พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12619/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิคัดค้านการงดบังคับคดี: เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปได้
แม้ผู้รับจำนองจะไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการบังคับคดี แต่ผู้รับจำนองเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์หรือเจ้าหนี้รายอื่น ผู้รับจำนองจึงเป็นบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (3) ดังนั้นแม้โจทก์จะยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีของดการบังคับคดีโดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากจำเลยที่ 2 แล้ว แต่เมื่อผู้รับจำนองยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ยินยอมให้งดการบังคับคดี การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ต่อไปโดยไม่งดการบังคับคดีตามคำแถลงของโจทก์ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7282/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีและการอุทธรณ์คำสั่งศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว และได้ออกคำบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามคำพิพากษา ต่อมาจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่าจำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง ขอให้ศาลชั้นต้นอย่าเพิ่งออกหมายบังคับคดี ถือได้ว่าเป็นการขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองยังไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 และตามฎีกาของจำเลยทั้งสองก็อ้างว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคสาม บัญญัติว่า คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะต้องพิพากษายกอุทธรณ์เสีย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กลับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการไม่ชอบและจำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10209/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาและการงดการบังคับคดี: เงื่อนไขและขั้นตอนตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 271 ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาทั้งหมดหรือบางส่วน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษานั้น มาตรา 275 บัญญัติว่า ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้บังคับคดีให้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี และมาตรา 276 ก็บัญญัติไว้เพียงว่าถ้าศาลเห็นว่าคำบังคับที่ขอให้บังคับนั้นได้ส่งให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว ให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ทันที ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องส่งคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทุกคนก่อน ศาลจึงจะออกหมายบังคับคดีได้ และเมื่อพิจารณาคำขอออกหมายบังคับคดีของโจทก์ก็ปรากฏว่ามีข้อความกล่าวถึงคำพิพากษาที่จะขอให้มีการบังคับคดี รวมถึงวิธีการบังคับคดี และได้ระบุไว้แล้วว่า "จำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ชำระหนี้ให้โจทก์แต่ประการใด" อันแสดงว่าในขณะที่โจทก์ขอออกหมายบังคับคดียังมีหนี้ค้างชำระอยู่เต็มจำนวนตามคำพิพากษา ถือได้ว่าคำขอของโจทก์ได้ระบุจำนวนหนี้ที่ยังมิได้ชำระตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 (2) แล้ว คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ที่ให้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
การขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 ต้องเป็นกรณีที่ยังไม่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษา แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำร้องขอให้งดการบังคับคดีและคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ว่า ขณะที่ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องดังกล่าวเข้ามา จึงถือได้ว่าเป็นการขอให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่จะมีคำสั่งว่าสมควรให้งดการบังคับคดีหรือไม่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศสั่งยกคำร้องฉบับนี้ของจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ส่งคำร้องให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาสั่งจึงชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว
การขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 ต้องเป็นกรณีที่ยังไม่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษา แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำร้องขอให้งดการบังคับคดีและคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ว่า ขณะที่ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องดังกล่าวเข้ามา จึงถือได้ว่าเป็นการขอให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่จะมีคำสั่งว่าสมควรให้งดการบังคับคดีหรือไม่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศสั่งยกคำร้องฉบับนี้ของจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ส่งคำร้องให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาสั่งจึงชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7313/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ซื้อทรัพย์จากการยื่นคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่มีมูล และการงดบังคับคดีที่โจทก์ไม่ดำเนินการ
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมาย กล่าวคือมิได้แจ้งประกาศการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 หรือให้แก่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียทราบถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ทั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ทั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไปโดยไม่สุจริต สมรู้ร่วมคิดกับผู้ซื้อทรัพย์กดราคา และกระทำโดยประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นการร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ประกอบมาตรา 296 วรรคสอง หากผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องขอดังกล่าวเห็นว่ามีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองวางเงินหรือหาประกันต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นการประกันค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ซึ่งผู้ซื้อทรัพย์ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองนำเงินมาวางประกัน 50,000 บาท ซึ่งผู้ร้องทั้งสองได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองยื่นอุทธรณ์หากผู้ซื้อทรัพย์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ผู้ซื้อทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตน โดยศาลมีอำนาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสำนวนต่างหากจากคดีเดิมก็ได้ ตามมาตรา 296 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3791/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีโดยชอบด้วยกฎหมาย หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพิกเฉยและดำเนินการบังคับคดีต่อ ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและอาจเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การยื่นคำแถลงขอให้งดการบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้กระทำ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งของดการบังคับคดีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแล้ว แต่มีคำสั่งให้ยกคำแถลง แต่ไม่แจ้งเรื่องคำสั่งยกคำแถลงให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์ไม่ได้ไปดูแลการขายทอดตลาดตามกำหนดเดิม เจ้าพนักงานบังคับคดียังได้ขายทอดตลาดทรัพย์ให้ผู้ซื้อทรัพย์ไป เช่นนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ของดการบังคับคดีไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (3) (เดิม) ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตาม การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีต่อไปถือว่าได้กระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว กรณีมีเหตุสมควรให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3791/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าหนี้แจ้งงดบังคับคดีโดยชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตาม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองครั้งที่ 9 ในวันที่ 7 สิงหาคม 2545 ไว้ก่อนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับเป็นกรณีที่โจทก์ของดการบังคับคดีไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (3)(เดิม) ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตาม การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำแถลงของโจทก์ดังกล่าวแล้วมีคำสั่งให้ยกคำแถลงดังกล่าวโดยไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ จากนั้นดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองต่อไป ถือว่าได้กระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว กรณีมีเหตุสมควรให้เพิกถอนการขายทอดตลาดรายนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกคำร้องงดบังคับคดีเป็นที่สุด แม้ยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริง
ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" นั้น มิได้หมายความเฉพาะคำสั่งที่เกิดจากการวินิจฉัยขอเท็จจริงในคำร้องขอให้งดการบังคับคดีเท่านั้น แต่รวมถึงคำสั่งที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคำร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องเดียวกันมิใช่เรื่องอื่นนั้น จึงเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกคำร้องงดบังคับคดี ถือเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 ที่เป็นที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์ได้
คำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 ที่เป็นที่สุด มิได้หมายความเฉพาะคำสั่งที่เกิดจากการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่มีการกล่าวอ้างในคำร้องขอให้งดการบังคับคดีเท่านั้น แต่รวมถึงคำสั่งที่เกิดจากการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย โดยเห็นว่าจำเลยฟ้องโจทก์เป็นกรณีเดียวกันหาใช่ฟ้องเรื่องอื่นตามมาตรา 293 นั้น ถือได้ว่าเป็นการสั่งตามมาตรา 293 จึงเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10505/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้: ศาลงดบังคับคดีได้หากจำเลยชำระหนี้ครบถ้วน แม้มีช่วงชำระล่าช้า
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นรายงวดรวม 7 งวด ผิดนัดงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ ตกลงชำระงวดแรกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 แต่จำเลยนำเงินมาวางศาลชำระหนี้ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 ช้าไปเพียง 2 วันทำการ แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ตามที่โจทก์ยื่นคำขอในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 และวันที่ 19 มีนาคม 2547 กรณีถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจกระทำได้ เพราะเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามอำนาจแห่งดุลพินิจของศาลชั้นต้น ทั้งในงวดต่อๆ มา เดือนสิงหาคม 2547 เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เดือนสิงหาคม 2548 เดือนกุมภาพันธ์ 2549 เดือนสิงหาคม 2549 และเดือนกุมภาพันธ์ 2550 จำเลยชำระตรงตามนัดและโจทก์ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมระงับสิ้นไป จึงไม่มีเหตุต้องออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ แม้มีคำสั่งงดบังคับคดีไว้ก่อน
จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ผู้ร้องชำระเงินมัดจำค่าที่ดินแก่จำเลย แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าคดีแพ่งซึ่งผู้ร้องฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะเหตุเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นอีกคดีหนึ่งจะถึงที่สุด ศาลมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตามขอ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคท้าย แต่คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยจึงมีสิทธิเข้าจัดการกับสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อผู้ร้องดังกล่าวได้ตามมาตรา 310 ทวิ ประกอบด้วยมาตรา 311 แม้ผู้ร้องจะได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งซึ่งมีมูลมาจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรายเดียวกัน และสามารถนำหนี้ทั้งสองคดีมาหักกลบลบกันได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยได้เพราะมาตรา 311 วรรคสาม บัญญัติว่า คำสั่งอายัดนั้น อาจออกให้ได้ไม่ว่าหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะมีข้อโต้แย้งหรือมีข้อจำกัดหรือไม่