คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด: ห้ามรับชดใช้ซ้ำซ้อน
เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์ได้รับค่าเสียหายจากการที่ถูกกระทำละเมิดนั้นจนเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีสิทธิจะได้รับค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดอันเดียวกันนั้นจากจำเลยที่ 1 หรือจากผู้อื่นอีก รวมไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย มิฉะนั้นแล้วโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายเกินกว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับจริง แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาแต่ผู้เดียวก็ย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อแก้ต่างนอกคำให้การ, การฟ้องทายาท, และอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้
จำเลยอ้างและนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเป็นการนำสืบแก้ไขข้อความที่มีอยู่ในสัญญาจำนอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การเพียงแต่สาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยานว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยเกิน 5 ปี ไม่ได้นั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ยกข้อดังกล่าวขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น เพราะจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และข้ออ้างดังกล่าวมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 เจ้าหนี้กองมรดกมีสิทธิที่จะฟ้องทายาทคนใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1737 ไม่มีกฎหมายบังคับว่าทายาทผู้นั้นจะต้องได้รับมรดกหรือต้องฟ้องทายาททุกคน และแม้จะไม่เรียกผู้จัดการมรดกเข้ามาในคดีก็หาทำให้เจ้าหนี้ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ เพียงแต่อาจมีผลในการบังคับคดีเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญชาติและการจำกัดสิทธิการเดินทางออกจากจังหวัด
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคมพุทธศักราช 2515 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเพิกถอนกับการไม่ให้สัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดก่อนและหลังประกาศใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อจำเลยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพและจำเลยเกิดในราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ.2499 จำเลยจึงถูกเพิกถอนสัญชาติไทยไปแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวแล้ว ซึ่งจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายเสียก่อนจึงจะออกนอกเขตจังหวัดหนองคายได้ เมื่อจำเลยออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจึงย่อมมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญชาติและการจำกัดสิทธิการเดินทางของคนญวนอพยพที่เกิดในไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ประกาศ ณ วันที่ 13ธันวาคม พุทธศักราช 2515 กำหนดหลักเกณฑ์การเพิกถอนกับการไม่ให้สัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดก่อนและหลังประกาศใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อจำเลยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพและจำเลยเกิดในราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 2494 จำเลยจึงถูกเพิกถอนสัญชาติไทยไปแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว จำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อนจึงออกนอกเขตจังหวัดได้ เมื่อจำเลยออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงฐานแห่งข้อฟ้องในชั้นฎีกา: สิทธิภารจำยอมโดยอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินเป็นทางภารจำยอมไปสู่ทางสาธารณะแล้วต่อมาจำเลยปิดกั้นทางเดิน ขอให้บังคับจำเลยเปิดทางและจดทะเบียนเป็นภารจำยอมเท่านั้น ฉะนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่าได้สิทธิภารจำยอมมาโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีเช่า: การโต้แย้งข้อเท็จจริงแตกต่างจากศาลชั้นต้นต้องห้ามตามมาตรา 224
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายของข้อความในสัญญาเช่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่ากรณีที่จำเลยก่อสร้างต่อเติมตึกแถวพิพาทที่เช่าจากโจทก์ ก็เพื่อความสะดวกในการอยู่อาศัยและทำการค้าของจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จำเลยอุทธรณ์ว่าที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมตึกแถวพิพาท ก็เพื่อให้ตึกแถวพิพาทซึ่งมีลักษณะชำรุดทรุดโทรมมากให้มีลักษณะกลับคืนดีขึ้นใหม่ จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับการก่อสร้างต่อเติมตึกแถวพิพาทว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา โดยอ้างข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีละเมิด: จำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องเกิน 50,000 บาท จึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
โจทก์ทั้งสิบเอ็ดมิได้ร่วมกันเรียกร้องให้จำเลยรับผิดอย่างเจ้าหนี้ร่วม แต่แต่ละคนต่างเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับเท่านั้น แม้จะอาศัยมูลละเมิดเดียวกัน คดีสำหรับโจทก์คนใดจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์คนนั้นเรียกร้อง โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 9 เรียกร้องให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายให้แก่ตนเป็นจำนวนคนละไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีสำหรับโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 9 จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-หนังสือแจ้งหนี้ค้างชำระ-จำกัดสิทธิเรียกหนี้-อายุความ-ศาลฎีกาวินิจฉัย
เงื่อนไขในการประกวดราคาสัญญาก่อสร้างอาคารระบุว่าเมื่อโจทก์ตกลงเลือกผู้เข้าประกวดราคารายใดให้เป็นผู้รับจ้างและนัดให้ไปทำสัญญาแล้ว ผู้ถูกเลือกจะต้องไปทำสัญญาภายในกำหนดหากผู้ถูกเลือกไม่ยอมรับทำสัญญาโจทก์จะริบเงินมัดจำซองประกวดราคาและหากปรากฏว่าโจทก์ต้องจ้างผู้อื่นก่อสร้างแทนแพงกว่าราคาที่เสนอไว้รวมกับเงินประกันที่ยึดไว้แล้ว ผู้เสนอราคายินยอมที่จะชดใช้ราคาในส่วนที่เกินนั้นด้วยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ตกลงเลือกเป็นผู้เข้าประกวดราคาได้ไม่ยอมไปทำสัญญาก่อสร้างกับโจทก์ตามที่ยื่นซองประกวดราคาได้ ทำให้โจทก์ต้องจ้าง ช. ก่อสร้างอาคารของโจทก์ในราคาสูงกว่าราคาที่จำเลยที่ 1 ประมูลได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในราคาที่สูงขึ้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่ากำหนดเวลาให้ใช้ดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฎีกาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่ก่อนวันฟ้องกรณีก็ถือว่าโจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในปัญหาเรื่องดอกเบี้ยแล้ว ก่อนฟ้องคดีโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ที่ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้โต้แย้งโจทก์เรื่องที่โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบภายในระยะเวลาค้ำประกันถึงกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกวดราคาแต่จำเลยที่ 3 ก็ยังมีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนในชั้นให้การได้ ปัญหาที่โจทก์ฎีกา โจทก์มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อมิได้ว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหานี้ให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ สิทธิในการสืบพยานจำกัด ประเด็นข้อพิพาทจำกัดเฉพาะข้ออ้างในฟ้อง
เมื่อศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์ได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิอ้างพยานเอกสารมาสืบ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นไม่ได้อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ที่ว่าสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยเป็นผู้ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีที่ไม่ใช่คู่ความ และข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำร้องที่จำเลยขอให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีมิใช่คำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1(5) เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226(1) ประกอบกับ มาตรา 247.
of 33