พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตำรวจวิวาทกับประชาชนเสียชีวิต ไม่ถึงฆ่าเจ้าพนักงาน เพราะไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่
ตำรวจซึ่งไปตรวจท้องที่กับราษฎรต่างสมัคใจเข้าวิวาทกันถึงแก่ความตายด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ไม่มีผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานทำการตามหน้าที่ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ.2461 ม.3 ศาลเดิมวาง ม.249 จำคุก 20 ปี ศาลอุทธรณ์วาง ม.251 จำคุก 5 ปี แก้มากฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นการจับกุม: เหตุผลความผิดทางอาญาต้องชัดเจน การไปดูลิเกไม่ถือเป็นเหตุจูงใจ
ตำรวจซึ่งมิได้ประจำหน้าที่ไม่ช่วยจับคนร้ายเมื่อมีคนร้องขอ แต่ไม่ปรากฎว่ามีสาเหตุกันอย่างใด ยังไม่มีผิดตาม ม.145
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942-945/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิวาททำร้ายร่างกายในบ้าน ตำรวจไม่มีอำนาจฟ้อง บุกรุกจำเป็น
บุกรุกและทำร้ายร่างกายวิธีพิจารณาอาญาวิวาทกันในบ้านบาดเจ็บไม่ถึงสาหัส ตำรวจไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจหน้าที่ตำรวจนอกราชการ: การจับกุมและการดำเนินคดีอาญา
ตำรวจลาราชการไม่ใช่เจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9690/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพกพาอาวุธปืนของเจ้าพนักงานตำรวจโดยได้รับอนุญาตตามระเบียบ ไม่ถือเป็นความผิดฐานพาอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต
หนังสือของหัวหน้าฝ่ายสารสนเทศและทะเบียนอาวุธปืน ระบุว่า การได้รับอนุญาตให้พกพาอาวุธปืนยังอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบกับตามประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 22 ข้อที่ 6 กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาชั้นสารวัตรสามารถอนุญาตให้ตำรวจที่อยู่ในบังคับบัญชาพกอาวุธปืนติดตัวไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ขณะเกิดเหตุ จำเลยรับราชการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและมีใบอนุญาตเป็นบัตรพกพาอาวุธปืนระบุชัดแจ้งว่า เป็นการอนุญาตโดยอาศัยอำนาจตามประมวลระเบียบการตำรวจดังกล่าว พร้อมทั้งมีข้อความครบถ้วนและออกโดยผู้บังคับบัญชาชั้นสารวัตรของจำเลย ดังนี้ เท่ากับบัตรพกพาเป็นหลักฐานอันเป็นหนังสือที่แสดงว่าจำเลยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตามประมวลระเบียบการตำรวจอย่างถูกต้องแล้ว และขณะจำเลยถูกจับกุมยังอยู่ในช่วงเวลาที่ได้รับอนุญาตให้พกพาอาวุธปืนติดตัว จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14929/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทุจริต: การส่งเรื่องจาก ป.ป.ช. ให้ตำรวจสอบสวนตามประกาศ คปค. ชอบด้วยกฎหมาย
ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ข้อ 6 กำหนดว่า ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาเห็นสมควร อาจส่งเรื่องที่มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่บุคคลตามมาตรา 66 ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนดำเนินการทางวินัยหรือดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้วแต่กรณี หรือส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตาม ป.วิ.อ. ต่อไปก็ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาและถูกดำเนินคดีในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และพนักงานสอบสวนได้ส่งเรื่องกล่าวหาร้องเรียนจำเลยทั้งสองซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการตามกฎหมายแล้ว ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้พิจารณาเรื่องกล่าวหาร้องเรียนจำเลยทั้งสองแล้วมีมติให้ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรคุระบุรีดำเนินการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. ต่อไป โดยอาศัยอำนาจตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับดังกล่าว ดังนั้น การสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรคุระบุรีในคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13312/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจสั่งปล่อยตัวผู้กระทำผิดโดยมิชอบ แม้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ยินยอม ถือเป็นความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำความผิดและมีอำนาจสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำตัวผู้ถูกจับกุมส่งต่อพนักงานสอบสวน หรือสั่งปล่อยตัวผู้ถูกจับหากเห็นว่าเป็นการจับผิดตัวหรือผู้ถูกจับกุมไม่ได้กระทำความผิดหรือการกระทำยังไม่เป็นความผิด จำเลยทราบดีว่าคนต่างด้าวที่ถูกจับกุมเป็นผู้กระทำความผิด จำเลยไม่มีอำนาจสั่งปล่อยได้ แต่กลับสั่งการในฐานะผู้บังคับบัญชาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปล่อยตัวผู้กระทำความผิดและรถของกลางโดยไม่ชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลให้ความร่วมมือตำรวจหลังศาลตัดสิน ไม่เป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์จากกฎหมายลดโทษยาเสพติด
