พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกา: ผลของการรับทราบคำสั่งศาล และการลงลายมือชื่อรับทราบ
ฎีกาของจำเลยที่ 2 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้และศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น เป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าวถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 22มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 อย่างไร ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วันแต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 อย่างไร ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วันแต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกา: ผลของการรับทราบวันนัดฟังคำสั่ง และการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3และให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 2มีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อ ทราบวันนัดไว้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์โดยสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตาม ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว ตั้งแต่ วันที่ 22 มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำส่งสำเนา ฎีกาในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 3มีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว แต่ผู้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งดังกล่าว มิใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3แต่เป็นผู้อื่น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์โดยเป็นการสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล การแสดงเจตนาและการแจ้งคำสั่ง
ฎีกาของจำเลยที่ 2 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อไว้ และศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำ ส่งสำเนาให้โจทก์ใน 7 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่ง ในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 เพิกเฉย ไม่ จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของ ศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อ ไว้ ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือ ทนายจำเลยอย่างไร ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้ จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วัน แต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจาก จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่ง ศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาให้คู่ความ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นฎีกา กำหนดให้ จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วัน ถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งใน วันนั้นแล้ว ต่อมาจำเลยเพียงแต่มาวางเงินค่านำส่งสำเนาฎีกา ในวันหลังซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลาไปหลายวันแล้ว โดยยังไม่ได้ นำเจ้าหน้าที่ศาลไปส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำสั่งศาลโดยเจตนาของจำเลย และผลของการไม่ปฏิบัติตามกำหนดเวลา
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2533 เสมียนทนายจำเลยลงชื่อในตรายางซึ่งประทับในฎีกามีความว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" เมื่อศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยและกำหนดเวลาให้จำเลยส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน 7 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง ในวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยยื่นฎีกา 1 วันถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับว่าจะมาฟังคำสั่งในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 ระยะเวลาสิ้นสุดที่จำเลยจะต้องนำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้นคือวันที่ 7 ธันวาคม 2533 แต่ปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่าจำเลยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาในกำหนดนั้น จึงเป็นการทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นฎีกานั้นว่าให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา ย่อมถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่ง ของศาลชั้นต้นแล้วตามข้อความท้ายฎีกาที่ว่า รอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว เมื่อจำเลยไม่ไปวางเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในการส่งสำเนาฎีกาอันเป็นการไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยภายใน 15 วัน โจทก์มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ดังนี้ เป็นการทิ้งฟ้องตามป.วิ.พ. มาตรา 174(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์คดีล้มละลาย: การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ชำระค่าธรรมเนียม
คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้เนื่องจากผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ผู้ร้องไม่ชำระภายในกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีล้มละลาย: การจำหน่ายชื่อออกจากบัญชีลูกหนี้ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ หากไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามกำหนด ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ เนื่องจากไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ เท่ากับให้ศาลวินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งยืนยันไป หากศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระหนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์สั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องเพิกเฉย จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว ได้สั่งให้ โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน แต่โจทก์มิได้มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ ให้แก่จำเลยภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อีกทั้งโจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งเท่านั้น มิได้นำส่งเอง กรณีถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง