พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกล่าวหาเท็จใส่ความเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ ถือเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ผู้เสียหายจับกุมผู้ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าควบคุมออกนอกเขตควบคุมโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยมาดูของกลางแล้วพูดว่าของเหล่านี้ตำรวจคุมมาเองแล้วยังจับกุมผู้เสียหายถามว่าตำรวจที่คุมเป็นใคร จำเลยชี้หน้าผู้เสียหายและพูดว่ามึงนั่นแหละเป็นคนนั่งคุมที่หน้ารถไปแล้วมาจับกุม ดังนี้เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่าผู้เสียหายขับขี่รถจักรยานยนต์ตามหลังรถยนต์ที่บรรทุกของไป หาได้นั่งคุมที่หน้ารถยนต์ไม่ และผู้เสียหายก็ได้จับกุมผู้กระทำผิดตามหน้าที่ข้อความที่จำเลยกล่าวจึงไม่เป็นความจริง ถือได้ว่าจำเลยกล่าวโดยเจตนาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ไม่ต้องพิจารณาว่าจำเลยกล่าวข้อความดังกล่าวโดยสุจริตหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลออกหมายจับ vs. การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ: คดีฟ้องผู้พิพากษา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 169 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจได้ตามควรว่า กรณีใดควรจะออกหมายเรียกกรณีใดควรจะออกหมายจับ
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คและเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ซึ่งศาลได้ออกหมายจับไว้แล้ว การที่ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจออกหมายจับโจทก์ตามคำแถลงของโจทก์ในคดีนั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบตามอำนาจที่จะกระทำได้ ไม่มีทางที่จะฟังได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่อย่างใด กรณีไม่มีความจำเป็นจะต้องสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้เพื่อทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ที่ว่าจะควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และรู้ตัวว่าเป็นใครและที่อยู่ของเขาว่าอยู่ที่ไหนนั้น เป็นบทบัญญัติในเรื่องการควบคุมตัวผู้ต้องหา ไม่ใช่บทบัญญัติที่ห้ามศาลมิให้ออกหมายจับเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 169
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คและเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ซึ่งศาลได้ออกหมายจับไว้แล้ว การที่ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจออกหมายจับโจทก์ตามคำแถลงของโจทก์ในคดีนั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบตามอำนาจที่จะกระทำได้ ไม่มีทางที่จะฟังได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่อย่างใด กรณีไม่มีความจำเป็นจะต้องสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้เพื่อทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ที่ว่าจะควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และรู้ตัวว่าเป็นใครและที่อยู่ของเขาว่าอยู่ที่ไหนนั้น เป็นบทบัญญัติในเรื่องการควบคุมตัวผู้ต้องหา ไม่ใช่บทบัญญัติที่ห้ามศาลมิให้ออกหมายจับเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 169
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรองผู้อำนวยการรักษาการแทน: การแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีเมื่อผู้อำนวยการไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่
ตามบทบัญญัติในมาตรา 21 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ. 2499 นั้น เมื่อผู้อำนวยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งรองผู้อำนวยการก็เป็นผู้รักษาการแทนทันทีโดยไม่ต้องแต่งตั้งมิใช่หมายถึงกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้จริงๆ หรือในกรณีที่มีเหตุอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติอย่างแท้จริงดังนั้นเมื่อผู้อำนวยการไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานเนื่องจากไปพบรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองผู้อำนวยการจึงมีอำนาจลงชื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการ, ทำเอกสารเท็จ, และเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