ข้อเท็จจริงที่เป็นข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่จำเลยให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจอันจะเป็นเหตุให้ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดโดยอาศัย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้เกิดขึ้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษา เมื่อปรากฏว่าข้อมูลที่จำเลยอ้างว่าเป็นผู้ให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจจนสามารถจับคนร้ายซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายยาเสพติดให้โทษได้นั้น เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว จำเลยจึงไม่อาจที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3468/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันครอบครองยาเสพติด พยานหลักฐานจากตำรวจและคำให้การของผู้ต้องหาร่วมสนับสนุนการพิพากษา
พยานโจทก์ปากร้อยตำรวจเอก ว. และสิบตำรวจตรี ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติการไปตามอำนาจหน้าที่ ทั้งยังเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเช่นเดียวกับจำเลยที่ 4 เชื่อว่าให้การไปตามความเป็นจริงที่ประสบพบมา ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำให้ร้ายจำเลยที่ 4 ให้ต้องรับโทษ นอกจากนี้พยานโจทก์อีกสองปากก็เป็นพยานที่อยู่ในที่เกิดเหตุและเห็นเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นและพบเมทแอมเฟตามีนในบ้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 4 มานอนค้างที่บ้าน อีกทั้งพยานโจทก์ทั้งสี่ยังเบิกความสอดคล้องต้องกันกับพยานเอกสารว่า ขณะที่ร้อยตำรวจเอก ว. กับสิบตำรวจตรี ส. ตะโกนเรียกบุคคลในบ้านเพื่อให้เปิดประตู ไฟยังเปิดอยู่และปิดในเวลาต่อมา แต่ก็ได้ความจากพยานโจทก์ทั้งสองปากเบิกความว่า สิบตำรวจตรี ส. สวมไฟฉายที่สามารถส่องสว่างได้ในระยะไกลกว่า 10 เมตร อยู่ที่ศีรษะ ขณะที่ปีนฝาผนังกั้นห้องเพื่อเข้าไปเปิดประตูนั้น เห็นจำเลยที่ 4 วิ่งไปที่บริเวณโอ่งน้ำ ซึ่งก็สัมพันธ์กับแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุและภาพถ่าย จึงน่าเชื่อว่าสิบตำรวจตรี ส. เห็นจำเลยที่ 4 อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังได้ความจากบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งกระทำขึ้นภายหลังเกิดเหตุเพียง 1 วันด้วยว่า เมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจพบเป็นของจำเลยที่ 4 ที่นำไปทิ้งในโอ่งน้ำขณะเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้น แต่ด้วยความรีบร้อนทำให้เมทแอมเฟตามีนบางส่วนตกหล่นที่พื้น ซึ่งแม้บันทึกคำให้การดังกล่าวจะเป็นพยานบอกเล่าและถือเป็นพยานซัดทอด ซึ่งตามกฎหมายห้ามมิให้รับฟังก็ตาม แต่ก็มิได้ต้องห้ามโดยเด็ดขาด เมื่อพิจารณาตามสภาพ ลักษณะแหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานดังกล่าวนั้น ประกอบกับโจทก์มีพยานบุคคลและพยานเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนทำให้พยานหลักฐานของโจทก์น่าเชื่อถือ พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาจึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย แม้ไม่ได้ร่วมทำร้ายโดยตรง
ระหว่างจำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายผู้ตาย จำเลยที่ 2 ยืนอยู่ด้านหลังจำเลยที่ 1 และพูดกับผู้ตายว่า "มึงรู้ไหมว่ากูเป็นใคร กูเป็นตำรวจ กูจะเอาปืนมายิงมึง" แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ร่วมทำร้ายผู้ตายด้วย แต่การพูดของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการข่มขู่ให้ผู้ตายเกิดความกลัวไม่กล้าต่อสู้และเป็นการปลุกเร้าให้จำเลยที่ 1 ฮึกเหิมทำร้ายร่างกายผู้ตายต่อไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น จึงเป็นการสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่ไม่เป็นความผิดฐานตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว ศาลฎีกาลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องเพราะข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญ และจำเลยที่ 2 มิได้หลงต่อสู้