คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเมินภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 719 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ไม่เป็นธรรม เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจเลือกปฏิบัติระหว่างผู้เสียภาษี
แม้การใช้อำนาจประเมินภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 (1)เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา 71 วรรคสองว่า ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) แต่เจ้าพนักงานประเมินจะใช้ดุลพินิจประเมินให้เสียภาษีตามบทบัญญัติในมาตราอื่นก็ได้หากเจ้าพนักงานประเมินใช้ดุลพินิจประเมินให้โจทก์เสียภาษีตามมาตรา 71 (1)ผู้เสียภาษีก็มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคสามดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยดังกล่าวและใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลตามมาตรา 30 (2) ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ดุลพินิจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ตามมาตรา 71 (1) เป็นการถูกต้องและชอบหรือไม่ด้วย
เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจำเลยได้มีหมายเรียกตามป.รัษฎากรแจ้งไปยังโจทก์ให้นำบัญชี เอกสาร และหลักฐานการลงบัญชีไปส่งมอบโจทก์ได้ไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินและได้ส่งมอบบัญชีและเอกสารต่าง ๆเอกสารที่โจทก์นำส่งทำให้เจ้าพนักงานประเมินสามารถคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของโจทก์ได้ ซึ่งปรากฏว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ แต่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีโจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ ตามมาตรา 71 (1)โดยอ้างว่า เนื่องจากโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล(แบบ ภ.ง.ด.50) ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้ต่อมาโจทก์จะได้ยื่นแบบแสดงรายการหลังจากที่ได้รับหมายเรียกแล้วก็ตาม ซึ่งหากประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ตามมาตรา 24 แห่ง ป.รัษฎากรแล้ว โจทก์ไม่มีภาษีที่จะต้องชำระเพราะจากการตรวจสอบในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ แต่หากประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) โจทก์จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ คิดเป็นภาษี 2,865,243.67 บาท แต่การตรวจสอบภาษีรายของบริษัท ดี. ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในเขตเดียวกัน ปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวมิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภายหลังจากที่ได้รับหมายเรียกตรวจสอบแล้วเช่นเดียวกับโจทก์ จากการตรวจสอบพบว่าบริษัท ดี.มีผลประกอบการกำไรสุทธิ ซึ่งหากเจ้าพนักงานประเมิน ประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1)จะได้ภาษีจำนวนมากกว่าการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 24 แต่เจ้าพนักงานประเมินก็มิได้ทำการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) เมื่อโจทก์ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีด้วยดี และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทั้งผลการตรวจสอบภาษีก็ปรากฏว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ เจ้าพนักงานประเมินไม่ควรประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 71 (1)ซึ่งในคดีภาษีอากรการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานต้องกระทำด้วยความสุจริตและเป็นธรรม และต้องปฏิบัติต่อผู้เสียภาษีทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์และรายของบริษัท ดี.มีข้อเท็จจริงเหมือนกัน พ.เจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์และกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รายโจทก์ก็ชอบที่จะใช้ดุลพินิจในการประเมินภาษีโดยใช้หลักเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกันด้วยการที่ พ.ใช้ดุลพินิจไม่ประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) สำหรับรายบริษัท ดี.ทั้งที่จากการตรวจสอบปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวมีผลประกอบการกำไรสุทธิ แต่ใช้ดุลพินิจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 71 (1) ทั้งที่จากการตรวจสอบปรากฏว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ จึงเป็นการเลือกปฏิบัติและไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี การประเมินของเจ้าพนักงานจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ และเมื่อการประเมินไม่ชอบจึงทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ไม่เป็นธรรม เจ้าพนักงานต้องใช้ดุลพินิจอย่างสุจริตและเท่าเทียมกัน