จำเลยเป็นปลัดเทศบาลและเป็นเลขานุการสภาเทศบาล จำเลยไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ประธานสภาเทศบาลจึงแต่งตั้งให้ ส.รองปลัดเทศบาลทำหน้าที่เลขานุการสภาเทศบาลแทนจำเลยจำเลยได้ใช้ให้แก้ไขรายงานการประชุมที่ ส. ทำขึ้น โดยจำเลยไม่มีอำนาจแก้ไขได้โดยพลการ เพื่อจะให้ผู้เกี่ยวข้องหลงเชื่อว่าสภาเทศบาลมีมติตามที่จำเลยได้แก้ไข โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265ประกอบด้วยมาตรา 84 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสารดังกล่าว จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 161 อีกบทหนึ่งเมื่อจำเลยนำเอกสารปลอมนั้นไปอ้างในการขออนุมัติต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 อีกกระทงหนึ่ง
จำเลยในฐานะเลขานุการสภาเทศบาลเป็นผู้มีหน้าที่ทำรายงานการประชุมของสภาเทศบาล จำเลยทำรายงานการประชุมขึ้นตามอำนาจหน้าที่ของตนและลงลายมือชื่อตัวเองเป็นผู้ทำ มิได้ทำในนามของบุคคลอื่น เอกสารนั้นจึงเป็นเอกสารที่แท้จริงที่จำเลยทำขึ้นแม้ข้อความในเอกสารจะไม่เป็นความจริง ก็ไม่ทำให้เป็นเอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 แต่เป็นการทำเอกสารอันเป็นความเท็จตามมาตรา 162 เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษตามมาตรา 162 จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คำว่า 'เพื่อ' ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ถือว่าเป็นเจตนาพิเศษ การที่จำเลยแก้ไขมติของสภาเทศบาลในรายงานการประชุมโดยไม่มีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาล หากเป็นการกระทำไปเพราะความเข้าใจผิดพลาดเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยจำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 157
จำเลยในฐานะเลขานุการสภาเทศบาลเป็นผู้มีหน้าที่ทำรายงานการประชุมของสภาเทศบาล จำเลยทำรายงานการประชุมขึ้นตามอำนาจหน้าที่ของตนและลงลายมือชื่อตัวเองเป็นผู้ทำ มิได้ทำในนามของบุคคลอื่น เอกสารนั้นจึงเป็นเอกสารที่แท้จริงที่จำเลยทำขึ้นแม้ข้อความในเอกสารจะไม่เป็นความจริง ก็ไม่ทำให้เป็นเอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 แต่เป็นการทำเอกสารอันเป็นความเท็จตามมาตรา 162 เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษตามมาตรา 162 จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คำว่า 'เพื่อ' ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ถือว่าเป็นเจตนาพิเศษ การที่จำเลยแก้ไขมติของสภาเทศบาลในรายงานการประชุมโดยไม่มีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาล หากเป็นการกระทำไปเพราะความเข้าใจผิดพลาดเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยจำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (มาตรา 157) ต้องมีเจตนาพิเศษคือเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
การที่จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องประกอบด้วยเจตนาพิเศษ คือต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จำเลยเป็นเพียงพลตำรวจ เมื่อปรากฏว่ามีการเล่นการพนันกันที่สถานีตำรวจที่จำเลยประจำอยู่ ย่อมเป็นการยากแก่จำเลยในการตัดสินใจว่าจะสมควรเข้าทำการจับกุมโดยตนเองหรือไม่ ยิ่งกว่าจะมีเจตนาให้เกิดความเสียหายต่อกรมตำรวจ เมื่อไม่ได้ความว่าที่จำเลยไม่จับเพราะคิดร้ายต่อใคร จึงไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษให้กรมตำรวจได้รับความเสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อการกระทำละเมิดของข้าราชการในการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์บรรยายฟ้องในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร มีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ทำงานตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ตามคำสั่งของสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรฯซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 คำบรรยายฟ้องในตอนแรกนี้จึงเป็นการบรรยายฟ้องให้เห็นฐานะความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 ว่ามีความสัมพันธ์กันตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์จะบรรยายฟ้องเกินเลยไปว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้าง จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้คำบรรยายฟ้องของโจทก์ตอนแรกเสียไปไม่ ทั้งโจทก์ได้บรรยายมาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบตามคำสั่งของสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรฯ อันเป็นการออกไปปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนที่ทางราชการจำเลยที่ 1 จ่ายให้ใช้ในราชการยิงบุตรโจทก์ถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชารับผิดฐานละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 หาใช่ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะนายจ้างแต่ประการเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานสนับสนุนการกระทำผิด: การรับฟังพยานหลักฐานและข้อสังเกตการปฏิบัติหน้าที่
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสนับสนุนให้เกิดการกระทำผิด แต่โจทก์มิได้ฟ้องเป็นจำเลย กฎหมายมิได้ห้ามโจทก์อ้างผู้นั้นเป็นพยาน เมื่อเป็นผู้ได้เห็นหรือทราบเรื่องการกระทำผิด คำเบิกความก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง แต่ต้องพิเคราะห์ด้วยความระมัดระวังว่าพยานจะเบิกความเพียงเพื่อซัดทอดจำเลยเพื่อให้ตนรอดพ้นจากการถูกฟ้องร้องลงโทษหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พฤติการณ์ขับรถพุ่งเข้าใส่เจ้าพนักงานตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ ถือเป็นการพยายามฆ่า แม้จะหลบได้ทัน
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกดินลูกรังสูงเกินกำหนด พอถึงจุดตรวจซึ่งมีแผงเหล็กเครื่องหมาย "หยุด" ตั้งอยู่กลางถนน เจ้าพนักงานตำรวจได้เป่านกหวีดและให้สัญญาณให้จำเลยหยุด จำเลยกลัวถูกจับจึงไม่หยุดรถ แต่กลับเร่งเครื่องยนต์หลีกเครื่องหมายจราจรพุ่งเข้าใส่เจ้าพนักงานตำรวจที่ยืนอยู่ทางซ้าย 2-3 คน แต่เจ้าพนักงานตำรวจกระโดดหลบเสียทัน ดังนี้ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่ารถยนต์ที่จำเลยขับพุ่งเข้าใส่เช่นนั้นจะต้องชนเจ้าพนักงานตำรวจที่ยืนอยู่ในถนนถึงแก่ความตายได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289, 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปลอมเอกสารและเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ต้องเสียหายโดยตรงจากเอกสารหรือการปฏิบัติหน้าที่นั้น
ความเสียหายที่เกิดขึ้นสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะข้อความแห่งเอกสารนั้นเมื่อข้อความในเอกสารที่โจทก์อ้างว่าจำเลยปลอมไม่มีข้อความเกี่ยวถึงตัวโจทก์ การที่โจทก์ต้องเสียที่ดินไปเป็นเรื่องของการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยผู้นำชี้นำชี้ทับที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการปลอมใบมอบอำนาจ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องไม่มีข้อที่แสดงว่าจำเลยกระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นหรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นแล้วคำฟ้องดังกล่าวจึงขาดองค์ประกอบความผิดในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องไม่มีข้อที่แสดงว่าจำเลยกระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นหรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นแล้วคำฟ้องดังกล่าวจึงขาดองค์ประกอบความผิดในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยทุจริต ยึดของกลางแต่ไม่ส่งดำเนินคดี
จำเลยรับราชการเป็นตำรวจซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับแต่งตั้งตามกฎหมาย ย่อมเป็นเจ้าพนักงาน แม้จำเลยจะรับราชการประจำกองกำกับการตำรวจม้า มีหน้าที่ในการถวายอารักขาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรอบเขตพระราชฐานก็เป็นเพียงหน้าที่เฉพาะตามคำสั่งแต่งตั้งของทางราชการแต่โดยทั่วไปจำเลยยังมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 การที่จำเลยจับกุมโจทก์ร่วมหาว่ามีพลอยหนีภาษีและยึดพลอยของกลางไว้จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานตามกฎหมายเมื่อจำเลยจับกุมโจทก์ร่วมและยึดพลอยของกลางไว้ แล้วกลับปล่อยโจทก์ร่วมไปไม่นำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย ย่อมเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157