พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลี้ยวรถตัดหน้าตามกฎหมายจราจร: การตีความ 'เลี้ยวตัดหน้า' ในกรณีรถแล่นตามกัน
บทบัญญัติมาตรา 9 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2477 หมายถึงการขับรถเลี้ยวตัดหน้ารถอื่นที่กำลังแล่นสวนทางมา หาใช่หมายถึงกรณีที่รถแล่นตามๆ กันมาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ และขอบเขตการฟ้องคดีอาญาเฉพาะ
ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" ไว้ให้หมายถึง บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย จำเลยเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย คือเป็นเจ้าพนักงานตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ฉะนั้น จำเลยจึงไม่เป็นพนักงาน" ตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 แต่เพียงประการเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็น "พนักงาน" ซึ่งจะมีความผิดตามมาตรานี้ได้แล้ว ก็ต้องยกฟ้อง จะยกบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาพิจารณาลงโทษจำเลยโดยโจทก์มิได้ขอมาไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 แต่เพียงประการเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็น "พนักงาน" ซึ่งจะมีความผิดตามมาตรานี้ได้แล้ว ก็ต้องยกฟ้อง จะยกบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาพิจารณาลงโทษจำเลยโดยโจทก์มิได้ขอมาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาใหม่หลังขาดนัด - การตีความมาตรา 207 และผลกระทบจากการยกเลิกมาตรา 204
การตีความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207 (1) จะต้องตีความอย่างจำกัด อนุมาตรานี้บัญญัติท้าวถึงกรณีตามมาตรา 204 เมื่อมาตรา 204 ถูกยกเลิกไปแล้ว ผลก็เป็นเสมือนว่ามาตรา 207(1) ถูกยกเลิกไปด้วยโดยปริยาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และยังติดใจขอให้ไต่สวนคำร้องอยู่ ศาลพึงไต่สวนพยานให้สิ้นกระแสความเสียหาย จะพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ตามสำนวนแล้วฟังว่าจำเลยจงใจขาดนัดและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามนัยมาตรา 205 (3) แล้วสั่งยกคำร้องเสียดังนี้ หาชอบไม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และยังติดใจขอให้ไต่สวนคำร้องอยู่ ศาลพึงไต่สวนพยานให้สิ้นกระแสความเสียหาย จะพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ตามสำนวนแล้วฟังว่าจำเลยจงใจขาดนัดและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามนัยมาตรา 205 (3) แล้วสั่งยกคำร้องเสียดังนี้ หาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป' ในมาตรา 181 อาญา: อัตราโทษขั้นต่ำไม่ใช่เกณฑ์ลงโทษ
ข้อความที่ว่า "ความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป...." ในมาตรา 181 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น หมายความถึงอัตราขั้นต่ำของความผิดนั้น ๆ จะต้องจำคุกสามปีเป็นอย่างน้อยที่สุด
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2506)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'อุบัติเหตุ' ในสัญญาประกันชีวิต: การถูกงูพิษกัดเข้าข่ายหรือไม่
ผู้เอาประกันชีวิตถูกงูพิษกัดถึงตายโดยบังเอิญนั้น นับว่าเป็นอุบัติเหตุตามความหมายของคำว่าอุบัติเหตุแห่งข้อสัญญาที่ว่า "ต้องเป็นเหตุเนื่องมาจากร่างกายของผู้เอาประกันถูกบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกโดยบังเอิญและปราศจากเจตนาของผู้มีส่วนกระทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น" แล้วผู้รับประกันชีวิตจึงต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำพิพากษาที่พิมพ์ตก ศาลมีอำนาจอธิบายได้ หากบริบทโดยรวมแสดงเจตนาให้ริบของกลาง
