พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีและการแก้ไขหมายบังคับคดี: การดำเนินการภายใน 10 ปี และการแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยเพิ่มมูลหนี้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นอุทธรณ์ความรับผิดของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย จึงหาทำให้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วหากคู่ความไม่ฎีกา คดีก็ย่อมเป็นที่สุดนับตั้งแต่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามอุทธรณ์โจทก์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2525 โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2535 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 271
เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษา ก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้คำพิพากษา เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยรับผิดตามคำพิพากษา ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง
เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษา ก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้คำพิพากษา เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยรับผิดตามคำพิพากษา ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7048/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าฤชาธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์คดีแพ่ง: เงื่อนไขและผลของการไม่ปฏิบัติตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยและใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ซึ่งค่าธรรมเนียมโจทก์ในคดีเป็นเงิน 32,227.50 บาทเมื่อจำเลยอุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมจำนวนดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์เพียง 10,000 บาท ศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์จำเลยให้นำเงินค่าธรรมเนียมส่วนที่ขาดอีก 22,247.50 บาท มาวางภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ยื่นอุทธรณ์ จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์จำเลย จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 โดยจำเลยก็มีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลด้วย แม้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมิใช่เนื้อหาของอุทธรณ์ก็ตาม แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 234 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7048/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์คำพิพากษา: เงื่อนไขและผลของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยและใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ซึ่งค่าธรรมเนียมโจทก์ในคดีเป็นเงิน 32,227.50 บาท เมื่อจำเลยอุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียม จำนวนดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์เพียง 10,000 บาท ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมส่วนที่ขาดอีก 22,247.50 บาทมาวางภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ยื่นอุทธรณ์ จำเลยไม่ปฏิบัติ ตามคำสั่ง ศาลชั้นต้นจึงสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลย ซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 234โดยจำเลยมีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ ต่อศาลตามบทกฎหมายดังกล่าวด้วย แม้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ของจำเลยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางเงินค่าธรรมเนียม ที่จะต้องใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมิใช่เนื้อหาของอุทธรณ์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7048/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าฤชาธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์คดีแพ่ง: หน้าที่ของจำเลยและการปฏิบัติตามมาตรา 229 และ 234
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยและใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ซึ่งค่าธรรมเนียมโจทก์ในคดีเป็นเงิน32,227.50 บาท เมื่อจำเลยอุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมจำนวนดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์เพียง 10,000 บาท ศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์จำเลยให้นำเงินค่าธรรมเนียมส่วนที่ขาดอีก 22,247.50บาท มาวางภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ยื่นอุทธรณ์ จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์จำเลย จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 โดยจำเลยก็มีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลด้วย แม้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมิใช่เนื้อหาของอุทธรณ์ แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้วจำเลยจึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 234 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจได้ แม้ไม่มีคำขอ
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชนะคดีและให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยนั้น คำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ เพราะเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมศาล: ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าใช้จ่ายได้ แม้ไม่มีคำขอ
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชนะคดีและให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยนั้น คำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ เพราะเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6196/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเช็ค: คำฟ้องไม่เคลือบคลุม, การแก้ไขวันสั่งจ่ายเช็คโดยสุจริต, และค่าฤชาธรรมเนียม
คดีสำนวนแรกมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คจำนวนเงิน 110,000 บาทแก่โจทก์แล้ว และฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเช็คฉบับนี้ขาดอายุความเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คงรับวินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายและฎีกาของจำเลยที่ 2ในสำนวนหลัง โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ ครบกำหนดสั่งจ่ายแล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ฟ้องโจทก์ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติไว้แล้ว ส่วนวันที่โจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาจากจำเลยเป็นวันใดและจำเลยมอบเช็คพิพาทชำระหนี้อะไรแก่โจทก์นั้น มิใช่สภาพแห่งข้อหาที่กฎหมายบังคับให้ต้องแสดงไว้ในคำฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์แก้วันสั่งจ่ายเงินในเช็คโดยสุจริตตามความยินยอมที่จำเลยที่ 2 ให้ไว้แก่โจทก์ วันสั่งจ่ายในเช็คดังกล่าวจึงเป็นวันสั่งจ่ายที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ภายในเวลา 1 ปีนับแต่วันที่เช็คดังกล่าวถึงกำหนดสั่งจ่าย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นจำเลยในสำนวนหลัง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, และการรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมในสัญญาจ้างก่อสร้าง
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงงานที่โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1ก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีตโดยมีสัญญาว่าจ้างพร้อมทั้งรายละเอียดข้อกำหนดการก่อสร้างคลองและแบบรูปคลอง ซึ่งถือว่าแบบรูปและรายละเอียดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่คู่สัญญาถือไว้คนละฉบับ โจทก์ได้แนบสัญญาว่าจ้างมาท้ายฟ้องด้วย โดยเฉพาะโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้โดยตรงว่า จำเลยที่ 1ผิดสัญญาในงวดที่ 3 และที่ 4 โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วและได้ว่าจ้างผู้อื่นทำงานส่วนที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าคำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมทราบดีถึงขนาดของคลองส่งน้ำที่จำเลยที่ 1 รับจ้างก่อสร้าง โจทก์หาต้องบรรยายขนาด กว้าง ยาว ลึกของคลองส่งน้ำมาด้วยไม่ ส่วนงานที่โจทก์ว่าจ้าง พ.ให้ทำงานต่อจากจำเลยที่ 1 มีอะไรบ้างนั้นเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบและโจทก์ได้รับมอบงานงวดที่ 2หลังจากสิ้นสุดการต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2 แล้วก็ตาม แต่ในการรับมอบงานงวดที่ 2นั้น เนื่องจากล่วงเลยกำหนดเวลาส่งมอบงานตามที่ขอต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2โจทก์ได้สงวนสิทธิในการคิดเบี้ยปรับและได้หักเบี้ยปรับจากสินจ้างงวดที่ 2ที่จ่ายให้จำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากนี้หลังจากโจทก์ไม่รับมอบงานงวดที่ 3และที่ 4 เพราะงานไม่เสร็จตามที่จำเลยที่ 1 ขอส่งมอบแล้ว โจทก์ก็ได้มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างอีก แสดงว่าโจทก์ยังมีเจตนายึดถือระยะเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานงวดที่ 3 และที่ 4ไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามสัญญา การที่โจทก์มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำงานว่า ถ้าไม่ทำงานภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ โจทก์จะบอกเลิกสัญญานั้น เป็นการให้โอกาสจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญาทันทีเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใดโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องและทิ้งงานไป โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้ว
ส่วนเรื่องดอกเบี้ยนั้น สัญญาว่าจ้างได้กำหนดว่าจำเลยที่ 1ต้องเสียเบี้ยปรับหากไม่ทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเท่านั้น หาใช่กำหนดวันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น วันผิดนัดชำระเบี้ยปรับที่โจทก์จะพึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันครบกำหนดทวงถาม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดน้อยกว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 จำเลยที่ 4 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่จำเลยที่ 4ต้องรับผิดเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 4มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 4
แม้จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบและโจทก์ได้รับมอบงานงวดที่ 2หลังจากสิ้นสุดการต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2 แล้วก็ตาม แต่ในการรับมอบงานงวดที่ 2นั้น เนื่องจากล่วงเลยกำหนดเวลาส่งมอบงานตามที่ขอต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2โจทก์ได้สงวนสิทธิในการคิดเบี้ยปรับและได้หักเบี้ยปรับจากสินจ้างงวดที่ 2ที่จ่ายให้จำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากนี้หลังจากโจทก์ไม่รับมอบงานงวดที่ 3และที่ 4 เพราะงานไม่เสร็จตามที่จำเลยที่ 1 ขอส่งมอบแล้ว โจทก์ก็ได้มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างอีก แสดงว่าโจทก์ยังมีเจตนายึดถือระยะเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานงวดที่ 3 และที่ 4ไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามสัญญา การที่โจทก์มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำงานว่า ถ้าไม่ทำงานภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ โจทก์จะบอกเลิกสัญญานั้น เป็นการให้โอกาสจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญาทันทีเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใดโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องและทิ้งงานไป โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้ว
ส่วนเรื่องดอกเบี้ยนั้น สัญญาว่าจ้างได้กำหนดว่าจำเลยที่ 1ต้องเสียเบี้ยปรับหากไม่ทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเท่านั้น หาใช่กำหนดวันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น วันผิดนัดชำระเบี้ยปรับที่โจทก์จะพึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันครบกำหนดทวงถาม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดน้อยกว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 จำเลยที่ 4 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่จำเลยที่ 4ต้องรับผิดเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 4มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดโอนที่ดิน-ค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้หากศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัย
ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทนายโจทก์ไม่ได้ไปยังที่ทำการที่ดินอำเภอเมื่อเวลา 10.45 นาฬิกา แต่โจทก์ไปถึงเวลา12 นาฬิกาเศษ เป็นการพ้นเวลานัดโจทก์จึงเป็นผู้ผิดนัด เมื่อโจทก์อ้างว่าไม่ได้เป็นผู้ผิดนัด จึงมีประเด็นเรื่องผิดนัดเป็นกรณีที่พิพาทกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ เมื่อมิได้วินิจฉัยศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ที่จำเลยร่วมฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ควรขยายระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม ต้องสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แต่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ในคำแก้อุทธรณ์ถือว่าเป็นประเด็นพิพาทในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ให้ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอม และการเสียค่าฤชาธรรมเนียมที่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิจารณาชี้ขาดได้เลย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทนายโจทก์ไม่ได้ไปยังที่ทำการที่ดินอำเภอเมื่อเวลา 10.45 นาฬิกา แต่โจทก์ไปถึงเวลา 12 นาฬิกาเศษเป็นการพ้นเวลานัด โจทก์จึงเป็นผู้ผิดนัด เมื่อโจทก์อ้างว่าไม่ได้เป็นผู้ผิดนัด เพราะให้ทนายโจทก์ไปยังสำนักงานที่ดินก่อน และตัวโจทก์ไปถึงเวลา 12 นาฬิกาเศษ จึงมีประเด็นเรื่องผิดนัดเป็นกรณีที่พิพาทกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้เมื่อมิได้วินิจฉัยศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยร่วมฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ควรขยายระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม ต้องสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แต่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ในคำแก้อุทธรณ์ถือว่าเป็นประเด็นพิพาทในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ให้ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย