คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุ้มครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อสุจริตจากการขายทอดตลาด: คุ้มครองแม้เจ้าของที่แท้จริงพิสูจน์ได้ภายหลัง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของศาลโดยสุจริต แม้ภายหลังโจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่แท้จริง จะขอนำสืบพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ของจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ซื้อทรัพย์นั้นเสีย สิทธิไปถ้า จำเลยที่ 2 สุจริต โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไร ดังนั้นโจทก์ผู้ซึ่งอ้างว่า เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่แท้จริง จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาที่ดินพิพาท หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยสุจริตของผู้ซื้อช่วง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 237 แม้ผู้ขายช่วงจะกระทำการฉ้อฉล
ที่ดินของลูกหนี้โอนขายแก่ ส. ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ซื้อที่ดินรับโอนโฉนดจาก ส. โดยสุจริตและชำระราคาที่ดินตามที่ตกลงซื้อขายกันให้แก่ ส. แล้วย่อมได้รับความคุ้มครองตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์นำยึดที่ดินของผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่านาโดยอาศัยสิทธิผู้อื่น ไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา
จำเลยเช่านาของ ร. ห. เช่านาของโจทก์ จำเลยทำนาของโจทก์ที่ ห. เช่าแลกกับให้ ห. ทำนาของ ร. ที่จำเลยเช่า เป็นการที่จำเลยทำนาของโจทก์โดยอาศัยสิทธิของ ห. ไม่เป็นการที่จำเลยเช่านาของโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเช่านา: สิทธิเช่าต่อเนื่องและการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมให้โจทก์เช่าทำนาต่อไปอีกในปีการทำนา 2518 ตามข้อสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ได้เช่าทำนาในปี 2518 ต่อไปมิได้มีข้อความว่าโจทก์ตกลงเช่านาพิพาทเพียง 1 ปีทั้งไม่มีข้อความว่าโจทก์สละสิทธิการเช่านาพิพาทในปีต่อๆ ไปจำเลยย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ.2517 มาตรา 31โจทก์มีสิทธิเช่านาของจำเลยต่อไปโดยได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: การคุ้มครองผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ซึ่งมีว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาท ตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุนซึ่งจำเลยที่ 3 ทำต่อจำเลยที่ 2 เจ้าของรถมีว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยจำเลยที่ 2 ยินยอมถือเสมือนจำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ขับรถชนรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายตามคำท้าโจทก์ซ่อมรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้แล้วโจทก์ได้รับช่วงสิทธิไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาชำระหนี้สามี: ศาลฎีกาคุ้มครองทรัพย์สินส่วนตัว แม้เป็นหนี้ร่วม
สินส่วนตัวของภรรยาไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นของภรรยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 282 วรรคท้าย
โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย ผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชองโจทก์ แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องโจทก์ก็ไม่มีอำนาจยึดที่พิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1039/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังการยื่นข้อเรียกร้อง - การบังคับใช้ข้อตกลงสภาพการจ้างและการคุ้มครองลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยกับสภาพการจ้างที่ผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างได้ทำความตกลงกันทำขึ้น มิได้กำหนดระยะเวลาไว้ จึงมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่ที่ตกลงกัน
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้าง แล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้างจึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และเมื่อมีพฤติการณืฟังได้ว่านายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121 (1) อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 40, 41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคุ้มครองของ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ไม่ครอบคลุมความผิดฐานนำเข้าอาวุธปืน
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 5 มุ่งคุ้มครองเฉพาะความผิดฐานมีอาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามเท่านั้น ไม่คุ้มครองถึงความผิดฐานนำเข้ามาจากภายนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายใหม่คุ้มครองผู้ครอบครองอาวุธสงครามเดิม หากมอบให้เจ้าหน้าที่ภายในกำหนด
ภายหลังจากวันที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 แล้ว ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ออกใช้บังคับ และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้บุคคลที่มีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครองซึ่งเป็นความผิดมาแต่ก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับไม่ว่าการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด สามารถนำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้ภายในกำหนด 90 วันโดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จึงเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดยิ่งกว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต้องใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 บังคับแก่การกระทำของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คูน้ำสาธารณะที่ขุดเองไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คันและคูน้ำ หากไม่เป็นไปตามผังที่กรมชลประทานกำหนด
ตามพระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. 2505 และเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. 2505 บังคับในท้องที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ฯลฯ พ.ศ. 2509 นั้น เป็นเรื่องการทำคูน้ำจากคลองชลประทานตามโครงการเจ้าพระยาใหญ่ ซึ่งจะต้องทำตามผังและลักษณะที่อธิบดีกรมชลประทานกำหนดและประกาศแล้ว เมื่อคูน้ำที่ผู้เสียหายขุดทำขึ้นมิใช่เป็นคูน้ำที่ทำตามกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายกับพวกทำกันเอง คูน้ำนั้นจึงไม่ใช่คูน้ำที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. 2505 แม้จำเลยจะทำให้เกิดขัดข้อง น้ำไม่ไหลในคูของผู้เสียหาย จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
of 30