ศาลชั้นต้นอ่านต้นร่างคำพิพากษาให้ลงโทษและริบของกลางแล้ว ในสารบบคำพิพากษาก็ลงว่า ริบของกลาง แต่เวลาพิมพ์คำพิพากษาพิมพ์ตกข้อความไม่มีว่า ริบของกลาง โจทก์ร้องขอให้ศาลชั้นต้นอธิบายคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้าซากสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต: การตีความคำให้การประกอบฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยบังอาจทำการค้าขายซากกระบือ คือ หนังกระบือดิบ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน จำเลยให้การว่าได้นำหนังกระบือไปขายจริงตามฟ้องโดยไปพบมีผู้นำมาขายกลางทางจึงซื้อและนำไปขายเอากำไรอีกต่อหนึ่ง ดังนี้ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าจำเลยค้าหนังกระบือโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนนัดสืบพยานและการขาดนัดพิจารณา: การตีความรายงานการพิจารณาคดี และขอบเขตการขาดนัด
จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อน เมื่อสืบพยานจำเลยบางคนแล้ว ศาลเลื่อนไปสืบพยานจำเลยต่อ ครั้งถึงวันนัด คู่ความขอเลื่อนคดี ศาลให้เลื่อนไปสืบพยาน 2 วัน ติดต่อกัน แต่จดรายงานพิจารณาไขว้เขวไปว่า "ให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์และจำเลยในวันที่ 19-17 เดือนหน้าเวลา 9.30 น. ตามที่ตกลงกัน" ดังนี้ ต้องหมายความว่า ให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยก่อนแล้วจึงสืบพยานโจทก์ต่อไป
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อถึงวันนัดสืบในวันที่ 16 จำเลยและโจทก์ไม่มาศาล โดยพยานจำเลยที่ขอหมายเรียกไว้มีถึง 4 คน จะถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบด้วยไม่ได้ หรือสมมติว่าในวันที่ 16 นั้น จำเลยแถลงไม่สืบพยานโจทก์ไม่รู้ตัวจึงไม่ได้เช่นเดียวกัน และการที่โจทก์จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานครั้งต่อๆ ไปเช่นในกรณีนี้ จะถือว่าขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 ไม่ได้เพราะการขาดนัดพิจารณาตามมาตรา +++ ต้องเป็นการขาดนัดในวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน ไม่ใช่วันสืบพยานครั้งต่อๆ มา
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อถึงวันนัดสืบในวันที่ 16 จำเลยและโจทก์ไม่มาศาล โดยพยานจำเลยที่ขอหมายเรียกไว้มีถึง 4 คน จะถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบด้วยไม่ได้ หรือสมมติว่าในวันที่ 16 นั้น จำเลยแถลงไม่สืบพยานโจทก์ไม่รู้ตัวจึงไม่ได้เช่นเดียวกัน และการที่โจทก์จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานครั้งต่อๆ ไปเช่นในกรณีนี้ จะถือว่าขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 ไม่ได้เพราะการขาดนัดพิจารณาตามมาตรา +++ ต้องเป็นการขาดนัดในวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน ไม่ใช่วันสืบพยานครั้งต่อๆ มา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักแปรรูป: การตีความคำว่า 'แปรรูป' ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ กรณีไม้สำเร็จรูป
จำเลยมีไม้สักที่ทำเป็นโครงและบานหน้าต่างแล้ว มิใช่ไม้ที่เพียงแต่เปลี่ยนรูปหรือขนาดหรือเปลี่ยนสภาพตามความหมายของคำว่า "แปรรูป" ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) มาตรา 3 จำเลยจึงไม่มีผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในความครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักแปรรูป: การตีความ 'แปรรูป' ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ กรณีไม้ที่ทำเป็นโครงสร้างสำเร็จรูป
จำเลยมีไม้สักที่ทำเป็นโครงและบานหน้าต่างแล้วมิใช่ไม้ที่เพียงแต่เปลี่ยนรูปหรือขนาดหรือเปลี่ยนสภาพตามความหมายของคำว่า'แปรรูป' ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) มาตรา 3 จำเลยจึงไม่มีผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต