พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มทุนทรัพย์เพื่อฎีกาโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีว่า ที่ดินพิพาทราคาไร่ละ 4,000 บาท ที่ดิน49 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา เป็นเงิน 198,000 บาท และโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นโดยถือทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่โจทก์ตั้งทุนทรัพย์ไว้ในชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีการะบุทุนทรัพย์ จำนวน 250,000 บาท เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ขึ้นเองโดยพลการ เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลัง ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองทราบดีว่าราคาทรัพย์พิพาทที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมีเพียงใด แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการให้ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ผู้มีอำนาจ หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้รับรองหรืออนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเสียให้ถูกต้องขณะยื่นฎีกา กรณีจึงเป็นไปในลักษณะโจทก์จงใจหรือละเลยไม่ดำเนินการพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายกำหนด ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะดำเนินกระบวนพิจารณานี้ใหม่อีก
โจทก์ฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ไปแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของโจทก์ไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตเป็นหนังสือให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงอีกและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ยอมรับฎีกาโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 252 โจทก์จึงใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาโจทก์ข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัย
โจทก์ฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ไปแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของโจทก์ไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตเป็นหนังสือให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงอีกและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ยอมรับฎีกาโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 252 โจทก์จึงใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาโจทก์ข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์พิพาทน้อยกว่าสองแสนบาท และการโต้เถียงดุลยพินิจศาล
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องอ้างว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่จำเลยบุกรุกแย่งการครอบครอง กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 20 เมตร หรือประมาณ 2.5ตารางวา โดยโจทก์ตีราคาที่ดินพิพาทตารางวาละ 91,000 บาท และเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์ 227,500 บาท ก็ตาม แต่ตามแผนที่วิวาทที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายพิพาทกันมีเนื้อที่เพียง 1.5 ตารางวา คิดเป็นเงิน 136,500 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง: ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการโต้เถียงดุลยพินิจของศาลอุทธรณ์
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องอ้างว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่จำเลยบุกรุกแย่งการครอบครอง กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 20 เมตร หรือประมาณ 2.5 ตารางวา โดยโจทก์ตีราคาที่ดินพิพาทตารางวาละ 91,000 บาท และเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์ 227,500 บาท ก็ตาม แต่ตามแผนที่พิพาทที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายพิพาทกันมีเนื้อที่เพียง 1.5 ตารางวา คิดเป็นเงิน 136,500 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย และการเพิ่มทุนทรัพย์โดยพลการ ทำให้ไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีว่า ที่ดินพิพาทราคาไร่ละ 4,000 บาท ที่ดิน 49 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา เป็นเงิน 198,000 บาท และโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาล ในศาลชั้นต้นโดยถือทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่โจทก์ ตั้งทุนทรัพย์ไว้ในชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีการะบุทุนทรัพย์จำนวน 250,000 บาท เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่มจำนวน ทุนทรัพย์ขึ้นเองโดยพลการ เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลัง ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองทราบดีว่าราคาทรัพย์พิพาทที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมีเพียงใด แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการให้ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจ หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ รับรอง หรืออนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเสียให้ถูกต้องขณะยื่นฎีกา กรณีจึงเป็นไปในลักษณะโจทก์จงใจหรือละเลยไม่ดำเนินการ พิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายกำหนด ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะดำเนินกระบวนพิจารณานี้ใหม่อีก โจทก์ฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ไปแล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้อง ของ โจทก์ไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตเป็นหนังสือ ให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงอีกและศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้น ไม่ยอมรับฎีกาโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 252 โจทก์จึงใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาโจทก์ข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และการรับรองการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง: ศาลฎีกาวินิจฉัยถึงเกณฑ์การคำนวณทุนทรัพย์และขอบเขตการรับรองการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องและตีราคาทรัพย์สินที่พิพาทรวมกันมา แต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสามตีราคาที่ดินพิพาทจำนวน 15 ไร่ เป็นเงิน 100,000 บาท ดังนั้น ราคาที่ดินพิพาทเนื้อที่ 5 ไร่ ที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคาไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง การรับรองอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันสมควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ต้องเป็นการรับรองโดยชัดแจ้ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์สำเนาให้จำเลยแก้ ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันเป็นคำสั่งที่ไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าเป็นการรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์คำนวณจากสิทธิที่โจทก์แต่ละคนอ้าง และการรับรองอุทธรณ์ต้องชัดเจน
