คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมาทเลินเล่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายทำให้ต้องรับผิดชอบร่วมกันเต็มจำนวนค่าเสียหาย
เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1และผู้ตายซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันถึงแม้จำเลยที่1และผู้ตายจะต่างคนต่างประมาทเลินเล่อก็ตามแต่เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1และผู้ตายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันดังกล่าวแล้วจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่2ต่อโจทก์เต็มตามจำนวนค่าเสียหายอย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4699/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของตนเอง และความรับผิดต่อการทุจริตของลูกจ้าง
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาน่าน จำเลยจึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารงานของสาขาโจทก์ที่จำเลยเป็นผู้จัดการทั้งหมด ทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่ในสาขาเดียวกันกับจำเลยจำเลยจะต้องควบคุมดูแลให้พนักงานปฏิบัติงานตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์โดยเคร่งครัดรวมทั้งตัวจำเลยด้วย ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยเป็นผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงและตู้นิรภัยชุดหนึ่งซึ่งจำเลยสามารถจะเข้าไปเปิดห้องมั่นคง และตู้นิรภัยได้ตลอดเวลาโดยลำพังผู้เดียวส่วนกุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงและตู้นิรภัยอีกชุดหนึ่งมีการแยกเก็บรักษา โดย ร.เป็นผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคง ส่วน พ.ผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสตู้นิรภัยลำพังเพียง ร.หรือ พ.คนใดคนหนึ่งไม่สามารถจะเปิดตู้นิรภัยได้ ก่อนวันเกิดเหตุและระหว่างวันเกิดเหตุ พ.กลับจากลาพักผ่อนประจำปีเข้ามาทำงานตามปกติ และได้รับมอบกุญแจและรหัสตู้นิรภัยมาเก็บรักษาแล้ว ดังนั้น ระหว่างวันเกิดเหตุผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงคือ ร.และผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสตู้นิรภัยคือ พ.เมื่อเป็นเช่นนี้ในขณะเกิดเหตุ ร.หรือ พ.จึงไม่อาจจะเข้าไปเปิดตู้นิรภัยตามลำพังเพียงคนเดียวได้ แต่จำเลยเพียงผู้เดียวสามารถที่จะเข้าไปเปิดได้ เมื่อพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีที่ส่วนหนึ่งของเงินที่หายไปอยู่ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของ พ.ซึ่งศาลแรงงานกลางฟังว่าเงินของโจทก์หายไปเกิดจากการกระทำของผู้เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงกับตู้นิรภัยแล้ว สำหรับ ร.และ พ.นั้นต่างคนต่างเก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงและตู้นิรภัยอันเป็นการแยกเก็บรักษาตามหน้าที่ของตนตามปกติ จึงถือมิได้ว่าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์หายส่วนกรณีเงินที่หายไปจากตู้นิรภัยส่วนหนึ่ง กับเงินที่มิได้เก็บไว้ในตู้นิรภัย แต่ไปอยู่ที่ลิ้นชักโต๊ะทำงานของ พ.นั้นก็ไม่ทำให้เห็นว่า พ.ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่อ เพราะเงินที่หายไปเป็นเงินที่ได้นำไปเก็บไว้ในตู้นิรภัยเรียบร้อยแล้วหาก พ.ทำการทุจริตก็คงจะไม่นำเงินที่ตนเอาไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะในที่ทำงานเช่นนี้ สำหรับจำเลยนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารงานสาขาโจทก์ที่จังหวัดน่านให้ดำเนินไปด้วยดี โดยจำเลยจะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่โจทก์วางไว้อย่างเคร่งครัด การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยไม่เปลี่ยนรหัสประตูห้องมั่นคงและรหัสตู้นิรภัยเมื่อมีการสับเปลี่ยนพนักงานระดับบริหารที่เก็บรักษากุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงกับตู้นิรภัย และจำเลยเองก็เป็นผู้เก็บรักษาทั้งกุญแจและรหัสประตูห้องมั่นคงกับตู้นิรภัย ซึ่งจำเลยสามารถเข้าไปเปิดตู้นิรภัยตามลำพังได้ตลอดเวลา เมื่อเงินของโจทก์ที่เก็บไว้ในตู้นิรภัยหายไปก็ไม่สามารถที่จะสอบหาตัวผู้ทุจริตได้เช่นนี้ ถือได้ว่าความเสียหายเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินที่หายแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: การประมาทเลินเล่อของทั้งคนขับรถบรรทุกและพนักงานขับรถไฟ
การที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทย วิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่า เมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 57 (8) จึงบัญญัติว่า ห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า 15 เมตรแต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่น เมื่อจำเลยที่ 2 นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ 2 เมตร หรือ 1 เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ผิด กรณีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว และเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา 425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223 วรรคหนึ่ง, 438 วรรคหนึ่ง และ 442 ปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าคันอื่น พนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไป ส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ 20 เมตร เมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ 10 เมตร เห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน ช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้น ซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้ว ปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ 50 เมตร ในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ 3 ปี ก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำ และพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา 18 นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น การที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้า แสดงว่าการที่จำเลยที่ 2 นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้ พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อย จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่า เพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับ เป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่า ในส่วนของความประมาทเลินเล่อศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการจอดรถกีดขวางทางรถไฟและการประมาทของพนักงานขับรถไฟ ศาลแบ่งความรับผิด
การที่จำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่าเมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควรเพื่อป้องกันมิได้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา57(8)จึงบัญญัติว่าห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า15เมตรแต่จำเลยที่2มิได้ปฎิบัติตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่นเมื่อจำเลยที่2นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ2เมตรหรือ1เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นผู้ผิดจำเลยที่2จึงละเมิดต่อโจทก์และเป็นการกระทำในทางการที่จ้างจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา425 การที่ช. ขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ15กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อผ่านทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันมีรถยนต์ของจำเลยที่2อยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าคันอื่นแต่ช. คงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมเมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ10เมตรเห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันนั้นในภาวะเช่นนั้นช. ย่อมจะคาดหมายได้ว่าอาจเกิดการเฉี่ยวชนรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่ขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้วการที่ช. ขับรถไฟด้วยอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ถือว่าช.มีความประมาทเลินเล่อด้วยส่วนหนึ่งแต่การที่จำเลยที่2นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้ช. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่เห็นย่อมจะไม่ได้เพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับเป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังมากกว่าในส่วนประมาทเลินเล่อของช. จึงมีเพียงเล็กน้อยจำเลยที่2มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถบรรทุก, ความเร็ว, สภาพถนน, และการประเมินค่าเสียหาย
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 2 (1) (ก) กำหนดให้รถยนต์ต้องมีโคมไฟแสงพุ่งไกลหน้ารถมีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า100 เมตร และตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 1 (1) กำหนดให้รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ใช้ความเร็วนอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร รถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับบรรทุกมันอัดเม็ดรวมน้ำหนักของมันอัดเม็ดและน้ำหนักรถเกิน 1,200กิโลกรัม จำเลยจึงต้องขับรถยนต์บรรทุกด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตรและถ้าโคมไฟแสงพุ่งไกลของรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับมีแสงสว่างเห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 100 เมตร จำเลยจะต้องมองเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ในระยะไม่น้อยกว่า 100 เมตร เมื่อจำเลยเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ ในขณะเดียวกันมีรถยนต์บรรทุกแล่นสวนมา ซึ่งจำเลยไม่อาจจะหักหลบรถยนต์โดยสารได้ จำเลยก็ต้องเหยียบห้ามล้อ ถ้าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตรรถยนต์บรรทุกก็ย่อมจะหยุดได้โดยไม่เฉี่ยวชนรถยนต์โดยสาร การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วมากมีฝนตกและเป็นทางโค้ง ซึ่งโดยวิสัยของผู้ขับรถจะต้องชะลอความเร็วของรถลงกว่าปกติ แต่จำเลยที่ 1 หาได้ชะลอความเร็วของรถยนต์บรรทุกไม่เป็นการไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในภาวะเช่นนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาในเรื่องค่าเสียหายว่า รถยนต์โดยสารของโจทก์ไม่ได้ซ่อม โจทก์ตีราคาเองสูงเกินไป ตามสภาพรถยนต์โดยสารสามารถซ่อมได้ในราคา 90,000 บาท นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อในการขับรถบรรทุกเกินความเร็วและไม่ระมัดระวังในภาวะฝนตกและทางโค้ง ทำให้เฉี่ยวชนรถยนต์โดยสาร
ตามกฎกระทรวงฉบับที่2(พ.ศ.2522)ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522ข้อ2(1)(ก)กำหนดให้รถยนต์ต้องมีโคมไฟแสงพุ่งไกลหน้ารถมีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า100เมตรและตามกฎกระทรวงฉบับที่6(พ.ศ.2522)ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522ข้อ1(1)กำหนดให้รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน1,200กิโลกรัมใช้ความเร็วนอกเขตกรุงเทพมหานครเขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลไม่เกินชั่วโมงละ80กิโลเมตรรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับรถบรรทุกมันอัดเม็ดรวมน้ำหนักของมันอัดเม็ดและน้ำหนักรถเกิน1,200กิโลกรัมจำเลยจึงต้องขับรถยนต์บรรทุกด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ80กิโลเมตรและถ้าโคมไฟแสงพุ่งไกลของรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับมีแสงสว่างเห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า100เมตรจำเลยจะต้องมอบเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ในระยะไม่น้อยกว่า100เมตรเมื่อจำเลยเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ในขณะเดียวกันมีรถยนต์บรรทุกแล่นสวนมาซึ่งจำเลยไม่อาจจะหักหลบรถยนต์โดยสารได้จำเลยก็ต้องเหยียบห้ามล้อถ้าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ80กิโลเมตรรถยนต์บรรทุกก็ย่อมจะหยุดได้โดยไม่เฉี่ยวชนรถยนต์โดยสารการที่จำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วมากมีฝนตกและเป็นทางโค้งซึ่งโดยวิสัยของผู้ขับรถจะต้องชะลอความเร็วของรถลงกว่าปกติแต่จำเลยที่1หาได้ชะลอความเร็วของรถยนต์บรรทุกไม่เป็นการไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในภาวะเช่นนั้นจำเลยที่1จึงมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย ที่จำเลยทั้งสองฎีกาในเรื่องค่าเสียหายว่ารถยนต์โดยสารของโจทก์ไม่ได้ซ่อมโจทก์ตีราคาเองสูงเกินไปตามสภาพรถยนต์โดยสารสามารถซ่อมได้ในราคา90,000บาทนั้นฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค1ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในคดีละเมิด: การวินิจฉัยประมาทเลินเล่อในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของศาลแขวงตลิ่งชันซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารทับขาซ้ายของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อหรือไม่การฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มิได้ประมาทเลินเล่อเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อในฐานะผู้แทนของหน่วยงาน
จำเลยให้การว่าจำเลยขอปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าการฟ้องคดีของพันตำรวจเอกร.เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์โดยตรงจำเลยจึงไม่ต้องผูกพันกับคำพิพากษาท้ายฟ้องโจทก์เมื่อการฟ้องของโจทก์ไม่สุจริตโจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยไม่ดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนหนึ่งตอนใดได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กล่าวอ้างมาเลยว่าที่พันตำรวจเอกร.ฟ้องโจทก์และจำเลยกับพวกนั้นพันตำรวจเอกร. ได้ร่วมกับโจทก์กระทำการอย่างใดอันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันนำคดีดังกล่าวมาฟ้องเพื่อให้โจทก์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตจำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลยเมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย การที่โจทก์และจำเลยถูกพันตำรวจเอกร.เป็นโจทก์ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้พันตำรวจเอกร.เสียหายและคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยถึงที่สุดฟังว่าเหตุเกิดจากการปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งได้กระทำไปในฐานะผู้แทนโจทก์และพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่พันตำรวจเอกร. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่งคดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อพันตำรวจเอกร.ในขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาคดีก่อนแก่พันตำรวจเอกร.แล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8358/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดใช้ค่าจัดการศพ/ขาดไร้อุปการะ: ศาลรับฟังเอกสารแม้ไม่ส่งก่อนสืบพยาน, ผู้ตายประมาทเลินเล่อ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 27,033.33 บาท และให้จำเลยที่ 2ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 192,000 บาท ซึ่งเท่ากับให้ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์คนละ 96,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประมาทเลินเล่อหรือหากมีส่วนประมาทเลินเล่อก็เพียง 1 ใน 4 ส่วน ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพไม่เกิน 20,000 บาท ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองรวมกันไม่เกิน 1,200 บาทต่อเดือน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทั้งสองได้ระบุอ้างบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายไว้ในบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว แม้มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 90 (เดิม)วรรคแรก แต่โจทก์ทั้งสองก็อ้างส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานนัดแรกซึ่งโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่นำสืบก่อน เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 มีโอกาสจะซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวและมีโอกาสที่จะนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เสียเปรียบแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
แม้ผู้ตายมิได้ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถยนต์โดยสารก็ตาม แต่การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นมาด้วยความเร็วสูงผ่านโค้งก่อนถึงที่เกิดเหตุและไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อรถสวนกันก็ไม่ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจึงเกิดชนกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา ถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ถ้าหากเคยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจริงก็นำมาพิจารณาประกอบด้วย ส่วนระยะเวลาในอนาคตที่จะคำนวณค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวนเดียวนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าตามความหวังที่มีเหตุผลหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใด และเป็นเวลานานเท่าใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8358/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน: ประมาทเลินเล่อของผู้ตาย, การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะ, และขอบเขตการรับฟังพยาน
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 27,033.33 บาทและให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 192,000 บาท ซึ่งเท่ากับให้ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์คนละ 96,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้ประมาทเลินเล่อหรือหากมีส่วนประมาทเลินเล่อก็เพียง1 ใน 4 ส่วน ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพไม่เกิน 20,000 บาทค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองรวมกันไม่เกิน 1,200 บาทต่อเดือน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ทั้งสองได้ระบุอ้างบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายไว้ในบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว แม้มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า3 วัน อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90(เดิม) วรรคแรก แต่โจทก์ทั้งสองก็อ้างส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานนัดแรกซึ่งโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่สืบก่อน เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 มีโอกาสจะซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวและมีโอกาสที่จะนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2เสียเปรียบแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87(2) แม้ผู้ตายมิได้ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถของรถยนต์โดยสารก็ตาม แต่การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นมาด้วยความเร็วสูงผ่านโค้งก่อนถึงที่เกิดเหตุและไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อรถสวนกันก็ไม่ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ ซึ่งเป็นการไม่ปฎิบัติ ตามกฎหมายจึงเกิดชนกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา ถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ถ้าหากเคยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจริงก็นำมาพิจารณาประกอบด้วยส่วนระยะเวลาในอนาคตที่จะคำนวณค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวนเดียวนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าตามความหวังที่มีเหตุผลหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใด และเป็นเวลานานเท่าใด
of 52