พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9897/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาต้องไม่กลับคำวินิจฉัยเดิม การยึดทรัพย์สินบังคับคดีเพิ่มเติมต้องใช้วิธีอุทธรณ์
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 143 นั้น การที่ศาลจะมีคำสั่งเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในคำพิพากษาได้จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเทียบกับรายการที่ต้องมีในคำพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 แล้ว พบว่าคำพิพากษาของศาลดังกล่าวในหน้า 2 ตั้งแต่ข้อความว่า "พิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแล้ว คดีฟังได้ว่า" ถึงหน้า 7 บรรทัดที่ 7 สิ้นสุดที่ข้อความว่า "และประกาศของโจทก์เอกสารหมาย จ.24 ถึง จ.26" เป็นส่วนของเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบ ส่วนหน้า 7 บรรทัดที่ 7 ตั้งแต่ข้อความว่า "คดีฟังได้ดังกล่าว" จนสิ้นสุดบรรทัดที่ 11 นั้นเป็นส่วนของเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อกฎหมาย หลังจากที่ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามข้อความก่อนหน้านี้ ตามรายการในพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ส่วนข้อความในหน้า 7 ตั้งแต่ข้อความว่า "พิพากษาให้..." เป็นต้นไปจนจบนั้นเป็นส่วนของคำวินิจฉัยของศาลตามรายการในพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (5) ซึ่งเมื่อพิจารณารายละเอียดในส่วนของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กล่าววินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับอำนาจของโจทก์ที่จะยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้า หลังจากการบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ว่าจะสามารถยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าเพื่อบังคับคดีได้อีกหรือไม่ และเมื่อพิจารณารายละเอียดต่อไปในส่วนของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 141 (5) ก็ไม่ปรากฏเช่นกันว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยให้โจทก์มีอำนาจยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าเพื่อบังคับคดีได้อีก ดังนั้น คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางทั้งสองส่วนจึงสอดคล้องกัน ไม่ใช่เรื่องที่คำพิพากษาเกิดข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลังโดยอาศัยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 143 แต่โจทก์ต้องใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 38 เมื่อโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ คำพิพากษาดังกล่าวจึงถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญต่อศาลยุติธรรม: ประเพณีการปกครองและฐานะเทียบเท่าศาลรัฐธรรมนูญ
องค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มีที่มาจากองค์กรตุลาการคือศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมและจากศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็นศาลปกครอง ในส่วนขององค์คณะในการพิจารณาพิพากษา วิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยก็มีข้อกำหนดของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรฐานในการพิจารณาพิพากษาคดีไม่ต่ำไปกว่ามาตรฐานการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดอันเป็นการประกันความเป็นธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดีของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ดังนี้ จึงถือได้ว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีฐานะเช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 จะมิได้บัญญัติถึงผลบังคับของคำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไว้ แต่โดยผลของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว มาตรา 38 ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 268 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 216 วรรคห้า ก็ถือได้ว่าคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 มีผลผูกพันศาลยุติธรรมเนื่องจากเป็นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13566/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ตรงกัน ศาลฎีกาพิพากษายกกลับคำวินิจฉัยเดิม
จำเลยที่ 1 เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเป็นบุคคลคนเดียวกับคริสตจักรในการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งเป็นโบสถ์และที่ดินที่ตั้งโบสถ์ของคริสตจักรใจสมาน เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาอุทิศที่ดินและอาคารให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่จะเอาไปจำหน่ายจ่ายโอนไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจหรือมีพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 เอาไปขายให้โจทก์ จึงเป็นโมฆะ แม้โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทโดยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็ไม่มีผล โจทก์จึงไม่ใช่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาท ดังนั้น โจทก์จะเอาคำพิพากษาศาลฎีกามาบังคับขับไล่ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองให้ออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทโดยถือว่าเป็นบริวารของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ เนื่องจากที่ดินและอาคารพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองครอบครองใช้ประโยชน์อยู่โดยมีสิทธิ ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองจึงสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้เห็นได้ว่า ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองไม่ใช่บริวารของจำเลยที่ 1 คำพิพากษาศาลฎีกาจึงไม่มีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีกรณีแจ้งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ และการขยายระยะเวลาฟ้องคดีเนื่องจากคำพิพากษาเดิม
