พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8498/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นจากการเจรจาหลังแจ้งความฉ้อโกง ไม่ถือเป็นการข่มขู่
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์โจทก์ได้วางเงินมัดจำและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของโจทก์ แต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้โจทก์ได้ โจทก์จึงไปแจ้งความกล่าวหาจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฉ้อโกง แล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไปเจรจากันที่สถานีตำรวจ โดยจำเลยที่ 1ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ การที่โจทก์และเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกัน หากไม่ทำก็จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตเพราะตนมีสิทธิในมูลหนี้นั้น อันถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6897/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาฐานยักยอก: เงินจากการขายสินค้าตกเป็นของโจทก์ร่วม แม้ผู้ซื้อจะแจ้งความฉ้อโกงกรรมการ
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วม มีหน้าที่ควบคุมดูแลการรับจ่ายเงินและเก็บรักษาเงินของผู้เสียหาย จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมได้ขายหอมแดงให้แก่บริษัท ก. และจำเลยได้รับเงินจากบริษัท ก. 2 จำนวน เงินนั้นย่อมตกเป็นของโจทก์ร่วมแล้ว ส่วนผู้ซื้อสินค้าเมื่อได้ชำระหนี้ค่าสินค้าแล้ว จึงหาใช่เจ้าของเงินนั้นต่อไป การที่จำเลยไม่นำเงินทั้ง 2 จำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมตามหน้าที่ แต่นำเข้าบัญชีส่วนตัวของจำเลยและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ร่วมนั้น การที่จำเลยครอบครองเงินของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่ส่งมอบโดยนำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมตามหน้าที่จึงเป็นการกระทำความผิดฐานยักยอก โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ส่วนการที่บริษัท ก. จะได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ส. กรรมการของบริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้ส่งมอบเงินของบริษัท ก. แก่จำเลยเพื่อชำระค่าสินค้าที่บริษัท ก. ซื้อจากโจทก์ร่วมในข้อหาฉ้อโกงเงินของบริษัท ก. ซึ่งเป็นเงินจำนวนเดียวกันกับเงินในคดีนี้หรือไม่นั้น ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6897/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ในคดีอาญา: เงินจากการขายสินค้าตกเป็นของผู้เสียหาย แม้มีการแจ้งความฉ้อโกงคู่ขนาน
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วม มีหน้าที่ควบคุมดูแลการรับจ่ายเงินและเก็บรักษาเงินของผู้เสียหาย จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมได้ขายหอมแดงให้แก่บริษัท ก. และจำเลยได้รับเงินจากบริษัท ก. 2 จำนวน เงินนั้นย่อมตกเป็นของโจทก์ร่วมแล้ว ส่วนผู้ซื้อสินค้าเมื่อได้ชำระหนี้ค่าสินค้าแล้ว จึงหาใช่เจ้าของเงินนั้นต่อไป การที่จำเลยไม่นำเงินทั้ง 2 จำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมตามหน้าที่ แต่นำเข้าบัญชีส่วนตัวของจำเลยและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ร่วมนั้น การที่จำเลยครอบครองเงินของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่ส่งมอบโดยนำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมตามหน้าที่จึงเป็นการกระทำความผิดฐานยักยอก โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ส่วนการที่บริษัท ก. จะได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ส. กรรมการของบริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้ส่งมอบเงินของบริษัท ก. แก่จำเลยเพื่อชำระค่าสินค้าที่บริษัท ก. ซื้อจากโจทก์ร่วมในข้อหาฉ้อโกงเงินของบริษัท ก. ซึ่งเป็นเงินจำนวนเดียวกันกับเงินในคดีนี้หรือไม่นั้น ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6845/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินและรับเงินค่าเช่าไม่เป็นฉ้อโกง หากเป็นไปตามข้อตกลง
การที่ผู้เสียหายทั้งสี่ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้ง 4 แปลง ก็เพื่อจะเอาค่าเช่าจากจำเลย อันเป็นความสมัครใจในการให้เช่า ดังนั้น การที่จำเลยได้เงินจากผู้เสียหายทั้งสี่จึงเป็นไปตามข้อตกลงมิใช่เป็นการหลอกลวง ส่วนที่จำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าก็เป็นเพียงการผิดสัญญา ซึ่งจะต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งต่อไปการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6845/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการเช่าที่ดินเพื่อจำนองและการฉ้อโกง: การกระทำโดยสมัครใจของผู้เสียหาย
การที่ผู้เสียหายทั้งสี่ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้ง 4 แปลง ก็เพื่อจะเอาค่าเช่าจากจำเลย อันเป็นความสมัครใจในการให้เช่าดังนั้น การที่จำเลยได้เงินจากผู้เสียหายทั้งสี่จึงเป็นไปตามข้อตกลงมิใช่เป็นการหลอกลวง ส่วนที่จำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าก็เป็นเพียงการผิดสัญญาซึ่งจะต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งต่อไปการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง: การรู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดทำให้เริ่มนับอายุความ
