นการอ้างสิทธิในที่ดินพิพาทในฐานะที่เป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของ โจทก์หาได้อ้างสิทธิในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองตั้งแต่ปี 2522 ไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2522 โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องสิทธิในที่ดินมรดก: การยกข้ออ้างสิทธิครอบครองนอกเหนือจากคำฟ้องเป็นเหตุไม่ต้องวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า มีการแบ่งปันที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองเป็นส่วนสัด เมื่อปี 2533 อันเป็นการอ้างสิทธิในที่ดินพิพาทในฐานะที่เป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของ โจทก์หาได้อ้างสิทธิในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองตั้งแต่ปี 2522 ไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2522 โจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องอาญาหมิ่นประมาท: ศาลจำกัดการพิจารณาเฉพาะข้อความที่บรรยายในคำฟ้องเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยกับพวกนำข้อความที่ว่า โจทก์สมคบกับประธานสภาจังหวัด ช. ประวิงหรือหลีกเลี่ยง ละเว้นไม่พิจารณาคำขอเปิดประชุมสภาจังหวัดสมัยวิสามัญประจำปีของจำเลยกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและประเพณีปฏิบัติราชการไปยื่นฟ้อง และจำเลยกับพวกจัดการโฆษณาเผยแพร่ข้อความตามคำฟ้องในหนังสือพิมพ์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 326, 328, 83 แต่ทางพิจารณาปรากฏว่า ข้อความที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นอกจากจะเป็นข้อความตามคำฟ้องของจำเลยกับพวกแล้ว ยังมีข้อความเพิ่มเติมเป็นเบื้องหลังการที่โจทก์ไม่สั่งเปิดประชุมสภาจังหวัดเพราะเกี่ยวข้องกับการทุจริตและการย้ายข้าราชการโดยไม่เป็นธรรมอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่ง ข้อความหมิ่นประมาทถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ให้ปรากฏในคำฟ้องถือได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการลงโทษจำเลยในคดีหมิ่นประมาท: ศาลจำกัดเฉพาะข้อความที่ระบุในคำฟ้องเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกนำข้อความที่ว่าโจทก์สมคบกับประธานสภาจังหวัดชัยภูมิประวิงหรือหลีกเลี่ยง ละเว้น ไม่พิจารณาคำขอเปิดประชุมสภาจังหวัดชัยภูมิสมัยวิสามัญครั้งที่ 1 ประจำปี 2538 ของจำเลยกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดชัยภูมิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและประเพณีปฏิบัติราชการไปยื่นฟ้อง และจำเลยกับพวกจัดการโฆษณาเผยแพร่ข้อความตามคำฟ้องในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,83 แต่เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่า ข้อความที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐนอกจากจะเป็นข้อความตามคำฟ้องของจำเลยที่ 1 กับพวกแล้ว ยังมีข้อความเพิ่มเติมเป็นเบื้องหลังการที่โจทก์ไม่สั่งเปิดประชุมสภาจังหวัดเพราะเกี่ยวข้องกับการทุจริตและการย้ายข้าราชการโดยไม่เป็นธรรม อันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่งข้อความหมิ่นประมาทถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ให้ปรากฏในคำฟ้องถือได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร: การพิจารณาจำนวนข้อหาจากคำฟ้องแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่า คดีหนึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาทในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ถึงปี 2539 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมินและให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 38 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ว่า ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งปี 2538 ข้อหาหนึ่ง และปี 2539 อีกข้อหาหนึ่งคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกันและสามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร: คำฟ้องหลายข้อหาแยกจากกันได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนข้อหา
ท้าย ป.วิ.พ. (ค่าขึ้นศาล)
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่า คดีหนึ่งเสียค่าขึ้นศาล ไม่เกินสองแสนบาท ดังนั้นในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติว่า คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลฯ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และปี 2538 และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมินและให้เจ้าพนักงานประเมินผู้ประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 38 และ 77 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้ของนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 และการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของ เจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83 และ 83/1 ว่าถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายหรือแสดงรายการภาษีขายและภาษีซื้อ รวมทั้งการเครดิตภาษีแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือ แต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ดังนั้น สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่อง การประเมินภาษีในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีและแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งและปี 2538 ข้อหาหนึ่ง รวมทั้งฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 อีกข้อหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลจำกัดขอบเขตค่าเสียหายตามที่ฟ้องเท่านั้น
ค่าเสียหายจากการที่โจทก์ต้องกู้ยืมเงินผู้อื่นมาชำระแก่จำเลยทั้งสามต้องเสียดอกเบี้ยกับขาดประโยชน์จากการนำที่ดินไปขายเอากำไร มิใช่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาดังโจทก์อ้างในคำฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้เรียกค่าเสียหายจากการไม่ได้รับดอกเบี้ยซึ่งอาจนำเงินที่ชำระแก่จำเลยทั้งสามไปฝากประจำธนาคารพาณิชย์ด้วย ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสามไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้
of 89