พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่เมื่อคดีก่อนศาลยังไม่ได้วินิจฉัยกรรมสิทธิ์ การบุกรุกเป็นประเด็นใหม่
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาครั้งหนึ่งแล้ว ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน และพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยพยายามจะบุกรุกเมื่อใด และเมื่อจำเลยยังมิได้บุกรุกก็ไม่เป็นการรบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ ส่วนข้อที่โจทก์ขอศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทนั้น ศาลไม่อาจสั่งให้ได้.เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีใหม่ยืนยันว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทแน่นอนเมื่อใดเป็นเนื้อที่เท่าใด ดังนี้โจทก์ย่อมฟ้องได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของใคร และจำเลยบุกรุกที่พิพาทจริงหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ในคดีหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินโดยไม่จดทะเบียน: ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นศาลล่าง
จำเลยฎีกาว่า การยกที่ดินให้แก่กันโดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนยกให้ต่อเจ้าพนักงานจึงเป็นโมฆะนั้น ความข้อนี้จำเลยหาได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ เพิ่งจะยกขึ้นมากล่าวอ้างในชั้นฎีกา ซึ่งปัญหาข้อนี้แม้จะถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่สำหรับคดีนี้ ศาลฎีกายังไม่เห็นสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ จึงไม่ขึ้นวินิจฉัย ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้แก่กันโดยไม่จดทะเบียน: ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่การพิจารณาในศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกาว่า การยกที่ดินให้แก่กันโดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนยกให้ต่อเจ้าพนักงานจึงเป็นโมฆะนั้น ความข้อนี้จำเลยหาได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่เพิ่งจะยกขึ้นมากล่าวอ้างในชั้นฎีกา ซึ่งปัญหาข้อนี้แม้จะถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่สำหรับคดีนี้ ศาลฎีกายังไม่เห็นสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ จึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องเพิ่มเติมคำให้การเป็นการตั้งประเด็นใหม่ ถือเป็นคำคู่ความ ศาลมีอำนาจสั่งไม่รับได้ และอุทธรณ์ได้ตามขั้นตอน
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเป็นการตั้งประเด็นจึงเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5)เมื่อคู่ความยื่นคำร้องเข้ามาและศาลพิจารณามีคำสั่งคำร้องนั้นตามมาตรา 21(2),181(1) โดยให้ยกคำร้องตามมาตรา 180 คำสั่งนี้ก็คือคำสั่งที่มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามนัยแห่งมาตรา 177 วรรคท้ายและมาตรา 18 ซึ่งทำให้ประเด็นข้อที่จำเลยตั้งขึ้นโดยคำร้องเพิ่มเติมคำให้การนั้นเสร็จไปเมื่อศาลพิพากษาคดีแล้ว จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้โดยมิต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ก่อนเพราะเป็นการอุทธรณ์ตามความในมาตรา 223 ไม่ใช่อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 21/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานการชำระหนี้ด้วยการโอนทรัพย์สิน และข้อจำกัดในการยกประเด็นใหม่ในชั้นฎีกา
ศาลเป็นผู้พินิจพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยตามที่นำสืบมาในสำนวน การตรวจพิจารณาลายเซ็นชื่อของโจทก์ในสัญญากู้เปรียบเทียบกับลายเซ็นชื่อของโจทก์ในเอกสารต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในสำนวนก็เป็นการพิจารณาอย่างหนึ่งที่ศาลมีอำนาจกระทำได้
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000 บาท ต่อมาไม่มีเงินชำระเงินต้น โจทก์จึงเอาสวนพิพาทตีราคาใช้หนี้จำเลยในราคา 3,000 บาทโดยทำสัญญายกสวนให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ ส่วนการที่ต้องทำสัญญาเป็นสัญญายกให้ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขัดข้องที่จะทำสัญญาเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องทำเป็นสัญญายกให้ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจง ซึ่งเป็นการนำสืบแสดงถึงเหตุที่ต้องทำเป็นสัญญายกให้เท่านั้น ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยก็นำสืบได้ มิใช่จำเลยนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารและนำสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด
ข้อที่ว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่าได้มีการชำระหนี้ 3,000 บาทมาแสดงต่อศาล โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นี้ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000 บาท ต่อมาไม่มีเงินชำระเงินต้น โจทก์จึงเอาสวนพิพาทตีราคาใช้หนี้จำเลยในราคา 3,000 บาทโดยทำสัญญายกสวนให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ ส่วนการที่ต้องทำสัญญาเป็นสัญญายกให้ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขัดข้องที่จะทำสัญญาเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องทำเป็นสัญญายกให้ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจง ซึ่งเป็นการนำสืบแสดงถึงเหตุที่ต้องทำเป็นสัญญายกให้เท่านั้น ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยก็นำสืบได้ มิใช่จำเลยนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารและนำสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด
ข้อที่ว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่าได้มีการชำระหนี้ 3,000 บาทมาแสดงต่อศาล โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นี้ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการยกเหตุเลิกสัญญาและการวินิจฉัยประเด็นใหม่ในศาลฎีกา
ปัญหาว่า จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 มาใช้บังคับ และเลิกสัญญาเสียโดยมิพักต้องบอกกล่าวนั้น ต้องยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาว่า การที่โจทก์ไม่ยอมวางเงินมัดจำหรือไม่ยอมทำสัญญาจะซื้อขายตามที่จำเลยร้องขอจะมีอายุความบังคับให้จำเลยโอนขายนานเท่าใดก็ต้องเป็นประเด็นที่ได้พิพาทกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น
ปัญหาว่า การที่โจทก์ไม่ยอมวางเงินมัดจำหรือไม่ยอมทำสัญญาจะซื้อขายตามที่จำเลยร้องขอจะมีอายุความบังคับให้จำเลยโอนขายนานเท่าใดก็ต้องเป็นประเด็นที่ได้พิพาทกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา: ประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ ไม่อาจนำมาฎีกาได้
ข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในฎีกานั้น ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับตามยอม ความเป็นประเด็นใหม่นอกสัญญา และการสิ้นสิทธิเรียกร้อง
โจทก์จำเลยทำยอมในศาลโดยจำเลยให้สิทธิโจทก์ที่จะตรวจตราดูการที่จำเลยดำเนินงานประจำปีฉลองรูปปั้นเขียนและจำเลยจะทำบัญชีรับจ่ายสำหรับงานดังกล่าว พร้อมหลักฐานกับเงินสุทธิมายื่นต่อศาลเพื่อให้โจทก์ตรวจดูได้ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอม และจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามข้อความในสัญญายอมแล้วนั้น ต่อมาโจทก์จะอ้างว่าได้ตรวจตราแล้วจำเลยบริหารงานไม่ชอบ และบัญชีก็ผิดพลาด ขอให้ศาลไต่สวนนั้น ศาลย่อมไม่ไต่สวนให้ เพราะเป็นประเด็นใหม่ มิได้ระบุหรือขยายความไว้ในสัญญายอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับตามยอม: การตรวจสอบบัญชีและการกล่าวอ้างเรื่องการบริหารงานที่ไม่ชอบธรรมเป็นประเด็นใหม่นอกเหนือจากสัญญายอม
โจทก์จำเลยทำยอมในศาลโดยจำเลยให้สิทธิโจทก์ที่จะตรวจตราดูการที่จำเลยดำเนินงานประจำปีฉลองรูปปั้นเซียนและจำเลยจะทำบัญชีรับจ่ายสำหรับงานดังกล่าว พร้อมหลักฐานกับเงินสุทธิมายื่นต่อศาลเพื่อให้โจทก์ตรวจดูได้ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอม และจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามข้อความในสัญญายอมแล้วนั้น ต่อมาโจทก์จะอ้างว่าได้ตรวจตราแล้วจำเลยบริหารงานไม่ชอบ และบัญชีก็ผิดพลาด ขอให้ศาลไต่สวนนั้น ศาลย่อมไม่ไต่สวนให้ เพราะเป็นประเด็นใหม่ มิได้ระบุหรือขยายความไว้ในสัญญายอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นใหม่จากคำแก้ฟ้อง และการพิสูจน์การรับเงินกินเปล่า
จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินกินเปล่าโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่าไม่เคยเรียกเกินจากจำเลย ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์เรียกเงินกินเปล่าจากจำเลยจริง แต่จำเลยได้ใช้ห้องพิพาทสมควรแก่เงินค่ากินเปล่าแล้ว พิพากษาให้ยกฟ้องแย้ง ดังนี้ แม้จำเลยจะอุทธรณ์ให้โจทก์คืนเงินกินเปล่า ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์เรียกจากจำเลยจริงก็ดี หากโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ของจำเลยให้ปรากฎไว้ด้วยว่า โจทก์ไม่เคยรับเงินกินเปล่าดังกล่าวนี้เลยแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าโจทก์เคยรับเงินกินเปล่ารายนี้หรือไม่ได้ เพราะประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยนั้น มิใช่ว่าจะมีอยู่ในคำฟ้องอุทธรณ์เท่านั้น ในคำแก้อุทธรณ์ของอีกฝ่ายหนึ่งก็อาจตั้งประเด็นขึ้นมาให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้