โจทก์อ้างว่าโจทก์เพิ่งรู้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 โดยจำเลยที่ 2 ได้ไปเบิกความเป็นพยานในคดีอาญาแต่ปรากฏว่าคดีอาญาดังกล่าวนั้นโจทก์เบิกความตอบคำถามค้านรับว่ามีการส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องและสำเนาคำฟ้องให้โจทก์โดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2535และยังมีการส่งหมายนัดให้โจทก์อีกครั้ง ตามคำฟ้องคดีอาญาดังกล่าวกล่าวหาว่าโจทก์ในคดีนี้ยุยงใช้ให้ผู้อื่นเข้าไปในบ้านอันเป็นเคหสถานของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ แล้วขนย้ายเครื่องพิมพ์และเครื่องตัดกระดาษของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ไปโดยทุจริตโจทก์ในคดีนี้แต่งตั้งทนายความต่อสู้คดี จากข้อเท็จจริงดังกล่าวน่าเชื่อว่า โจทก์ได้ทราบว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงว่าเครื่องตัดกระดาษไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ถือได้ว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดที่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงโจทก์และรู้ตัวผู้กระทำผิดอย่างช้าก็ก่อนวันที่ 18 กันยายน 2535อันเป็นวันที่จำเลยที่ 2 ไปเบิกความในคดีอาญาดังกล่าวแล้ว คดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2535 เกินกำหนด 3 เดือนโดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 96 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง: ความรู้แจ้งความผิดและตัวผู้กระทำผิดมีผลต่อการเริ่มนับอายุความ
โจทก์อ้างว่าโจทก์เพิ่งรู้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์เมื่อวันที่18กันยายน2535โดยจำเลยที่2ได้ไปเบิกความเป็นพยานในคดีอาญาแต่ปรากฏว่าคดีอาญาดังกล่าวนั้นโจทก์เบิกความตอบคำถามค้านรับว่ามีการส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องและสำเนาคำฟ้องให้โจทก์โดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่10เมษายน2535และยังมีการส่งหมายนัดให้โจทก์อีกครั้งตามคำฟ้องคดีอาญาดังกล่าวหาว่าโจทก์ในคดีนี้ยุยงใช้ให้ผู้อื่นเข้าไปในบ้านอันเป็นเคหสถานของจำเลยที่2ในคดีนี้แล้วขนย้ายเครื่องพิมพ์และเครื่องตัดกระดาษของห้างหุ้นส่วนจำกัดร. ไปโดยทุจริตโจทก์ในคดีนี้แต่งตั้งทนายความต่อสู้คดีจากข้อเท็จจริงดังกล่าวน่าเชื่อว่าโจทก์ได้ทราบว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงว่าเครื่องตัดกระดาษไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายถือได้ว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดที่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงโจทก์และรู้ตัวผู้กระทำผิดอย่างช้าก็ก่อนวันที่18กันยายน2535อันเป็นวันที่จำเลยที่2ไปเบิกความในคดีอาญาดังกล่าวแล้วคดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่18ธันวาคม2535เกินกำหนด3เดือนโดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา96คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6604/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงต้องมีตั้งแต่ต้น แม้พัฒนาที่ดินไม่เสร็จก็ไม่ถึงขั้นฉ้อโกงหากมีการดำเนินการบางส่วนและผู้เสียหายพอใจ
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่ง ของความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ก็คือการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการกระทำดังกล่าวผู้กระทำจะต้องมีเจตนามาตั้งแต่ต้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคหนึ่ง ได้ความว่าโจทก์ร่วมซื้อที่ดินเนื้อที่ 500 ไร่ แล้วพาจำเลยไปดูที่ดินดังกล่าวเพื่อปรึกษาว่าจะพัฒนาที่ดินอย่างไร หลังจากนั้นจำเลยมาเสนอให้โจทก์ร่วมปลูกมันสำปะหลังหรือทำการเกษตรแบบผสมซึ่งโจทก์ร่วมเห็นชอบด้วยจำเลยบอกว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับ พื้นที่ โจทก์ร่วมตกลงให้จำเลยดำเนินการโดยจ่ายเงินให้จำเลยเป็นค่าใช้จ่ายหลังจากที่ได้จ่ายเงินครั้งที่สามแล้วโจทก์ร่วมไปดูที่ดินพบว่ามีการปรับพื้นที่ไปประมาณ 5 ถึง 6 ไร่ซึ่งโจทก์ร่วมตรวจดูมิได้คัดค้านแต่ประการใด ตรงกันข้ามกลับจ่ายค่าพัฒนาที่ดินให้จำเลยอีกถึง 85,000 บาท แสดงว่าโจทก์ร่วมพอใจในการพัฒนาที่ดินของจำเลย แม้ต่อมาจำเลยจะไม่ได้ดำเนินการพัฒนาที่ดินต่อไปจนเสร็จสิ้นซึ่งจะต้องด้วยเหตุผลประการใดก็ตามกรณีจึงยังฟังไม่ได้โดยแน่ชัดว่าจำเลยมีเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมมาตั้งแต่ต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง, ปลอมแปลงเอกสาร, และเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านเท็จ
ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิของผู้ให้เช่าจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)
จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและเป็นเอกสารเท็จยื่นประกอบแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกเงินค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร อันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่คลังจังหวัดชุมพร ก.และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม มาตรา 268
