พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบรับเงินตามประมวลรัษฎากร: การซื้อขายในประเทศและเลตเตอร์ออฟเครดิต
การรถไฟแห่งประเทศไทยซื้อสินค้าจากโจทก์ผู้ขายซึ่งอยู่ในประเทศไทยการทำสัญญาซื้อขายตลอดจนการชำระราคาก็ทำในประเทศไทย ตามวิธีการที่ให้การรถไฟชำระเงินโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อธนาคารในประเทศไทยตามข้อตกลงที่ได้กำหนดกันไว้ในสัญญาซื้อขายโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องออกใบรับเงินตามความในมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร หลักฐานการรับเงินเลตเตอร์ออฟเครดิตตามวิธีการและประเพณีของธนาคารที่บริษัทในต่างประเทศตัวแทนโจทก์ทำให้ไว้แก่ธนาคารในต่างประเทศผู้จ่ายเงินไม่ถือว่าเป็นใบรับตามความในมาตรา 105 นั้น
และไม่ได้รับความยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
และไม่ได้รับความยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าสำเร็จรูป: การพิจารณาตามสภาพการใช้งานจริง ไม่ใช่แค่ความสามารถในการใช้งานได้ทันที
สินค้าสำเร็จรูป คือ สินค้าซึ่งตามสภาพอาจอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น แต่สิ่งใดจะเป็นสินค้าสำเร็จรูปต้องคำนึงถึงการใช้ตามสภาพด้วย มิใช่สักแต่ว่าอาจใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยน ดัดแปลง หรือผสม แล้วก็เป็นสินค้าสำเร็จรูปไปทันที เพราะประมวลรัษฎากรมาตรา 77 มิได้บัญญัติว่า สิ่งใดที่อาจใช้ได้ทันทีเช่นนั้นแล้วก็เป็นสินค้าสำเร็จรูป แต่บัญญัติว่าต้องเป็นสิ่งที่ใช้ได้เช่นนั้นตามสภาพ
แป้งสาลีตามสภาพที่ใช้เป็นปกติ ใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าอื่นต่อไป มิใช่สิ่งที่ตามปกติย่อมนำไปใช้ได้โดยไม่เปลี่ยน ดัดแปลง หรือผสมสิ่งอื่น จึงมิใช่สินค้าสำเร็จรูป
แป้งสาลีตามสภาพที่ใช้เป็นปกติ ใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าอื่นต่อไป มิใช่สิ่งที่ตามปกติย่อมนำไปใช้ได้โดยไม่เปลี่ยน ดัดแปลง หรือผสมสิ่งอื่น จึงมิใช่สินค้าสำเร็จรูป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีซ้ำเกินกำหนดเวลา และการยึดทรัพย์ตามอำนาจประมวลรัษฎากร
คดีก่อน โจทก์บรรยายฟ้องว่า การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของอธิบดีกรมสรรพากรที่เรียกเก็บภาษีจากโจทก์อย่างโจทก์ทำการค้าเองโดยตรงไม่ถูกต้อง เพราะการค้าของโจทก์ในปี 2499 - 2500 เป็นอย่างตัวแทนของบริษัท ฮ. ขอให้แสดงว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานเป็นคำสั่งที่มิชอบ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเป็นผู้ขาย ในคดีหลัง โจทก์บรรยายฟ้องเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์ทำการค้าอย่างเป็นตัวแทน และขอให้แสดงว่าการค้าโจทก์รายเดียวกันนี้เป็นเพียงนายหน้าตัวแทน ฟ้องของโจทก์ทั้ง 2 คดีจึงมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า การฟ้องของโจทก์สำหรับปี 2499 - 2500 เป็นการค้ามิใช่โดยตรง หากเป็นเพียงตัวแทน การที่ฟ้องโจทก์ในคดีก่อนถูกยกฟ้องไป ก็เพราะโจทก์หมดสิทธิฟ้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าโจทก์หมดสิทธิฟ้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างเดียวหรือไม่ ซึ่งในคดีหลังจำเลยก็ให้การเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ฟ้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์คดีหลังจึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นกระบวนชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(1) แต่เป็นการยึดทรัพย์ตามอำนาจที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้
อำนาจในการที่จะสั่งยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ หาใช่เป็นเรื่องตัวแทนตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่
เมื่อข้อเท็จจริงตามโจทก์ฟ้องประกอบคำให้การจำเลยและสำนวนคดีก่อนเป็นอันวินิจฉัยได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการสืบพยานตามที่โจทก์แถลงไว้ต่อศาลในวันนัดชี้สองสถานต่อไปอีก
การยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นกระบวนชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(1) แต่เป็นการยึดทรัพย์ตามอำนาจที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้
อำนาจในการที่จะสั่งยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ หาใช่เป็นเรื่องตัวแทนตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่
เมื่อข้อเท็จจริงตามโจทก์ฟ้องประกอบคำให้การจำเลยและสำนวนคดีก่อนเป็นอันวินิจฉัยได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการสืบพยานตามที่โจทก์แถลงไว้ต่อศาลในวันนัดชี้สองสถานต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดสิทธิฟ้องคดีภาษีซ้ำ – ยึดทรัพย์ตามอำนาจประมวลรัษฎากร – ประเด็นซ้ำคดีก่อน
คดีก่อนโจทก์บรรยายฟ้องว่า การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของอธิบดีกรมสรรพากรที่เรียกเก็บภาษีจากโจทก์อย่างโจทก์ทำการค้าเองโดยตรงไม่ถูกต้อง เพราะการค้าของโจทก์ในปี 2499-2500 เป็นอย่างตัวแทนของบริษัท ฮ. ขอให้แสดงว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานเป็นคำสั่งที่มิชอบ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเป็นผู้ขาย ในคดีหลัง โจทก์บรรยายฟ้องเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์ทำการค้าอย่างเป็นตัวแทนและขอให้แสดงว่าการค้าของโจทก์รายเดียวกันนี้เป็นเพียงนายหน้าตัวแทน ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีจึงมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า การฟ้องของโจทก์สำหรับปี 2499-2500 เป็นการค้ามิใช่โดยตรง หากเป็นเพียงตัวแทน การที่ฟ้องโจทก์ในคดีก่อนถูกยกฟ้องไป ก็เพราะโจทก์หมดสิทธิฟ้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าโจทก์หมดสิทธิฟ้อง ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างเดียวหรือไม่ ซึ่งในคดีหลังจำเลยก็ให้การเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ฟ้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ฟ้องโจทก์คดีหลังจึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นกระบวนชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148(1) แต่เป็นการยึดทรัพย์ตามอำนาจที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้
อำนาจในการที่จะสั่งยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะหาใช่เป็นเรื่องตัวแทนตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่
เมื่อข้อเท็จจริงตามโจทก์ฟ้องประกอบคำให้การจำเลยและสำนวนคดีก่อนเป็นอันวินิจฉัยได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการสืบพยานตามที่โจทก์แถลงไว้ต่อศาลในวันนัดชี้สองสถานต่อไปอีก
การยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นกระบวนชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148(1) แต่เป็นการยึดทรัพย์ตามอำนาจที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้
อำนาจในการที่จะสั่งยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะหาใช่เป็นเรื่องตัวแทนตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่
เมื่อข้อเท็จจริงตามโจทก์ฟ้องประกอบคำให้การจำเลยและสำนวนคดีก่อนเป็นอันวินิจฉัยได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการสืบพยานตามที่โจทก์แถลงไว้ต่อศาลในวันนัดชี้สองสถานต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างไม่มีสิทธิฟ้องเรียกภาษีเงินได้จากลูกจ้าง หากมิได้หักภาษีไว้แต่แรก ตามประมวลรัษฎากร
ตามประมวลรัษฎากร แม้จะบัญญัติให้นายจ้างหักเงินภาษีของลูกจ้าง และให้นายจ้างต้องรับผิดในเงินภาษีที่มิได้หักไว้จริง แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องภาษีจากลูกจ้างในกรณีที่มิได้หักเงินภาษีไว้ และบัญญัติให้ลูกจ้างหลุดพ้นความรับผิดในการชำระภาษีเงินได้ เฉพาะแต่กรณีที่นายจ้างหักเงินภาษีไว้แล้วมิได้ให้สิทธินายจ้างฟ้องเรียกเงินภาษีที่มิได้หักไว้ นายจ้างจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินภาษีที่ยังมิได้หักจากลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบอาชีพผดุงครรภ์เป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร แม้ไม่มีการระบุประเภทสถานพยาบาลโดยเฉพาะ
การที่โจทก์ตั้งสถานพยาบาลและผดุงครรภ์โดยโจทก์ในฐานะนางผดุงครรภ์ จัดการให้ทารกคลอดจากครรภ์มารดา โดยมีสินจ้าง ซึ่งฝ่ายหญิงมีครรภ์ต้องจ่ายให้โจทก์เมื่อโจทก์ทำคลอดแล้วนั้น เป็นการรับจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ซึ่งต้องจดทะเบียนการค้าและเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบวิชาชีพผดุงครรภ์เป็นการรับจ้างทำของตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
การที่โจทก์ตั้งสถานพยาบาลและผดุงครรภ์โดยโจทก์ในฐานะนางผดุงครรภ์ จัดการให้ทารกคลอดจากครรภ์มารดาโดยมีสินจ้างซึ่งฝ่ายหญิงมีครรภ์ต้องจ่ายให้โจทก์เมื่อทำคลอดแล้วนั้นเป็นการรับจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ซึ่งต้องจดทะเบียนการค้าและเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินที่นายจ้างจ่ายค่าภาษีแทนลูกจ้าง ไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินภาษีตามมาตรา 40(1)(2) ของประมวลรัษฎากร
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 5 นั้น เมื่อมูลกรณีเรื่องภาษีอากรในคดีเรื่องนี้อยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลย(กรมสรรพากร) โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินได้อันพึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา40(1)(2)
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินได้อันพึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา40(1)(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ออกใบรับเงินเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประมวลรัษฎากร ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงภาษี
การที่จำเลยขายของไม่ออกใบรับเงินนั้น เป็นเรื่องไม่กระทำ คือไม่ออกใบรับมีบทบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้โดยเฉพาะอยู่แล้วตาม มาตรา 105 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 มาตรา 55 หาเป็นความผิดฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ตามมาตรา 37(2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 มาตรา 14 ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการกระทำด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บ้านพักเป็นสถานการค้าตามประมวลรัษฎากร: การควบคุมดูแลกิจการทำไม้หมอน
โจทก์มีภูมิลำเนาในพระนครแต่ทำไม้หมอนจากป่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานีส่งให้การรถไฟ ค่าไม้หมอนจ่ายกันที่พระนครโจทก์ต้องไปควบคุมดูแลกิจการทำไม้หมอน เดือนละครั้งสองครั้งครั้งละ 3-4 วันเนื่องจากที่พักคนงานอยู่ในป่าห่างตลาดราว 10 กิโลเมตร เมื่อตรวจดูกิจการแล้วโจทก์ก็กลับมาอาศัยค้างคืนที่บ้านของ ส. ในตลาดตามปกติโจทก์ไปจ่ายค่าจ้างคนงานที่ในป่า แต่มีอยู่บ้างที่คนงานมาขอรับเงินจากโจทก์ในขณะที่พักอยู่ที่บ้านของ ส. ดังนี้จะถือว่าโจทก์ใช้บ้านของ ส.เป็นสถานการค้าตามเจตนารมณ์ของมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากรตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 10 พ.ศ.2496 ไม่ได้