คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าธรรมเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 515 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคืนการครอบครองที่ดิน: การแยกแยะ 'การถูกรบกวน' กับ 'การถูกแย่ง' และการชำระค่าธรรมเนียมในนามโจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองในที่ดินมือเปล่าในเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกรบกวนการครอบครอง โจทก์จึงขาดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องเป็นคำให้การต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1374 วรรคสอง ส่วนการถูกแย่งการครอบครอง เป็นกรณีตามบทบัญญัติ มาตรา 1375 วรรคสอง การถูกรบกวน การครอบครองและการถูกแย่งการครอบครองจึงเป็นคนละเรื่องกันเมื่อจำเลยไม่ได้ต่อสู้เรื่องการถูกแย่งการครอบครอง ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยในปัญหาเรื่องการถูกแย่งการครอบครอง ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่มิได้สั่งให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ต่อศาลในนามของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมส่งเสริมการพาณิชยนาวี: สิทธิเรียกร้อง, อายุความ, และภาระการชำระดอกเบี้ย
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521มาตรา 23 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นพิเศษที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล แต่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษตาม ป.วิ.พ.แต่อย่างใด เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยไม่ชำระ จึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในอันที่จะได้รับชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
จำเลยทำสัญญาขายกระดาษมวนบุหรี่ให้โรงงานยาสูบแล้วจำเลยสั่งซื้อกระดาษมวนบุหรี่จากบริษัท จ.ที่ประเทศญี่ปุ่นและใช้เรือขนส่งกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นมาส่งมอบให้โรงงานยาสูบที่ประเทศไทย จำเลยจึงเป็นเจ้าของกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวซึ่งนำกระดาษมวนบุหรี่มาจากต่างประเทศโดยทางทะเล อันเป็นผู้ส่งของตามความหมายของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 4
จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโรงงานยาสูบและเป็นผู้ส่งของตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 4 ใช้เรือ ว.ซึ่งมิใช่เรือไทยในการบรรทุกนำกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาส่งมอบให้โรงงานยาสูบโดยเสียค่าระวางการรับขนเป็นเงิน 698,745.24 บาทจำเลยจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเท่ากับสองเท่าของค่าระวางสำหรับการรับขนของคือกระดาษมวนบุหรี่นั้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521มาตรา 22 เป็นเงิน 1,397,490.48 บาท
กฎกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 ข้อ 1 กำหนดให้ของที่บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวโดยทางเรือในเส้นทางที่มีเรือไทยเดินอยู่และสามารถให้บริการรับขนได้ต้องบรรทุกโดยเรือไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น จะเป็นผู้สั่งหรือนำเข้ามาเอง หรือโดยผ่านทางตัวแทนหรือผู้รับจัดการขนส่ง ดังนั้น แม้บริษัท ท.เป็นผู้รับจัดการขนส่งกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาท แต่เมื่อปรากฏว่า เรือ ว.ซึ่งบรรทุกกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นนำเข้ามาส่งมอบให้โรงงานยาสูบในประเทศไทยมิใช่เรือไทย จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเท่ากับสองเท่าของค่าระวางสำหรับการรับขนกระดาษมวนบุหรี่นั้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 22
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา22 วรรคสาม และกฎกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2527 ข้อ 4จำเลยในฐานะผู้ส่งของตามความหมายของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวีพ.ศ.2521 และคู่สัญญาผู้ขายกระดาษมวนบุหรี่ให้โรงงานยาสูบซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีภาระในการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยได้ส่งของคือกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทโดยเรือ ว.และมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมพิเศษมาชำระให้แก่โจทก์ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ 21 กันยายน 2530 ซึ่งเป็นวันที่เรือว.เข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวจนพ้นกำหนดชำระแล้ว จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากจำนวนเงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระนั้นให้แก่โจทก์ด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 1,397,490.48บาท นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินต้นแล้วเสร็จ
สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (3) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีนั้นเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสาร เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปอายุความดังกล่าวจึงมิได้ใช้บังคับแก่คดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 22 นี้
แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเอาค่าธรรมเนียมพิเศษตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มิใช่สิทธิเรียกร้องที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมส่งเสริมการพาณิชยนาวี: ผู้ส่งของต้องชำระหากใช้เรือต่างชาติ พร้อมดอกเบี้ย
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชย*นาวีพ.ศ.2521เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชย*นาวีโจทก์เป็นพิเศษที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลแต่พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยอ้างว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยไม่ชำระจึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในอันที่จะได้รับชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55 กฎกระทรวงคมนาคมฉบับที่3(พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯข้อ1กำหนดให้ของที่บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการองค์การของรัฐหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจสั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อปฏิบัติตามสัญญาโดยทางเรือในเส้นทางที่มีเรือไทยเดินอยู่และสามารถให้บริการรับขนได้ต้องบรรทุกโดยเรือไทยทั้งนี้ไม่ว่าบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญานั้นจะเป็นผู้สั่งหรือนำเข้ามาเองหรือโดยผ่านทางตัวแทนหรือผู้รับจัดการขนส่งดังนั้นเมื่อเส้นทางเดินเรือจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยเป็นเส้นทางเดินเรือที่มีเรือไทยเดินอยู่และสามารถให้บริการรับขนของได้ตามประกาศกระทรวงคมนาคมแม้บริษัทไทยเดินเรือทะเลจะเป็นผู้จัดการขนส่งกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทก็ตามแต่เมื่อเรือซึ่งบรรทุกกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทจากประเทศญี่ปุ่นนำเข้ามาส่งมอบให้โรงงานยาสูบในประเทศไทยมิใช่เรือไทยจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโรงงานยาสูบซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเท่ากับสองเท่าของค่าระวางสำหรับการรับขนกระดาษมวนบุหรี่นั้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯมาตรา22 พระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯมาตรา22วรรคสามให้ถือว่าภาระในการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ผู้ส่งของส่งของโดยเรืออื่นและเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วมิได้เสียให้ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระและกฎกระทรวงคมนาคมฉบับที่3(พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯลงวันที่7มิถุนายน2527ข้อ4กำหนดให้ผู้ซึ่งต้องชำระค่าธรรมเนียมพิเศษนำเงินมาชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ณสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เรือซึ่งขนของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อพ้นกำหนดชำระแล้วหากยังไม่ชำระให้คิดดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากจำนวนเงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระนั้นจำเลยในฐานะผู้ส่งของและคู่สัญญาผู้ขายกระดาษมวนบุหรี่ให้โรงงานยาสูบจึงมีภาระในการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยได้ส่งของและมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมพิเศษมาชำระให้แก่โจทก์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เรือเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษจนพ้นกำหนดชำระแล้วจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจากจำนวนเงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระนั้นให้แก่โจทก์ด้วย สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(3)ซึ่งมีอายุความ2ปีนั้นเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสารเรียกเอาค่าโดยสารค่าระวางค่าเช่าค่าธรรมเนียมรวมทั้งที่ได้ออกทดรองไปอายุความดังกล่าวจึงมิได้ใช้บังคับแก่คดีนี้และที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/31กำหนดให้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความสิบปีส่วนสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาหนี้อย่างอื่นให้บังคับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้นั้นแม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเอาค่าธรรมเนียมพิเศษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯมิใช่สิทธิเรียกร้องที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรก็ตามแต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมสโมสรเป็นค่าตอบแทนบริการ จัดเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษี
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000 บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสร ดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือน โดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปี ก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4การรับจ้างทำของชนิด 1 (ฉ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมสมาชิกสโมสรเป็นการให้บริการทางภาษี การรับจ้างทำของ
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสรดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือนโดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปีก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของชนิด 1(ฉ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมสมาชิกสโมสรเป็นการให้บริการทางภาษี การรับจ้างทำของ
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสรดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือนโดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปีก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของชนิด 1(ฉ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินอัตราและนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและจัดเก็บค่าธรรมเนียม ตลอดทั้งภาษีเกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่จำเลยกลับรับค่าธรรมเนียมดังกล่าวโดยไม่ออกใบเสร็จรับเงินแล้วนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งเรียกเก็บเงินเกินอัตราที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
วันเวลาเกิดเหตุในคำฟ้องเป็นเพียงรายละเอียด ไม่ใช่สาระสำคัญของคำฟ้องแม้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลากระทำผิดที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่กล่าวในฟ้อง แต่จำเลยก็นำสืบรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ดังนี้ จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
กรณีที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้น ต้องเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ จ. ฉ.และช. แต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้เกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ มิได้บรรยายว่า จำเลยมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือรับค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ จ. ฉ.และช. ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: หน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมและอำนาจศาล
โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตกลงจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ได้ตกลงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นพิเศษแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไว้จำเลยที่ 1 ผู้จะขายจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสิ้นแทนโจทก์อันจะทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เช่นนั้นด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ มิใช่ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์หรือฟ้องเรียกที่ดินพิพาทของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสาม ศาลจึงไม่มีอำนาจพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ค่าธรรมเนียมการโอนและอำนาจศาลในการห้ามเกี่ยวข้องกับที่ดิน
โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตกลงจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ได้ตกลงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นพิเศษแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1 ผู้จะขายจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสิ้นแทนโจทก์อันจะทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ผู้เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1เช่นนั้นด้วย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์มิใช่ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์หรือฟ้องเรียกที่ดินพิพาทของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสาม ศาลจึงไม่มีอำนาจพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4326/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการส่งสำเนาและการเสียค่าธรรมเนียม
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2540 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2540 ว่า รับฎีกาของจำเลย สำเนาให้โจทก์และผู้ร้องโดยกำหนดให้จำเลยนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ ให้แถลงภายใน 15 วันนับแต่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา และทนายความจำเลยลงลายมือชื่อทราบนัดให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 20 มกราคม 2540 ถ้าไม่มา ให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 14 มกราคม 2540 หลังจากวันที่จำเลยยื่นฎีกาก็ตามแต่การที่ทนายความจำเลยลงลายมือชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวข้างต้นเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันที่ 20 มกราคม 2540 ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งโดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 20มกราคม 2540 การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ไปดำเนินการเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์และผู้ร้องจนพ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้วถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์และผู้ร้องภายในกำหนด7 วัน ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
of 52