พบผลลัพธ์ทั้งหมด 299 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องตั๋วสัญญาใช้เงินและการพิสูจน์การฉ้อฉลในการรับโอนเช็ค
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดโจทก์ผู้ทรงมิได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อให้ใช้เงินตามตั๋ว เพียงแต่มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถือว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามวิธีการตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 985 ประกอบด้วยมาตรา 941 บังคับไว้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดคำมั่นไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลยและจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินตามตั๋วก็เป็นเรื่องโจทก์ปฏิบัติการทวงถามแบบหนี้ทั่วไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 5 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เพราะโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลนั้นภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยที่ 5 ที่จะต้องนำสืบให้รับฟังได้ดังที่จำเลยที่ 5 กล่าวอ้าง เมื่อเช็คพิพาทได้มาโดยมีมูลหนี้ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ต้องนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาต่อ ย.จนย. ได้บอกเลิกสัญญาขายหุ้นและโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยทราบดีว่าสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ย. ได้เลิกกัน เมื่อจำเลยที่ 5 ไม่สามารถสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดตามเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าช่วงและการกระทำโดยสุจริต: การจดทะเบียนเช่าช่วงให้ผู้มีสิทธิที่ดีกว่าย่อมไม่เป็นการฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารที่กำลังก่อสร้างรวม 3 คูหาให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระราคาครบถ้วนในวันทำสัญญา ในระหว่างการก่อสร้างยังไม่เสร็จ จำเลยที่ 1 ได้เอาสิทธิการเช่าช่วงที่ได้ขายให้โจทก์แล้วนั้นไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งสามคูหาโดยจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิการเช่าได้ทำสัญญาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงอาคารไปแล้ว 2 คูหาโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลที่โจทก์ขอเพิกถอนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ที่จะฟ้องขอเพิกถอนได้คือเจ้าหนี้โดยฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำกับบุคคลที่สาม จำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 หาใช่ลูกหนี้ของโจทก์ไม่นิติกรรมระหว่างจำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่การฉ้อฉลที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ ตามมาตรา 237 แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญารับโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 2 แต่ขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่รู้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้วจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิการเช่าช่วงจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต และได้ความด้วยว่าจำเลยที่ 2 ได้เสียเงินกินเปล่าให้จำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เสียเงินไปกว่า 2 ล้านบาท จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่าโจทก์แม้ต่อมาโจทก์จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 กับ ส. กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และได้ร้องขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นได้สั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมผูกพันหรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสิทธิการเช่าช่างอาคารพิพาทและฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามรู้ถึงคำสั่งห้ามชั่วคราวแล้ว จำเลยที่ 2 ยังได้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 3 ก็ถือไม่ได้ว่าการทำนิติกรรมดังกล่าวกระทำไปโดยใช้สิทธิไม่สุจริต เพราะจำเลยที่ 2 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่าโจทก์อยู่แล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าช่วงอาคารพิพาทนั้นก็เป็นการจดทะเบียนให้แก่ผู้มีสิทธิดีกว่าโจทก์ สัญญาเช่าช่วงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่กระทำโดยไม่สุจริต อันโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากสติไม่สมบูรณ์และฉ้อฉล ทายาทมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์กับ พ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2514ที่ดินตามฟ้อง พ. ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินเดิมของ พ. ต่อมาเมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้วที่ดินนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัวของ พ. ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง พ. จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้และการซื้อขายที่ดินเนื่องจากประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาท และฉ้อฉล
ปัญหาว่าการที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วถอนฟ้อง มาฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 6 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุ จะถือว่าโจทก์ให้อภัยในเหตุประพฤติเนรคุณและคดีขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 533หรือไม่ และถอนคืนการให้ไม่ได้เพราะเป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาตามมาตรา 535 หรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ยังมีที่ดินประมาณ 10 ไร่ ให้ผู้อื่นเช่าเก็บค่าเช่าเป็นรายปี ถ้าขายจะได้ราคาไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และโจทก์สามารถดำรงชีพโดยอยู่อาศัยกับบุตรสาวอีกคนหนึ่ง ฐานะของโจทก์ยังไม่ถึงกับยากไร้ตามความหมายของมาตรา 531 (3)
จำเลยด่าโจทก์ว่า "ที่ไปอำเภอนั้นไปเย็ดกับลูกเขย ให้แล้วเอากลับคืนหน้ามือเป็นหลังมือ หน้าตีนเป็นหลังตีน หัวหงอกแล้วแก่แล้วพูดไม่มียุติธรรม" ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง และเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามมาตรา 531(2) แล้ว หาจำต้องถึงกับเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาไม่
โจทก์ยังมีที่ดินประมาณ 10 ไร่ ให้ผู้อื่นเช่าเก็บค่าเช่าเป็นรายปี ถ้าขายจะได้ราคาไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และโจทก์สามารถดำรงชีพโดยอยู่อาศัยกับบุตรสาวอีกคนหนึ่ง ฐานะของโจทก์ยังไม่ถึงกับยากไร้ตามความหมายของมาตรา 531 (3)
จำเลยด่าโจทก์ว่า "ที่ไปอำเภอนั้นไปเย็ดกับลูกเขย ให้แล้วเอากลับคืนหน้ามือเป็นหลังมือ หน้าตีนเป็นหลังตีน หัวหงอกแล้วแก่แล้วพูดไม่มียุติธรรม" ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง และเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามมาตรา 531(2) แล้ว หาจำต้องถึงกับเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้และซื้อขายที่ดินเนื่องจากประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาท และฉ้อฉล
ปัญหาว่าการที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วถอนฟ้อง มาฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 6 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุ จะถือว่าโจทก์ให้อภัยในเหตุประพฤติเนรคุณและคดีขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 533 หรือไม่และถอนคืนการให้ไม่ได้เพราะเป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาตามมาตรา 535 หรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ยังมีที่ดินประมาณ 10 ไร่ ให้ผู้อื่นเช่าเก็บค่าเช่าเป็นรายปี ถ้าขายจะได้ราคาไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และโจทก์สามารถดำรงชีพโดยอยู่อาศัยกับบุตรสาวอีกคนหนึ่ง ฐานะของโจทก์ยังไม่ถึงกับยากไร้ตามความหมายของมาตรา 531(3) จำเลยด่าโจทก์ว่า "ที่ไปอำเภอนั้นไปเย็ด กับลูกเขย ให้แล้วเอากลับคืนหน้ามือเป็นหลังมือ หน้าตีนเป็นหลังตีน หัวหงอกแล้วแก่แล้วพูดไม่มียุติธรรม" ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง และเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามมาตรา 531(2) แล้ว หาจำต้องถึงกับเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อฉลเจ้าหนี้: เพิกถอนนิติกรรมเช่าช่วงเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้
จำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของโจทก์และโจทก์มีสิทธิในตึกแถวพิพาท โดยจำเลยที่ 1 นำสิทธิการเช่าช่วงตึกแถวพิพาทไปให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้การที่จำเลยที่ 3 ได้ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แล้วได้ไปทำการจดทะเบียนยกเลิกสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงโดยจำเลยที่ 4 ให้ความยินยอมนั้น พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทั้งสี่กระทำไปทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ การกระทำของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่กระทำลงไปนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลเจ้าหนี้โดยการทำนิติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมได้
จำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของโจทก์และโจทก์มีสิทธิในตึกแถวพิพาท โดยจำเลยที่ 1 นำสิทธิการเช่าช่วงตึกแถวพิพาทไปให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้การที่จำเลยที่ 3 ได้ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แล้วได้ไปทำการจดทะเบียนยกเลิกสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงโดยจำเลยที่ 4 ให้ความยินยอมนั้น พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทั้งสี่กระทำไปทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ การกระทำของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่กระทำลงไปในนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้-ฉ้อฉล: โจทก์-ทายาทสมคบกันฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยที่ไม่เคยทำสัญญาซื้อขาย
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท 2 ฉบับ กับเช็คอื่นอีก 22 ฉบับ เพื่อเป็นค่ามัดจำในการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ซ.แต่ซ.ถึงแก่กรรมเสียก่อนจึงมิได้ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลย เช็คพิพาทตกอยู่ในความครอบครองของ ม. บุตรของ ซ. และ ม. ก็ไม่ยอมขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้จำเลย แต่กลับมอบเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาและเป็นคดีนี้การกระทำของโจทก์และ ม. จึงเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลเพื่อทำให้จำเลยไม่สามารถอ้างข้อต่อสู้ที่มีต่อ ซ. และ ม. มายันโจทก์ในคดีนี้ได้ เมื่อความจริงมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมิได้มีอยู่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คพิพาทด้วยเจตนาฉ้อฉล ผู้รับโอนต้องรับผิดชอบหากทราบถึงเหตุระงับการจ่ายเงิน
โจทก์ได้ รับโอนเช็ค มา จากจำเลยที่ 2 เมื่อกลางเดือนมิถุนายน2527 เช็ค พิพาทสั่งจ่ายวันที่ 14 มิถุนายน 2527 ในขณะที่โจทก์รับโอนเช็ค พิพาทจึงเป็นระยะเวลาที่เช็ค พิพาทถึง กำหนดสั่งจ่ายหรือใกล้ถึง วันสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 น่าจะนำเช็ค พิพาทไปเรียก เก็บเงินได้ อยู่แล้ว ไม่มีเหตุผลที่จะต้อง นำมาโอนขายให้กับโจทก์ ทั้งในขณะที่โจทก์รับโอนเช็ค พิพาท โจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายได้ มีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตาม เช็ค แล้ว การโอนเช็ค พิพาทจึงมีขึ้นด้วย คบคิดกันฉ้อฉล จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกข้อต่อสู้ที่มีต่อจำเลยที่ 2 ขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตาม เช็ค พิพาทต่อ โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการชุดใหม่ vs สัญญาประนีประนอมยอมความเดิม: การฉ้อฉลและการค้างชำระค่าจ้าง
ช. เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย จำนวนร้อยละ 43.46 จึงมีอำนาจเรียกประชุมวิสามัญได้ เมื่อ ช. เรียกประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมดและมีการประชุมตามกำหนดจึงเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่มีอำนาจลงมติแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริษัทจำเลยได้ ตามป.พ.พ. 1173,1174,1151 และเมื่อการประชุมใหญ่วิสามัญดังกล่าวที่ประชุมได้มีมติเอกฉันท์ให้ถอดถอนกรรมการชุดเดิมทั้งหมดและแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ 5 คน โดย ช.และว. เป็นกรรมการชุดใหม่มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันกระทำการแทนจำเลยได้ตามมติของที่ประชุมใหญ่วิสามัญได้ให้อำนาจไว้ ดังนี้ ช.กับว.จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันแต่งตั้งทนายความแทนบริษัทจำเลยได้ และทนายความดังกล่าวย่อมมีอำนาจอุทธรณ์แทนบริษัทจำเลย ศ. กรรมการของบริษัทจำเลยเป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยกระทำการผูกพันจำเลยได้ การที่ ศ.เป็นโจทก์ร่วมกับลูกจ้างคนอื่นของจำเลยรวม 366 คน ฟ้องบริษัทจำเลยให้จ่ายค่าจ้างค้างชำระและดอกเบี้ยแก่ตนเอง โดยในระหว่างดำเนินคดี ศ. ได้กระทำการในฐานะผู้จัดการบริษัทจำเลยด้วยการแต่งตั้งทนายความเข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ชำระเงินตามฟ้องให้แก่ ศ. และโจทก์อื่นทุกคน และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาคดีตามยอม ดังนี้ ประโยชน์ทางได้ทางเสียระหว่างจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลกับ ศ. โจทก์ที่ 364 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยเป็นปฏิปักษ์แก่กัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 80 ดังนั้นทนายความซึ่งแต่งตั้งโดย ศ. จึงไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินให้แก่ ศ. โจทก์ที่ 364 ได้ และ ป.พ.พ. มาตรา 80 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลางระหว่าง ศ. กับจำเลยจึงขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 138(2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลางระหว่างโจทก์อื่นกับบริษัทจำเลยไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 80จึงมีผลผูกพันจำเลย.