คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ แม้โจทก์ได้รับเงินบังคับคดีบางส่วนแล้ว หนี้ยังไม่ครบ
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยต้องนำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ได้รับเงินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจำเลยจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาไว้ด้วยแล้วแต่ปรากฏว่า เมื่อโจทก์ได้รับเงินดังกล่าวแล้วหนี้โจทก์ยังคงเหลืออยู่ ดังนั้น จำเลยจะกล่าวอ้างว่าเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนได้รวมเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ แม้โจทก์ได้รับเงินบังคับคดีบางส่วนแล้ว
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยต้องนำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
โจทก์ได้รับเงินจำนวน 2,081,182.34 บาท จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วแต่ยังคงเหลือหนี้ที่ขาดอยู่อีก 1,342,867.90 บาท จำเลยจะอ้างว่าเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนได้รวมเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการเคาะไม้ขายทอดตลาดเมื่อราคาเสนอซื้อต่ำกว่าราคาเดิม
บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง หาได้มีความหมายว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินในครั้งถัด ๆ มา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อนเท่านั้นไม่ เพราะการขายทอดตลาดในครั้งต่อมา อาจเกิดข้อขัดข้อง เช่น เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมีผลกระทบทำให้ราคาที่ดินตกต่ำอย่างต่อเนื่อง หรือลูกหนี้อาจสมคบกับบุคคลอื่นสร้างราคาซื้อขายในครั้งก่อนไว้สูงกว่าราคาปกติมาก ๆ จึงยากจะมีผู้มาเสนอราคาที่ไม่น้อยกว่าครั้งก่อนได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าราคาที่เสนอครั้งหลังเป็นราคาที่สมควรหรือไม่ และไม่มีอำนาจเคาะไม้ขายหากเป็นราคาที่ต่ำกว่าครั้งก่อน การขายทอดตลาดก็จะเนิ่นช้าไปโดยไม่มีกำหนด ซึ่งตามเจตนารมณ์ตามกฎหมายไม่น่าจะประสงค์ให้เกิดผลเช่นนั้น ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทรัพย์จำนองให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ในราคาที่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอซื้อไว้ในครั้งก่อน จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายขึ้นวินิจฉัยเองแล้วพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้ออื่นตามอุทธรณ์ของโจทก์ และเมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาว่าขายไปในราคาต่ำเกินสมควร การวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสุดท้าย สมควรส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการตีความมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง: เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจพิจารณาความสมเหตุสมผลของราคาขายทอดตลาด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในครั้งถัด ๆ มานั้น หากมีผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาสูงสุดไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดในครั้งก่อนที่มีผู้เสนอซื้อไว้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในครั้งหลังนี้ไปได้เลย โดยไม่จำต้องฟังว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจะคัดค้านว่าราคาต่ำไปหรือไม่อีก ทั้งนี้เพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยไม่ชักช้า หาได้มีความหมายว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในครั้งถัด ๆ มา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อนไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทรัพย์จำนองรายนี้ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ในราคาที่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอซื้อไว้ในครั้งก่อน จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมไม่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ร่วมอื่น แม้เป็นผู้ค้ำประกัน
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนสิ้นเชิงก็ตาม แต่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะขายทอดตลาดนั้น เป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มิได้มีชื่อตามทะเบียนในทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้แจ้งการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 2 ทราบ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการจ่ายเงินคืนให้ลูกหนี้/ผู้จัดการมรดก แม้ลูกหนี้สาบสูญ เงินยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากผู้มีสิทธิเรียกร้องทันเวลา
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 และการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตามมาตรา 318 ซึ่งหากมีเงินสุทธิเหลืออยู่ต้องจ่ายในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยตามมาตรา 322 วรรคสอง และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการจ่ายเงินที่เหลือแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และแจ้งให้ลูกหนี้มารับเงินคืนด้วย หากยังปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น เงินส่วนที่เหลือนั้นก็ยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลส่งหมายแจ้งให้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษามารับเงินโดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤษภาคม 2536 แต่ขณะนั้นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่แล้ว โดยไม่มีใครรู้เห็นว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จนต่อมาศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคนสาบสูญและมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และปรากฏว่าผู้ร้องทราบว่ามีเงินส่วนที่เหลือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิได้รับคืน เมื่อเดือนตุลาคม 2542 ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอรับเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี ย่อมมีสิทธิขอรับเงินนี้ได้ เงินจำนวนนี้ยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาศาลชั้นต้นในชั้นบังคับคดี: หนี้ตามคำพิพากษาเป็นที่ยุติแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามเช็ครวม 3 ฉบับ พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 911,959.38 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 860,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 911,959.38 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 860,000 บาท นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 800 บาท โจทก์จำเลยมิได้อุทธรณ์และจำเลยมิได้ขอให้พิจารณาใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่า จนถึงวันฟ้องจำเลยเป็นหนี้โจทก์รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 911,959.38 บาท ที่จำเลยยื่นคำร้องว่าก่อนฟ้องจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้แก่โจทก์ไปแล้วเป็นเงิน 200,000 บาท และเป็นเช็คอีก 1 ฉบับ เป็นเงิน 200,000 บาท คงค้างชำระหนี้โจทก์เพียง 487,400 บาท เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยไม่อาจกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดีได้ เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวมีผลผูกพันจำเลย ต้องถือว่าหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นหนี้ที่ถูกต้องแท้จริง แม้ภายหลังจากที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์จำเลยแล้ว โจทก์ได้รับชำระหนี้จากภริยาจำเลยไปบ้างแล้วเป็นเงิน 440,000 บาท แต่ก็ยังเป็นจำนวนไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า: การยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความในคดีบังคับคดีและการวินิจฉัยของศาล
โจทก์ขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องในการชำระราคาสินค้าของจำเลยซึ่งมีต่อผู้คัดค้านโดยอ้างเพียงประการเดียวว่าเงินที่ขออายัดเป็นเงินที่ผู้คัดค้านค้างชำระราคาสินค้าซึ่งผู้คัดค้านซื้อจากจำเลย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า โจทก์กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านมีภาระต้องชดใช้ราคาสินค้าดังกล่าวแก่จำเลยแต่จำเลยก็มิได้ฟ้องร้องให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยภายในเวลา 2 ปี นับแต่จำเลยส่งมอบสินค้า สิทธิเรียกร้องของจำเลยจึงขาดอายุความแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวจากผู้คัดค้าน คำคัดค้านของผู้คัดค้านเป็นการตั้งประเด็นเสมือนเป็นคำให้การต่อสู้คดีและเป็นคำให้การที่ชัดแจ้ง และแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความว่าเป็นเรื่องใดและขาดอายุความเพราะเหตุใด ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาคดีแพ่งถึงที่สุดย่อมไม่เปลี่ยนแปลงตามคำพิพากษาคดีอาญาที่ฟ้องเรื่องเบิกความเท็จ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษผู้รับมอบอำนาจโจทก์ฐานเบิกความเท็จ ศาลก็ลงโทษผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทางอาญาเท่านั้น คำพิพากษาคดีอาญาหามีผลทำให้คำพิพากษาคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดไปแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้ไม่ ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 ฟ้องผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นคดีอาญาฐานเบิกความเท็จ จึงหาเป็นเหตุเพียงพอให้งดการบังคับคดีแพ่งไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทรับมรดกความในการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีสืบเนื่องมาจากศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิใช้ถนนในส่วนที่เป็นที่ดินของจำเลย และโจทก์ทั้งสองยินยอมชำระค่าใช้ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย คดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธิการบังคับคดีของจำเลยผู้ตายตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว จึงตกทอดไปยังทายาทของผู้ตาย ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยและเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยด้วย ย่อมมีสิทธิขอเข้ารับมรดกความแทนจำเลยและดำเนินการบังคับแก่โจทก์ทั้งสองได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม กรณีนี้หาใช่เป็นการเข้าแทนที่คู่ความที่มรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ไม่
of 270