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4)และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตามมาตรา 157 เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตามมาตรา 157 อีก
การที่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอม และมีข้อความเท็จโดยจำเลยได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
ตามเอกสารพิพาทเป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนแก่ทางราชการและตามใบเสร็จรับเงินของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับเงินจากจำเลย ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่จำเลยเบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง และในความผิดฐานอื่น
การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 265 นั้น จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และการที่จำเลยได้นำแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัด-ชุมพรอันเป็นความผิดตามมาตรา 341 และมาตรา 268 และการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความรับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) และการที่จำเลยในฐานะที่ดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 นั้นเป็นการกระทำคนละครั้งคนละคราวกัน แต่การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปใช้ประกอบการยื่นคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าวนั้น แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดประสงค์ในผลอันเดียวกัน คือมุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอ ตามมาตรา 90 เมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวรวม 12 เดือนเดือนละหนึ่งครั้งรวม 12 ครั้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 และในแต่ละกรรมต้องลงโทษในบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตาม ป.อ.มาตรา 157
จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและเป็นเอกสารเท็จยื่นประกอบแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกเงินค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร อันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่คลังจังหวัดชุมพร ก.และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม มาตรา 268
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4)และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตามมาตรา 157 เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตามมาตรา 157 อีก
การที่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอม และมีข้อความเท็จโดยจำเลยได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
ตามเอกสารพิพาทเป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนแก่ทางราชการและตามใบเสร็จรับเงินของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับเงินจากจำเลย ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่จำเลยเบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง และในความผิดฐานอื่น
การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 265 นั้น จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และการที่จำเลยได้นำแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัด-ชุมพรอันเป็นความผิดตามมาตรา 341 และมาตรา 268 และการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความรับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) และการที่จำเลยในฐานะที่ดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 นั้นเป็นการกระทำคนละครั้งคนละคราวกัน แต่การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปใช้ประกอบการยื่นคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าวนั้น แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดประสงค์ในผลอันเดียวกัน คือมุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอ ตามมาตรา 90 เมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวรวม 12 เดือนเดือนละหนึ่งครั้งรวม 12 ครั้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 และในแต่ละกรรมต้องลงโทษในบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตาม ป.อ.มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมบัตรเครดิตและใช้เอกสารปลอมเพื่อฉ้อโกง ศาลพิจารณาลดโทษจากความผิดฐานฉ้อโกงและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยปลอมบัตรเครดิตธนาคารแล้วใช้บัตรเครดิตดังกล่าวรูดกับเครื่องรูด บัตรเครดิตซึ่งธนาคารให้ไว้แก่จำเลยและปลอมเซลสลิปของบุคคลหลายคนเพื่อแสดงว่าผู้เป็นเจ้าของบัตรเครดิตได้ซื้อหรือใช้บริการด้วยบัตรเครดิตดังกล่าว จำเลยกระทำอยู่หลายครั้งอย่างมีระบบเป็นลักษณะมืออาชีพพฤติการณ์เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศจึงไม่สมควรรอการลงโทษให้จำเลยแต่ภายหลังกระทำผิดจำเลยรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้าย โดยชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายจนผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกง จึงสมควรวางโทษให้เบาลง