แม้การใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71(1) เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา 71 วรรคสองว่า ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1)แต่เจ้าพนักงานประเมินจะใช้ดุลพินิจประเมินให้เสียภาษีตามบทบัญญัติในมาตราอื่นก็ได้ หากเจ้าพนักงานประเมินใช้ดุลพินิจประเมินให้โจทก์เสียภาษีตามมาตรา 71(1) ผู้เสียภาษีก็มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยดังกล่าวและใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลตามมาตรา 30(2) ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ดุลพินิจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ตามมาตรา 71(1) เป็นการถูกต้องและชอบหรือไม่ด้วย เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจำเลยได้มีหมายเรียกตามประมวลรัษฎากรแจ้งไปยังโจทก์ให้นำบัญชี เอกสาร และหลักฐานการลงบัญชีไปส่งมอบโจทก์ได้ไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินและได้ส่งมอบบัญชีและเอกสารต่าง ๆ เอกสารที่โจทก์นำส่งทำให้เจ้าพนักงานประเมินสามารถคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของโจทก์ได้ ซึ่งปรากฎว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ แต่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีโจทก์ในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับ ตามมาตรา 71(1) โดยอ้างว่า เนื่องจากโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล(แบบ ภ.ง.ด.50) ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้ต่อมาโจทก์จะได้ยื่นแบบแสดงรายการหลังจากที่ได้รับหมายเรียกแล้วก็ตาม ซึ่งหากประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ตามมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์ไม่มีภาษีที่จะต้อง ชำระเพราะจากการตรวจสอบในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ แต่หากประเมินภาษีตามมาตรา 71(1)โจทก์จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ คิดเป็นภาษี 2,865,243.67 บาท แต่การตรวจสอบภาษีรายของบริษัทดี. ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในเขตเดียวกันปรากฎว่าบริษัทดังกล่าวมิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภายหลังจากที่ได้รับหมายเรียกตรวจสอบแล้วเช่นเดียวกับโจทก์ จากการตรวจสอบพบว่าบริษัท ดี. มีผลประกอบการกำไรสุทธิ ซึ่งหากเจ้าพนักงานประเมิน ประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) จะได้ภาษีจำนวนมากกว่าการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 24 แต่เจ้าพนักงานประเมินก็มิได้ทำการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) เมื่อโจทก์ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีด้วยดี และไม่ปรากฎว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทั้งผลการตรวจสอบภาษีก็ปรากฎว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ เจ้าพนักงานประเมินไม่ควรประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 71(1) ซึ่งในคดีภาษีอากรการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานต้องกระทำด้วยความสุจริตและเป็นธรรมและต้องปฎิบัติต่อผู้เสียภาษีทุกคนอย่างเท่าเทียมกันเมื่อการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์และรายของบริษัท ดี.มีข้อเท็จจริงเหมือนกัน พ. เจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์และกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รายโจทก์ก็ชอบที่จะใช้ดุลพินิจในการประเมินภาษีโดยใช้หลักเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกันด้วย การที่ พ. ใช้ดุลพินิจไม่ประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) สำหรับรายบริษัท ดี. ทั้งจากการตรวจสอบปรากฎว่าบริษัทดังกล่าวมีผลประกอบการกำไรสุทธิ แต่ใช้ดุลพินิจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 71(1) ทั้งที่จากการตรวจสอบปรากฎว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ จึงเป็นการเลือกปฎิบัติและไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี การประเมินของเจ้าพนักงานจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ และเมื่อการประเมินไม่ชอบจึงทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเพิ่มเติม: สินค้าต้องใช้คู่สายโทรศัพท์ จัดอยู่ในพิกัด 8517.10 แม้การตรวจปล่อยในชั้นแรกจะผิดพลาด
