คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บอกเลิกสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน, นิติกรรมอำพราง, การบอกเลิกสัญญา, และการผิดสัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ก่อสร้างโรงงานและที่พักอาศัย เมื่อกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 116 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ ไม่ได้กำหนดห้ามมิให้ก่อสร้างโรงงานเด็ดขาดทั้งจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อกระทรวงอุตสาหกรรมจนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวแล้วจึงถือไม่ได้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงไม่ตกเป็นโมฆะโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ นิติกรรมอำพรางตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพรางปกปิดไว้โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจึงมีอยู่เพียงคู่เดียว ดังนั้น สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 แม้จะทำในวันเดียวกัน แต่เมื่อคู่กรณีเป็นคนละคู่กันจึงไม่มีทางที่จะเป็นนิติกรรมอำพรางตามความหมายของกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5180/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีสิทธิบอกเลิกได้ไม่เข้าข้อยกเว้นค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสาม จะต้องเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญาเอาไว้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และจะต้องเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย
กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบการตีความเจตนาไม่ได้
สัญญาจ้างแรงงานฉบับพิพาท กำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 2 เดือน สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญา จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5180/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแต่สามารถบอกเลิกได้ก่อนกำหนด ไม่เข้าข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสาม จะต้องเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญาเอาไว้แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงและจะต้องเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจะดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบด้วยไม่ได้เมื่อสัญญาจ้างกำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญาจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4898/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การบอกเลิกสัญญาและอายุความของหนี้
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมีว่า ถ้าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็ค โดยปกติธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายให้ไป ผู้ฝากย่อมเป็นอันยอมรับผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้ธนาคารเสมือนหนึ่งได้ขอร้องเปิดเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคาร ในกรณีที่เงินในบัญชีเงินฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คหลายฉบับที่นำมาเรียกเก็บพร้อม ๆ กัน ธนาคารทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะจ่ายเงินตามเช็คฉบับใดก็ได้ และธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ย เงินเกินบัญชีเป็นรายวัน (ดอกเบี้ยทบต้น) และจะนำผลดอกเบี้ยนั้นหักบัญชีเป็นรายเดือน ข้อตกลงนี้จะใช้ในทุกกรณี เห็นได้ว่ามีการตกลงกันซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลย
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ขณะโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและ เบิกเงินเกินบัญชีอยู่เรื่อย ๆ โดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้ง และยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ดังนี้เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้วบัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัด โดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์อีกเลย จนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม กรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับ
การชำระหนี้ตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ เมื่อไม่ปรากฏว่าการเบิกเงินเกินบัญชีได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856, 859
ปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าในวันที่ 30 มีนาคม 2530 อันเป็นวันหักทอนบัญชี จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ 67,711.90 บาท โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย ฝ่ายจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และ ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยนับแต่วันหักทอนบัญชีกันแล้วเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม 2530 สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันแล้วและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2539 จึงยังไม่ถึง 10 ปี นับแต่วันหักทอนบัญชีกัน ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันบัญชีเดินสะพัดยังผูกพัน แม้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันแล้ว หากยังมิได้ชำระหนี้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดย สิ้นเชิงจะครบกำหนดวันที่ 2 เมษายน 2534 แม้จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันในวันดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่า มีการหักทอนบัญชีและชำระหนี้คงเหลือให้เสร็จสิ้นไป ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีผล ดังนั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังมีผลผูกพันกันอยู่และกลายเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 อยู่ตราบใด จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาและการรับผิดในหนี้เช่าซื้อเมื่อเช็คปฏิเสธการจ่าย
หนังสือสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อภายในกำหนดตามสัญญา และได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้นำเงินที่ค้างมาชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถามแล้ว ผู้เช่าซื้อยังเพิกเฉยไม่นำเงินที่ค้างชำระทั้งหมดมาชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อ ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อนี้เป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป ดังนั้น แม้เช็คที่จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อไว้ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกงวดอันถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา แต่โจทก์ก็มิได้มีหนังสือทวงถามให้นำเงินที่ค้างชำระมาชำระ ทั้งยังคงปล่อยให้จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซื้อต่อไป แสดงว่าโจทก์ยังคงให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญาเพราะสัญญาข้อ 7 ได้กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว หาได้มีผลเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อด้วยดังจำเลยอ้างไม่ เพราะหากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อประสงค์จะเลิกสัญญา ย่อมทำได้โดยง่ายด้วยการส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 573 กำหนดให้เป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อจำเลยยังคงครอบครองรถขุดที่เช่าซื้ออยู่ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ สำหรับเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนที่โจทก์จะยึดรถกลับคืนมา อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่ามีการเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน
เมื่อเช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายตามมูลหนี้ค่าเช่าซื้อ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญา, การปฏิเสธการจ่ายเช็ค, และหน้าที่ชำระหนี้ของผู้เช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อกำหนดไว้ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อภายในกำหนดตามสัญญา และได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้นำเงินที่ค้างมาชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถามแล้ว ผู้เช่าซื้อยังเพิกเฉย ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป ปรากฏว่าแม้เช็คที่จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทุกงวดอันถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา แต่โจทก์ก็มิได้มีหนังสือทวงถามให้นำเงินที่ค้างมาชำระ ยังคงปล่อยให้จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซื้อต่อไป แสดงว่าโจทก์ยังคงให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญา สัญญาข้อนี้จึงเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว หาได้มีผลเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อด้วยไม่ เพราะจำเลยผู้เช่าซื้อสามารถเลิกสัญญาได้ด้วยการส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนที่ดินแก่โจทก์ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 573 กำหนดให้เป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ ดังนั้น จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามเช็คพิพาทในมูลหนี้ค่าเช่าซื้อที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่ารายเดือนโดยชอบ และผลของการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
สัญญาเช่าไม่มีกำหนดระยะเวลาตกลงเช่ากันเป็นรายเดือน ชำระค่าเช่าทุกวันที่ 1 ของเดือน ผู้ให้เช่าบอกเลิกการเช่าในวันที่ 4 พ.ค. 2538 ย่อมถือว่าเป็นการบอกเลิกการเช่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดค่าเช่าในคราวถัดไป คือ วันที่ 1 มิ.ย. 2538 เมื่อผู้ให้เช่าได้บอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวเป็นเวลา 30 วัน จึงเป็นการบอกกล่าวซึ่งกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อยแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 566 การบอกเลิกสัญญาเช่าของผู้ให้เช่า แม้จะเป็นการบอกกล่าวด้วยวาจาก็ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อครบการบอกเลิกสัญญาเช่าในวันที่ 1 ก.ค. 2538 สัญญาเช่าจึงเป็นอันเลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่กระทบสิทธิสัญญาเช่าซื้อเดิม ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภ. โดยจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ ต่อมาห้าง ภ. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด และโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังห้าง ภ. แล้ว ต่อมากลับมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยขึ้น โดยเอาหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมเข้าเป็นเงินจำนวนเดียวให้จำเลยผ่อนชำระ แต่ในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กล่าวถึงรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ ทั้งปรากฏว่าหลังจากนั้นห้าง ภ. และจำเลยยังคงครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อต่อมาอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า หากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจนครบแล้ว โจทก์ย่อมโอนกรรมสิทธิ์และโอนทางทะเบียนรถยนต์นั้นให้แก่ห้าง ภ. ผู้เช่าซื้ออย่างแน่นอน เพราะมิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้ห้าง ภ. และจำเลยครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็ดี และยอมจะโอนกรรมสิทธ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้ห้าง ภ. เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้ครบถ้วนแล้วก็ดี ย่อมแสดงว่าคู่สัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้มีเจตนาให้สัญญาเช่าซื้อเลิกไปเสียทั้งหมด คงเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่จำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อและการผ่อนชำระเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ประกอบกับ มาตรา 852 อันจะทำให้สิทธิหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมระงับไป แต่คงมีลักษณะเป็นเพียงสัญญารับสภาพหนี้และผ่อนชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและหนี้อื่น ๆ ที่ค้างชำระเท่านั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงมีผลบังคับอยู่ ห้าง ภ. ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 และโจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อหลังจากนั้นหาได้ไม่ ส่วนสิทธิของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีอยู่เพียงใด เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องตั้งประเด็นตามสัญญาเช่าซื้อจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยได้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะไปฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าจ้างและภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้รับเหมา, การบอกเลิกสัญญา, และความรับผิด
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างแก่จำเลยก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่จำเลยไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ใด ด้วยเหตุนี้ แม้พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจะได้ความไม่แจ้งชัดก็ดีหรือบางรายการโจทก์เรียกร้องค่าเครื่องมือเครื่องใช้ หรือค่าก่อสร้างไม่ได้ อันเนื่องมาจากโจทก์ต้องเป็นผู้จัดหาเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้ทำงานให้สำเร็จในแต่ละอย่าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 588 หรือเพราะมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญา เป็นต้นว่าค่าปรับปรุงซ่อมแซมถนนก็ดี แต่เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเอกสารสรุปผลงานของพนักงานจำเลยก่อนวันโจทก์หยุดงานในวันที่ 23 ตุลาคม 2535 เป็นเวลา 18 วัน ซึ่งก็ปรากฏว่างานที่จ้างได้ดำเนินการไปถึงงวดที่ 6 โดยงานวางท่อในงวดที่ 3 และที่ 5 สำเร็จ 45 เปอร์เซนต์ และ 2 เปอร์เซ็นต์ งานบ่อพักในงวดที่ 6 สำเร็จ 35 เปอร์เซ็นต์ จึงสมควรกำหนดค่างานก่อสร้างตลอดจนค่าวัสดุส่วนที่โจทก์ได้ทำขึ้นแล้ว นอกเหนือจากงานในงวดที่ 1 และที่ 2 และที่ 4 ให้โจทก์อีก เท่าจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับไปจากจำเลยก่อนงวดการจ่ายเงินในงวดต่าง ๆ ดังกล่าวตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาได้ส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งประธานศาลฎีกา ได้ตรวจสำนวนแล้วเห็นเป็นกรณีสืบเนื่องจากข้อพิพาทว่าผู้ใดผิดสัญญาจ้าง ไม่มีคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 วินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ไม่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากร ดังนั้นศาลฎีกาจึงเห็นสมควรจะได้วินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาปัญหาข้อนี้ใหม่
ผู้ที่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังความในมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) อันเป็นคนละส่วนกันกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งกฎหมายบัญญัติ ไว้เฉพาะแต่ผู้ประกอบการเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) บัญญัติวางเงื่อนไขไว้เช่นนี้ โจทก์ก็ต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามนั้น จึงจะก่อให้เกิดอำนาจแก่โจทก์ในข้อที่จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวได้ ทั้งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ และด้วยเหตุดังกล่าวตามคำฟ้องของโจทก์ก็ดี หรือตามทางนำสืบของโจทก์ก็ดี ความไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ตามมาตรา 85/3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิและเงื่อนไขตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อเรียกให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว
จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาแก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์
of 103