พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านที่ดินของผู้อยู่ในที่ล้อมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 แม้มีการตกลงยกเลิกสิทธิทางวาจาก็ไม่ผูกพัน
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่แบ่งซื้อมาจากจำเลยทั้งสองไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ถ้าโจทก์จะออกสู่ทางสาธารณะจะต้องอาศัยทางในที่ดินของบุคคลอื่นและไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิใช้ทางดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินของโจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ล้อมจึงมีสิทธิผ่านที่ดินแปลงเดิมของจำเลยทั้งสองที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 และเมื่อเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองมีสิทธิผ่านที่ดินแปลงเดิมของจำเลยทั้งสองที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 การที่โจทก์ทั้งสองตกลงด้วยวาจากับจำเลยทั้งสองยกเลิกสัญญาที่จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์ทั้งสองใช้ทางผ่าน เป็นการตกลงยกเลิกข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1338 วรรคสอง จึงไม่มีผลผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง สิทธิของโจทก์ทั้งสองที่จะใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายคือมีสิทธิเดินผ่านในที่ดินของจำเลยทั้งสองได้ตลอดเวลา เมื่อใดจำเลยทั้งสองปิดทางเดินจนโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสองย่อมจะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองเปิดทางได้ ไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนการให้เนื่องจากผู้รับประพฤติเนรคุณ ต้องเข้าเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 531 เท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสัญญาไม่เคยให้ความช่วยเหลือ โจทก์ต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อนบ้านเพื่อประทังชีพ ถือว่าจำเลยประพฤติชั่วและเนรคุณโจทก์ ขอให้จำเลยโอนที่ดินที่โจทก์ยกให้โดยเสน่หาแก่จำเลยคืนโจทก์ จำเลยไม่ยินยอมกลับพูดจาเสียดสีด่าว่าโจทก์ แต่การเรียกถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณมีเพียงกรณีที่ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา หรือผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเลยเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้ ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ไม่เข้าเหตุที่จะเรียกถอนคืนการให้ตามที่บัญญัติไว้ดังกล่าวไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินที่โจทก์ยกให้คืนแก่โจทก์ได้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องกู้ยืมเงินไม่เคลือบคลุม และไม่ขาดอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์ประกอบกิจการค้าข้าวและจำเลยประกอบกิจการโรงสีข้าวมีธุรกิจการค้าต่อกัน จำเลยได้ยืมเงินโจทก์จำนวน 362,729.50 บาท ตามหลักฐานการกู้ยืมท้ายฟ้อง โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่า เหตุใดโจทก์จึงยอมให้จำเลยกู้เงินจำนวนดังกล่าวโดยมิได้กำหนดเวลาชำระเงินคืน และเหตุใดจึงมิได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดนำสืบภายหลังได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดวันชำระเงินไว้ สิทธิเรียกร้องที่จะให้ชำระเงินคืนเริ่มนับแต่วันกู้เป็นต้นไป และมีอายุความ 10 ปีจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์วันที่ 31 กรกฎาคม 2518 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2528 จึงเป็นการฟ้องคดีภายใน 10 ปีไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: นับจากวันเกิดวินาศภัย ตาม พ.ร.บ.แพ่งฯ มาตรา 882 ไม่ใช่อายุความละเมิด
จำเลยร่วมที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่ 1ที่ให้จำเลยร่วมที่ 1 เช่าซื้อไป และลูกจ้างได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปชนรถยนต์ของโจทก์ การฟ้องให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรกจึงนำอายุความในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้ไม่ได้เมื่อเกิดเหตุรถยนต์ชนกันวันที่ 28 ตุลาคม 2524 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้ว จำเลยร่วมที่ 1ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2526 ถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องให้จำเลยร่วมที่ 2 ใช้ค่าทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) และอยู่ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัย คดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยร่วมที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ผ่านตัวแทนและการครบถ้วนของการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เขียนข้อความในนามบัตรถึงจำเลยที่ 1 ว่า "เรื่องเงินที่คุณกู้ไปนั้นขอให้ฝาก ป. ไปให้ผม ตกลงอย่างไรเขียนหนังสือฝาก บ. ไปด้วย ถ้าจะชำระให้ทั้งหมดก็แจ้งให้ผมไปรับเองถ้าจะผ่อนชำระผมให้ บ. มารับจากคุณและเขียนหนังสือบอกผมด้วย" นามบัตรดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแต่งตั้งให้ บ.เป็นตัวแทนโจทก์ในการรับชำระหนี้เงินกู้รายนี้ ส่วนข้อความที่ว่าตกลงอย่างไรเขียนหนังสือฝาก บ. ไปด้วยก็ดี และเขียนหนังสือบอกผมด้วยก็ดี เป็นเพียงคำขอร้อง ของ โจทก์มีถึงจำเลยที่ 1มิใช่เงื่อนไขในการมอบอำนาจให้ บ. รับชำระหนี้แทน การที่จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้โจทก์ให้ บ. รับไป โดยมิได้เขียนหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบ จึงเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ให้โจทก์โดยชอบ บ. ตัวแทนโจทก์ทำหนังสือว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1ครบถ้วนแล้ว และลงชื่อ บ. ไว้เป็นหลักฐาน ถือเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวแทนของโจทก์ผู้ให้กู้ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วน ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง แล้ว หาจำต้องรับเวนคืนสัญญากู้ยืมจากโจทก์อีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย: ประกาศกระทรวงมหาดไทยเฉพาะเจาะจงมีผลเหนือกว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31วรรคแรก กำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำ ป.พ.พ.มาตรา 224 มาใช้บังคับหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แพที่ใช้ในการดูดและดำแร่ ไม่ต้องจดทะเบียนซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
คำว่า "แพ" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรกหมายถึงแพที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนเท่านั้น ไม่ได้หมายความถึงแพที่ใช้ในการดูดและดำแร่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการชำระหนี้จากการถอนเงินจากบัญชีโดยตัวแทนผู้ให้กู้ยืม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ผู้ให้กู้นำสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยกับใบมอบฉันทะถอนเงินที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้แก่โจทก์มากรอกข้อความแล้วมอบให้ว. ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ถือว่า ว. เป็นตัวแทนโจทก์รับชำระหนี้จากจำเลย เมื่อจำเลยนำหลักฐานที่ ว. ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับตามสำเนาใบมอบฉันทะถอนเงินมาแสดง จึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดย มีหลักฐานเป็นหนังสือของตัวแทนผู้ให้กู้ยืมเงินมาแสดง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง ศาลรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินตามสัดส่วน โดยศาลมีอำนาจแบ่งตามกฎหมาย แม้โจทก์ขอหลายวิธี
ตามฟ้องโจทก์ โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินที่โจทก์และจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามส่วนของแต่ละคนที่มีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นประการสำคัญ ส่วนการจะแบ่งโดยวิธีใดและได้ส่วนแบ่งเป็นที่ดินหรือเงินนั้นโจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องหลายประการซึ่งศาลย่อมมีอำนาจที่จะแบ่งให้ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา1364 ไม่เป็นการพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: การจัดบริการเป็น 'การค้า' ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) ทำให้อายุความ 2 ปี
โจทก์จัดให้มีบริการพูดวิทยุโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศและเรียกเก็บเงินค่าบริการ โจทก์จึงเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องค่าบริการ จึงมีอายุความ 2 ปี.