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เนื้อที่ 32 ไร่ 3 งาน 58 ตารางวา เป็นทรัพย์มรดกของนายค. และนางล. ผู้ตายโจทก์ทั้งสามและจำเลยต่างเป็นบุตรของผู้ตายและร่วมกันครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตาย ขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสามคนละ 5 ไร่ คิดเป็นที่ดินรวมกัน 15 ไร่ ซึ่งโจทก์ทั้งสามตีราคามาในคำฟ้อง เป็นเงิน 100,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาท ตามฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย แต่เป็นทรัพย์ของจำเลย จำเลยขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทในนามของจำเลย มิได้กระทำการแทนโจทก์ทั้งสามหรือทายาทอื่นศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย และฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องและตีราคาทรัพย์สินที่พิพาทรวมกันมา แต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่ง ซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ ราคา ทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสามตีราคาที่ดินพิพาทจำนวน 15 ไร่ เป็นเงิน 100,000 บาท ดังนั้นราคาที่ดินพิพาทเนื้อที่ 5 ไร่ ที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคาไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง การรับรองอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ว่ามีเหตุอันสมควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ต้องเป็นการรับรองโดยชัดแจ้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ผู้อุทธรณ์มีข้อความว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ หากไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภูมิลำเนาแห่งอื่นแล้วให้ปิดหมายได้"คำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าเป็นการรับรอง ให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ด้วยเลย จึงไม่ต้องด้วย ข้อยกเว้นดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 อันจะทำให้ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้มาสู่ การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์อุทธรณ์คำนวณจากกรรมสิทธิ์แต่ละส่วน และการรับรองอุทธรณ์ต้องชัดเจนจึงขัดข้อยกเว้นมาตรา 224 วรรคหนึ่งได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เนื้อที่ 32 ไร่ 3 งาน 58 ตารางวา เป็นทรัพย์มรดกของนายค. และนางล.ผู้ตาย โจทก์ทั้งสามและจำเลยต่างเป็นบุตรของผู้ตาย ขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสามคนละ 5 ไร่ คิดเป็นที่ดินรวมกัน 15 ไร่ซึ่งโจทก์ทั้งสามตีราคามาในคำฟ้องเป็นเงิน 100,000 บาทจำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทตามฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย แต่เป็นทรัพย์ของจำเลย แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องและตีราคาทรัพย์สินที่พิพาทรวมกันมา แต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ เมื่อที่ดินพิพาทจำนวน15 ไร่ มีราคา 100,000 บาท ดังนั้น ราคาที่ดินพิพาทเนื้อที่5 ไร่ ที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคาไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การรับรองอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ว่ามีเหตุอันสมควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ต้องเป็นการรับรองโดยชัดแจ้ง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ผู้อุทธรณ์มีข้อความว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์หากไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภูมิลำเนาแห่งอื่นแล้วให้ปิดหมายได้"คำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าเป็นการรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224อันจะทำให้ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้มาสู่การพิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิการฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการแบ่งความรับผิดชอบจากความประมาทเลินเล่อ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน 499,375 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 287,808.90 บาทพร้อมดอกเบี้ย และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 213,191.78 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยที่ 2ให้ยกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแล้วเห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโจทก์และจำเลยที่ 3 ที่ 4ต่างขาดความระมัดระวังด้วยกัน พฤติการณ์มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันจึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 143,437.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยและให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 106,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 อนุมัติ ให้จ่ายเงินตามเช็คโดยประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว หากฟังว่า โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายส่วนที่โจทก์ ก่อก็มีเพียงเล็กน้อย จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น เป็นฎีกา ในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและภาระจำยอม: การอุทธรณ์คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างตึกผนังร่วมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามแนวหลักเขตโฉนดที่ดินร่วมตลอดแนว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผนังร่วมที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก่อนทำการปลูกสร้างจำเลยรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้ว หากอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก็ย่อมตกเป็นภาระจำยอม เพราะจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต เป็นคดีที่มีคำขอไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วย แต่เมื่อคำขอในส่วนที่ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ที่ดินพิพาทจะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ทุนทรัพย์, อัตราค่าทนายความ, และการคืนค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกเข้าไปครอบครอง ขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็น น.ส. 3 โจทก์ขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธ์ในที่ดินพิพาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท
แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยบุกรุกมีเนื้อที่ 1 งาน 47 ตารางวา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายขอให้ทำแผนที่พิพาท ในการทำแผนที่พิพาทเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รังวัดโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นผู้นำชี้ และรับกันว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา จึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน ในเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา ซึ่งคิดเป็นราคาในขณะที่ยื่นคำฟ้องเพียง 49,875 บาท คดีนี้จึงมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นเงินจำนวนดังกล่าว แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 55,125 บาท ก็ไม่ทำให้ทุนทรัพย์ในคดีเพิ่มขึ้นได้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการกำหนดโดยผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัย ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. สองร้อยบาท แต่จำเลยเสียเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาแก่จำเลย
แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยบุกรุกมีเนื้อที่ 1 งาน 47 ตารางวา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายขอให้ทำแผนที่พิพาท ในการทำแผนที่พิพาทเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รังวัดโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นผู้นำชี้ และรับกันว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา จึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน ในเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา ซึ่งคิดเป็นราคาในขณะที่ยื่นคำฟ้องเพียง 49,875 บาท คดีนี้จึงมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นเงินจำนวนดังกล่าว แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 55,125 บาท ก็ไม่ทำให้ทุนทรัพย์ในคดีเพิ่มขึ้นได้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการกำหนดโดยผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัย ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. สองร้อยบาท แต่จำเลยเสียเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาแก่จำเลย