จำเลยส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ฉบับเดียวกันไปยังโจทก์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับโดยชอบ 2 ครั้ง ครั้งแรกส่งไปยังที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของโจทก์ มีผู้รับไว้เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ครั้งที่สองส่งไปยังสถานประกอบการของนายจ้างตามที่โจทก์แจ้งไว้ในคำอุทธรณ์ว่าเป็นสถานที่ติดต่อได้สะดวก มีผู้รับไว้เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 การนับเวลานำคดีไปสู่ศาลต้องตีความเป็นคุณแก่โจทก์ผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จึงให้เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ครั้งที่สอง
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยพอแปลได้ว่า เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์นั่นเอง
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ซึ่งอยู่ในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ (ครั้งที่สอง) ศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยว่า สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่มีสภาพนิติบุคคลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ให้ระยะเวลาโจทก์มาฟ้องคดีใหม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 อันเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เห็นสมควรขยายระยะเวลาการฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เพื่อให้โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยพอแปลได้ว่า เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์นั่นเอง
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ซึ่งอยู่ในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ (ครั้งที่สอง) ศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยว่า สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่มีสภาพนิติบุคคลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ให้ระยะเวลาโจทก์มาฟ้องคดีใหม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 อันเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เห็นสมควรขยายระยะเวลาการฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เพื่อให้โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5010/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องคัดค้านคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์โดยตรง การยกข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นมาโต้แย้งไม่ถือเป็นการฎีกา
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง วางหลักสำคัญในการฎีกาว่า ฎีกาจะต้องคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยแสดงข้อคัดค้านด้วยการคัดลอกข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นกล่าวไว้ในทางนำสืบโจทก์มาลำดับให้สั้นลง จากนั้นโจทก์นำมาเชื่อมต่อกับข้อความที่โจทก์ได้คัดลอกและตัดต่อข้อเท็จจริงรวมตลอดถึงเหตุผลอันเป็นคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น มาหักล้างข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ แล้วสรุปว่า ทางนำสืบโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ซึ่งข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ศาลชั้นต้นยกวินิจฉัยตามที่โจทก์ฎีกานั้น ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วไม่เห็นฟ้องด้วย โดยศาลอุทธรณ์ได้แสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยต่างไปจากที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยหลายประการ อันเป็นการหักล้างการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เท่ากับโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านโดยตรงต่อคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า มีข้อเท็จจริงใดที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนไปจากพยานหลักฐานโจทก์ที่ควรรับฟังในข้อใด และข้อวินิจฉัยใดที่ศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลไม่สมแก่ข้อเท็จจริงหรือไม่ถูกต้องในหลักกฎหมายใด ฎีกาของโจทก์จึงมีผลไม่ต่างไปจากการขอถือเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นข้อฎีกาของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อการวินิจฉัยของศาลฎีกาโดยตรง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4132/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน: การเบิกความของผู้เสียหายที่ได้ฟังพยานก่อนหน้า ศาลต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือและผลกระทบต่อคำวินิจฉัย
แม้ก่อนสืบพยานโจทก์ปากผู้เสียหาย ทนายจำเลยแถลงว่า ขณะสืบพยานโจทก์ปาก ว. ผู้เสียหายนั่งอยู่ในห้องพิจารณา ทำให้ฝ่ายจำเลยเสียเปรียบ ขอคัดค้านการสืบพยานปากผู้เสียหาย ตามที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณา และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์นำพยานปากผู้เสียหายเข้าสืบโดยยังไม่ได้จดรายงานกระบวนพิจารณาดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะกรณีดังกล่าวเท่ากับศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยแล้วจึงอนุญาตให้โจทก์นำพยานปากผู้เสียหายเข้าสืบและบันทึกเหตุผลในการอนุญาตไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหลังจากที่ดำเนินกระบวนพิจารณาในวันนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งเมื่อยังไม่ปรากฏว่าพยานปากผู้เสียหายเบิกความเป็นที่เชื่อฟังได้หรือไม่ ก็ต้องให้ผู้เสียหายเบิกความไปก่อนเพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังคำเบิกความดังกล่าวว่าเป็นการผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 114 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 หรือไม่ต่อไป แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้เป็นการบังคับมิให้ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายซึ่งได้ฟังคำเบิกความของ ว. แล้วก็ตาม แต่หากปรากฏว่าคำเบิกความของผู้เสียหายอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยฟังคำเบิกความของ ว. พยานคนก่อนหรือสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้ คำเบิกความของผู้เสียหายก็เป็นการผิดระเบียบไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9812/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจแก้ไขถ้อยคำผิดพลาดได้ หากไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับดุลพินิจในการกำหนดโทษของจำเลยที่ 1 ในความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 72 ทวิ วรรคสอง แต่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี สำหรับความผิดฐานดังกล่าว กรณีจึงเป็นความผิดหลงหรืออีกนัยหนึ่งเขียนคำพิพากษาในส่วนที่กำหนดโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานดังกล่าวผิดพลาดไป ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบที่จะแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดให้ถูกต้องได้โดยมิได้เป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 ทั้ง ป.วิ.อ. ได้บัญญัติวิธีพิจารณาในกรณีแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดไว้แล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 143 มาใช้บังคับกับกรณีดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผิดสัญญา ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยเป็นที่สุด ไม่สามารถฎีกาได้
คดีนี้สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับผู้ประกันทั้งสามซึ่งเป็นผู้ประกัน จำเลยที่ 2 ตามสัญญาประกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ผู้ประกันทั้งสามยื่นคำร้องขอเพิกถอนสัญญาประกัน ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน เห็นว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ดังนั้น ไม่ว่าผู้ประกันทั้งสามจะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวในประเด็นใดก็ตาม ก็ถือเป็นกรณีที่ผู้ประกันทั้งสามผิดสัญญาประกันต่อศาล ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประการใดแล้วและมีการอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของผู้ประกันทั้งสามมานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษาให้ยกฎีกาของผู้ประกันทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9093/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ เนื่องจากเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยในเวลาต่อมาจึงเป็นไปตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นเรื่องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 การดำเนินการในชั้นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 เนื่องจากมิใช่เรื่องที่ต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริตและไม่ปรากฏพยานหลักฐานในกรณีจะมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรรับจดทะเบียนหรือไม่ด้วยโจทก์จะมาฟ้องกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยต่อศาลโดยตรงเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้ศาลมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการดำเนินการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกภายใต้กฎหมายอิสลาม: ข้อจำกัดและคำวินิจฉัยเด็ดขาดของดะโต๊ะยุติธรรม
คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับเรื่องมรดกซึ่งเกิดในจังหวัดปัตตานีและผู้ร้องเป็นอิสลามศาสนิก จึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 ซึ่งให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามมาตรา 4 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้ดะโต๊ะยุติธรรมที่นั่งพิจารณาคดีมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและให้คำวินิจฉัยชี้ขาดนั้นเป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นได้ชี้ขาดในข้อกฎหมายอิสลามแล้วว่า ผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายอิสลามและคำวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายอิสลามของดะโต๊ะยุติธรรมดังกล่าวเป็นอันเด็ดขาดตามมาตรา 4 วรรคสาม ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นได้ชี้ขาดในข้อกฎหมายอิสลามแล้วว่า ผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายอิสลามและคำวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายอิสลามของดะโต๊ะยุติธรรมดังกล่าวเป็นอันเด็ดขาดตามมาตรา 4 วรรคสาม ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย