คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฎีกาต้องห้าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7347/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากราคาทรัพย์สินในชั้นฎีกาลดลงต่ำกว่า 200,000 บาท
โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูป หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามใช้ราคาเป็นเงิน 248,700 บาท แก่โจทก์ ซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 200,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษา กลับให้จำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูปตามฟ้องแก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน 128,340 บาท แก่โจทก์แทน เมื่อจำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617-6618/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาลล่าง
การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้มีชื่อเป็นการฟ้องเรียกให้ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามคดีของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาทนั้นปรากฎว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อไปแล้วโจทก์ทั้งสามขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับคนละ190,000บาทจึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ต้องถือทุนทรัพย์แยกกันตามรายตัวโจทก์เมื่อจำเลยหนี้ตามสิทธิของโจทก์แต่ละคนไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกแต่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยการที่โจทก์ทั้งสามฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ทั้งสามและจำเลยต้องแบ่งเงินที่ขายที่ดินพิพาทกันตามส่วนและศาลล่างวินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนจากพยานหลักฐานในสำนวนเพราะในส.ค.1เอกสารหมายจ.4จำเลยระบุไว้ว่าได้ที่ดินพิพาทมาโดยบิดามารดายกให้แต่ในสัญญาซื้อขายเอกสารหมายจ.6จำเลยระบุว่าได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองเกิน10ปีแตกต่างกันแต่ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยในปัญหานี้ไม่ล้วนแต่เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ทั้งสิ้นอันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาไว้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าอาคารให้แก่จำเลยมีกำหนด 20 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารจำเลยอุทธรณ์แต่ทิ้งอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำหน่ายคดีสำหรับอุทธรณ์ของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลฎีกาพิพากษายืน การทิ้งอุทธรณ์ของจำเลยมีผลเสมือนหนึ่งว่าจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์นั้นเลยคงมีแต่โจทก์ฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นวา ระยะเวลาการเช่าจะเริ่มนับแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ได้ และคดีในส่วนที่โจทก์อุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาเช่ามีกำหนด20 ปี จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า ไม่ใช่วันทำสัญญาจอง และคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5906/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นใหม่ & ไม่ชัดเจน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง และข้อฎีกาไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่าจำเลยขายที่พิพาทให้แก่โจทก์จริงหรือไม่ จำเลยมิได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง และศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยขายที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนของจำเลยพร้อมทั้งมอบสิทธิการครอบครองให้แก่โจทก์จริง มิใช่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์แล้วมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ยดังที่จำเลยต่อสู้ จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงดังกล่าวการที่จำเลยฎีกาว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินมรดกของบิดาจำเลยซึ่งมีบุตร 6 คน จำเลยจึงไม่มีอำนาจขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ หากจำเลยขายที่พิพาทก็จะต้องถูกกำจัดไม่ให้ได้รับมรดก และนายใหญ่ อาจสูงเนิน เป็นผู้ครอบครองที่พิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิในที่พิพาทไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่อาจรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาข้อกฎหมายว่า ที่พิพาทมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักฐานทางทะเบียน จำเลยขายให้โจทก์โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การซื้อขายตกเป็นโมฆะนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าว ฎีกาจำเลยจึงมิได้โต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1ไม่วินิจฉัยปัญหาที่จำเลยยกขึ้นฎีกานั้นไม่ชอบเพราะเหตุ และจะมีผลอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5906/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เหตุข้อเท็จจริงใหม่ & ข้อกฎหมายที่ศาลล่างมิได้วินิจฉัย
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่าจำเลยขายที่พิพาทให้แก่โจทก์จริงหรือไม่จำเลยมิได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไม่ถูกต้องและศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยขายที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนของจำเลยพร้อมทั้งมอบสิทธิการครอบครองให้แก่โจทก์จริงมิใช่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์แล้วมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ยดังที่จำเลยต่อสู้จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงดังกล่าวการที่จำเลยฎีกาว่าที่พิพาทเป็นที่ดินมรดกของบิดามารดาจำเลยซึ่งมีบุตร6คนจำเลยจึงไม่มีอำนาจขายที่พิพาทให้แก่โจทก์หากจำเลยขายที่พิพาทก็จะต้องถูกกำจัดไม่ให้ได้รับมรดกและนายใหญ่อาจสูงเนิน เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทโจทก์ไม่มีสิทธิในที่พิพาทไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่อาจรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่จำเลยฎีกาข้อกฎหมายว่าที่พิพาทมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักฐานทางทะเบียนจำเลยขายให้โจทก์โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การซื้อขายตกเป็นโมฆะนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค1มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวฎีกาจำเลยจึงมิได้โต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ไม่วินิจฉัยปัญหาที่จำเลยยกขึ้นฎีกานั้นไม่ชอบเพราะเหตุและจะมีผลอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด142,900บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเกินไปกว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองฎีกาขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย283,218บาท(คิดถึงวันฟ้อง)แก่โจทก์ทั้งสองพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่9สิงหาคม2531เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงเป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นว่าลูกจ้างของโจทก์ทั้งสองมิได้ขับรถโดยประมาทหากแต่ลูกจ้างของจำเลยขับรถโดยประมาทฝ่ายเดียวเป็นเหตุให้รถชนกันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: ประเด็นการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นเกี่ยวกับนิติกรรมอำพราง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินและเพิ่มวงเงินจำนองไว้แก่จำเลย หลังจากนั้นโจทก์ขอชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองจำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงนำเงินต้นและดอกเบี้ยไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ขอให้บังคับจำเลยรับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลยจริง แต่การจดทะเบียนเพิ่มเงินจำนองเป็นการแสดงเจตนาลวงเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดิน เพราะที่ดินดังกล่าวตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ห้ามโอนภายในกำหนดเวลา 5 ปีจึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเท่ากับราคาที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกัน ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องโต้แย้งและพิพาทกันด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกามีใจความว่าพยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ฟังได้ว่าโจทก์กู้เงินจากจำเลยและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกัน ต่อมาโจทก์กู้เงินจากจำเลยอีกหลายครั้ง โจทก์จึงตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ไปทั้งหมด แต่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไม่ได้ เพราะที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ห้ามโอนภายในกำหนด 5 ปีจึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยและรับฟังมาว่าการจำนองที่ดินตามฟ้องไม่ได้เป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดินจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลในประเด็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับของกลาง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ปรับ 5,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี และไม่ริบรถยนต์ของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เฉพาะของกลางเป็นให้ริบ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งฉะนั้น ที่จำเลยฎีกาขอให้ไม่ริบรถยนต์ขอวงกลางเนื่องจากไม้ที่จำเลยรับไว้มีปริมาตรน้อย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคสอง ปัญหาข้อเท็จจริง และการโต้แย้งดุลพินิจของศาล
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าตามสัญญาเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ10,000บาทแม้โจทก์ทั้งสองจะกล่าวมาในฟ้องด้วยว่าหากโจทก์ทั้งสองจะให้ผู้อื่นเช่าในปัจจุบันจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ45,000บาทและโจทก์ทั้งสองใช้เป็นหลักเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายไปตามอัตราจำนวน45,000บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาทก็ตามแต่โจทก์ทั้งสองมิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่นหากแต่เรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวเท่านั้นคู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง ที่จำเลยฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจเชื่อว่าลายมือชื่อของผู้เช่าในสัญญาเช่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยโดยเหตุผลว่าตามสัญญาเช่าจะเขียนคล้ายหมึกต่างสีกันก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาเพราะปากกาที่ใช้เขียนหมึกอาจจะออกมาไม่สม่ำเสมอหรือหมึกหมดแล้วเปลี่ยนด้ามใหม่ก็ได้อันเป็นความเห็นซึ่งโจทก์จำเลยมิได้นำสืบได้จึงเป็นการรับฟังโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยดังกล่าวก็โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งสามารถตรวจดูด้วยสายตาและศาลอุทธรณ์สามารถใช้ดุลพินิจได้การที่จำเลยฎีกาโต้แย้งดังกล่าวจึงเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงส่วนที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้สร้างอาคารในที่ดินพิพาทและโจทก์ที่1สัญญาจะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปอีก10ปีหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้นคดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์ที่1จะให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาท10ปีโดยมีค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้นไม่มีน้ำหนักให้รับฟังการที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานของจำเลยฟังได้ว่าโจทก์ที่1ตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก10ปีตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าที่มีต่อกันจึงเป็นฎีกาเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นปัญหาข้อเท็จจริงฎีกาจำเลยทั้งหมดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4970/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกาหลังรับสารภาพในชั้นศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาข้อที่ว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยมิได้อุทธรณ์การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อเสพเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่เป็นการไม่ชอบต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา15แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
of 50