พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้เป็นคู่สมรสก็ไม่มีสิทธิร่วมตามสัญญา
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าแต่ผู้เดียว แม้ภรรยาจะเป็นผู้เช่า สามีก็เป็นบุคคลภายนอก จะเข้ามามีสิทธิด้วยตามสัญญาเช่าไม่ได้และถือไม่ได้ว่าสามีหรือภรรยาซึ่งลงชื่อในสัญญาเช่า ได้ทำการเพื่อทั้งสองฝ่าย
แม้จะถือว่าสิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน แต่ก็เป็นสิทธิตามสัญญาอันเป็นสิทธิเฉพาะตัว การโอนสิทธิการเช่าของภรรยาให้แก่บุคคลอื่น ย่อมเป็นสิทธิของภรรยาแต่ผู้เดียว ไม่ต้องรับความยินยอมจากสามี
แม้จะถือว่าสิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน แต่ก็เป็นสิทธิตามสัญญาอันเป็นสิทธิเฉพาะตัว การโอนสิทธิการเช่าของภรรยาให้แก่บุคคลอื่น ย่อมเป็นสิทธิของภรรยาแต่ผู้เดียว ไม่ต้องรับความยินยอมจากสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสระหว่างคู่สมรสที่เลิกร้างกัน ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างร้างไม่เป็นสินสมรส
โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสของสามีโจทก์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก และจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของสามีโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ให้ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์ จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว็้มีสิทธิอุทธรณ์ได้ เพราะเป็นผู้จะได้รับมรดกตามพินัยกรรม เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทโดยตรง ทั้งถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ทรัพย์ที่สามีได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส (อ้างฎีกาที่ 84/2497 และฎีกาที่ 991/2501)
เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ทรัพย์ที่สามีได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส (อ้างฎีกาที่ 84/2497 และฎีกาที่ 991/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสระหว่างคู่สมรสที่เลิกร้างกัน: ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างร้างไม่เป็นสินสมรส
โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสของสามีโจทก์ จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก และจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของสามีโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ให้ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้ เพราะเป็นผู้จะได้รับมรดกตามพินัยกรรม เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทโดยตรง ทั้งถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ทรัพย์ที่สามีได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส(อ้างฎีกาที่ 84/2497 และฎีกาที่ 991/2501)
เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ทรัพย์ที่สามีได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส(อ้างฎีกาที่ 84/2497 และฎีกาที่ 991/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญากู้ปลอม การหักล้างด้วยพยานบุคคล และความรับผิดของคู่สมรสที่ไม่จดทะเบียน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ จำเลยสู้ว่าเพียงแต่ลงลายมือชื่อให้ไว้ในสัญญาเฉย ๆ และกู้เงินเพียง 200 บาท แต่โจทก์ไปกรอกจำนวนเงินเป็น 9,000 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ดังนี้ ย่อมรับฟังพยานบุคคลได้ เพราะเป็นการนำสืบหักล้างเอกสารที่ไม่ถูกต้อง และไม่จำต้องมีพยานเอกสารมาสืบหักล้าง
สามีภรรยามิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย อยู่ร่วมเรือนเดียวกัน สามีไปกู้เงินมาแต่ไม่ได้ความชัดว่าเงินที่กู้ได้นำไปใช้ในกิจการอันใดแน่ ผู้ให้กู้ว่าให้กู้เพราะสามีนั้นเป็นลุงและเชื่อหลักฐานของสามีจึงเป็นเรื่องส่วนตัวของสามี ภรรยาไม่อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วม กันสามี
สามีภรรยามิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย อยู่ร่วมเรือนเดียวกัน สามีไปกู้เงินมาแต่ไม่ได้ความชัดว่าเงินที่กู้ได้นำไปใช้ในกิจการอันใดแน่ ผู้ให้กู้ว่าให้กู้เพราะสามีนั้นเป็นลุงและเชื่อหลักฐานของสามีจึงเป็นเรื่องส่วนตัวของสามี ภรรยาไม่อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วม กันสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาแจ้งเท็จ: กรณีคู่สมรสไม่จดทะเบียนสมรส และการพิสูจน์ความเป็นบิดา
โจทก์สามีแต่งงานอยู่กินกันกับจำเลยหลังจากประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระหว่างอยู่ด้วยกันเกิดบุตร 1 คน จำเลยได้แจ้งความต่อนายทะเบียนท้องถิ่นว่า เด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลยและใช้ชื่อบุคคลอื่นว่าเป็นบิดาของเด็ก ดังนี้ โจทก์ผู้เป็นสามีจะฟ้องจำเลยภริยานั้น ว่าบังอาจแจ้งความเท็จเพื่อให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 หาได้ไม่ เพราะโจทก์มิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของการสมรสซ้อน: คู่สมรสเดิมมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการสมรสใหม่
โจทก์กับ ส. เป็นสามีภริยากันอยู่ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ครั้นเมื่อ ส. ตาย กระทรวงกลาโหมได้จ่ายบำนาญตกทอดให้แก่โจทก์ตลอดมา ต่อมาจำเลยไปคัดค้าน กระทรวงกลาโหมจึงงดจ่าย ปรากฏว่าก่อน ส. ตาย ส. ได้สมรสกับจำเลยโดยจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนสมรสเช่นนี้ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445 (3) , 1490 โจทก์จึงฟ้องจำเลยขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนทะเบียนสมรสนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินของคู่สมรสเพื่อชำระหนี้ของอีกฝ่าย คู่สมรสไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่ตนเองไม่ได้เป็นจำเลย
โจทก์ยึดโฉนดที่ดินมีชื่อภริยาจำเลยเป็นเจ้าของอ้างว่าเป็นของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นที่ภริยาจำเลยเป็นจำเลยจะร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาในคดีนี้ไม่ได้เพราะภริยาของจำเลยไม่ได้เป็นจำเลยในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 323/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งห้องแถว - ความรับผิดของคู่สมรสโดยไม่จดทะเบียน
ผู้ตายทำสัญญากับโจทก์ว่าจะปลูกห้องแถวแล้วแบ่งห้องให้โจทก์โดยโจทก์ยกที่ดินส่วนที่ปลูกห้องแถวให้ผู้ตายเป็นการตอบแทนจำเลยซึ่งอยู่กินกับผู้ตายฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และได้รู้เห็นมีส่วนได้เสียเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่ได้มาตามสัญญาด้วยเช่นนี้จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมของคู่สมรสในการทำนิติกรรม การยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
สามีฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ภรรยาทำขึ้นโดยมิได้รับความยินยอม ครั้นศาลชั้นต้นฟังว่าสามีรู้เห็นยินยอมและอนุญาต สามีกลับอุทธรณ์ฎีกาว่าสามีจะต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานรับรองเพียงคนเดียวใช้ไม่ได้นั้น เมื่อข้อกฎหมายนี้มิได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแล้ว ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินบริคณห์ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส การโอนโดยไม่ยินยอมไม่สมบูรณ์
สามีจะเอาทรัพย์สินบริคณห์ไปโอนยกให้บุคคลอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมของภริยาไม่ได้