สินค้าพิพาทต้องใช้คู่สายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงจะใช้งานได้ จึงต้องจัดเข้าอยู่ในประเภทพิกัดที่ 8517.10 เพราะพิกัดนี้เป็นพิกัดย่อยของพิกัดใหญ่ประเภทที่ 85.17 ซึ่งระบุว่าได้แก่เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์หรือโทรเลขแบบใช้สาย เมื่อสินค้าพิพาทจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่8517.10 อัตราภาษีร้อยละ 40 แต่จำเลยที่ 1 สำแดงและชำระภาษีอากรในประเภทพิกัดที่ 8525.20 อัตราภาษีร้อยละ 5 จำเลยที่ 1 จึงชำระภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1ชำระเพิ่มเติมเสียให้ถูกต้องได้ มิพักต้องคำนึงว่าการประเมินผิดพลาดในชั้นแรกที่ตรวจปล่อยสินค้านั้นเป็นการกระทำโดยสุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ทั้งมิใช่เป็นการบังคับใช้กฎหมายให้มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่จำเลย เนื่องจากหน้าที่เสียค่าภาษีของจำเลยเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องโทรศัพท์ไร้สาย และอำนาจประเมินภาษีเพิ่มเติมของเจ้าหน้าที่
สินค้าพิพาทต้องใช้คู่สายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงจะใช้งานได้ จึงต้องจัดเข้าอยู่ในประเภทพิกัดที่ 8517.10เพราะพิกัดนี้เป็นพิกัดย่อยของพิกัดใหญ่ประเภทที่ 85.17ซึ่งระบุว่าได้แก่เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์หรือโทรเลขแบบใช้สาย เมื่อสินค้าพิพาทจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 8517.10 อัตราภาษีร้อยละ 40 แต่จำเลยที่ 1 สำแดงและชำระภาษีอากรในประเภทพิกัดที่ 8525.20 อัตราภาษีร้อยละ 5จำเลยที่ 1 จึงชำระภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระเพิ่มเติมเสียให้ถูกต้องได้ มิพักต้องคำนึงว่าการประเมินผิดพลาดในชั้นแรกที่ตรวจปล่อยสินค้านั้นเป็นการกระทำโดยสุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ ทั้งมิใช่เป็นการบังคับใช้กฎหมายให้มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่จำเลย เนื่องจากหน้าที่เสียค่าภาษีของจำเลยเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยมิชอบตามมาตรา 71(1) และ 87 ทวิ(7) แห่งประมวลรัษฎากร
บทบัญญัติตามมาตรา 87 ทวิ(7) เดิม แห่งประมวลรัษฎากรเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ประกอบการค้าชำระภาษีการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ยื่นแบบแสดงรายการค้าในเดือนที่ล่วงมาแล้วซึ่งหมายถึงในเดือนที่ถึงกำหนดชำระแล้ว เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบพบภายหลัง จึงมีอำนาจกำหนดรายรับโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 87 ทวิ(7) เพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้าในเดือนที่ล่วงมาแล้วหรือที่ถึงกำหนด ชำระแล้วนั้นได้ หาใช่เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าในเดือนที่ผู้ประกอบการค้ายังไม่ถึงเวลาที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการค้าไม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่า เจ้าพนักงานได้กำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ในวันที่ 29 มีนาคม 2526 โดยให้จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้า แสดงรายรับไม่ต่ำกว่าเดือนละ 87,000 บาท ตั้งแต่เดือนเมษายน 2526 เป็นต้นไป จึงเป็นการกำหนดรายรับขั้นต่ำ ไว้ล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าให้จำเลยชำระเป็นการขัดต่อมาตรา 87 ทวิ(7) ประกอบกับในขณะเกิดเหตุคดีนี้พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 25 ที่บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 86 เบญจ ยังไม่ใช้บังคับซึ่งตามมาตรา 86 เบญจเป็นเรื่องให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้หาใช่เป็นเรื่องที่ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไม่ การที่ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ประกอบการค้ามา ตรวจสอบไต่สวนได้ตามมาตรา 87 ตรี(เดิม)แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อผู้ประกอบการค้าไม่ปฎิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมิน ตามมาตรา 87(3) แต่เจ้าพนักงานประเมินต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 87 ทวิ(7) เมื่อปรากฏว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยอาศัยยอดรายรับขั้นต่ำที่กำหนดล่วงหน้า โดยมิชอบดังกล่าว เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าที่จำเลยจะต้องชำระ จึงมิใช่เป็นการปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 87 ทวิ(7) การประเมินของเจ้าพนักงานจึงไม่ชอบ ดังนั้น การที่จำเลยได้รับแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดไว้ว่าถูกต้องเนื่องจากการกำหนดรายรับขั้นต่ำของเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่จำต้อง โต้แย้งคัดค้าน และอุทธรณ์การประเมินแต่อย่างใด ประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ซึ่งบัญญัติว่า "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ยื่นรายการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้หรือมิได้ทำบัญชีหรือทำไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิหรือไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ถ้ายอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายดังกล่าวไม่ปรากฎ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยอาศัยเทียบเคียงกับยอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไป ถ้ายอดในรอบระยะบัญชีก่อนไม่ปรากฎ ให้ประเมินได้ตามที่เห็นสมควร" ซึ่งตามมาตราดังกล่าวหาได้กำหนดให้นำมาตรา 87 ทวิ(7) มาใช้บังคับด้วยไม่ ทั้งรายรับขั้นต่ำของจำเลยตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดไว้เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินให้ถือเอารายรับขั้นต่ำที่ได้กำหนดไว้สำหรับกิจการของจำเลยเพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้ามาเป็นยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ นั้น ไม่ต้องด้วย มาตรา 71(1) จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากรายการที่ล่าช้าและการใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร
โจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งป.รัษฎากร และการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 23แห่ง ป.รัษฎากรชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร แล้วแต่กรณี โดยถือแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน2527 ข้อ 3 แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมาย แต่ก็เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลมาตรา 71(1) กรณีไม่ยื่นรายการภายในกำหนด และอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
บริษัทโจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 69 และการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 23 เป็นไปโดยชอบแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 24หรือมาตรา 71(1) แล้วแต่กรณี โดยถือตามแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527ข้อ 3 แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมาย แต่ก็เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อโจทก์ไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะต้องชำระเนื่องจากขาดทุนเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71(1)ซึ่งได้ภาษีมากกว่าตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลมาตรา 71(1) กรณีไม่ยื่นรายการภายในกำหนด และอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
บริษัทโจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน150วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากรมาตรา69และการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา23เป็นไปโดยชอบแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา24หรือมาตรา71(1)แล้วแต่กรณีโดยถือตามแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ป.5/2527ลงวันที่20พฤศจิกายน2527ข้อ3แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายแต่ก็เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อโจทก์ไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะต้องชำระเนื่องจากขาดทุนเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา71(1)ซึ่งได้ภาษีมากกว่าตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อไม่ยื่นรายการภายในกำหนด และการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน150วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา69แห่งประมวลรัษฎากรและการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา23ชอบแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา24หรือมาตรา71(1)แล้วแต่กรณีโดยถือตามแนวทางปฎิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ป.5/2527ลงวันที่20พฤศจิกายน2527ข้อ3แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายแต่ก็เป็นแนวทางปฎิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา71(1)สำหรับกรณีของโจทก์ปรากฎว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี2533โจทก์ไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเนื่องจากขาดทุนเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา71(1)ซึ่งได้ภาษีมากกว่าตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักการใช้ค่ารายปีปีก่อนเป็นฐาน และการเปรียบเทียบกับทรัพย์สินอื่น
การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1เป็นการประเมินของปี 2537 ส่วนค่าเช่าที่โจทก์อ้างถึงเป็นค่าเช่าที่โจทก์ทำสัญญากันไว้ในปี 2532 และสัญญาเช่าดังกล่าวมีอายุเพียงปีเดียว จึงเป็นเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจทำการประเมินค่ารายปีได้
ที่โจทก์โต้แย้งว่าแม้สัญญาเช่าโจทก์มีอายุเพียงปีเดียว แต่โจทก์ก็คิดค่าเช่ากับผู้เช่าในอัตราเดิมตลอดมา เพราะตึกที่โจทก์ให้เช่ามิได้ตั้งอยู่ริมถนนเศรษฐกิจ ความเจริญของตึกที่เช่าตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปัจจุบันมิได้มีการเปลี่ยนแปลง พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพิ่มค่ารายปีโดยมิได้แสดงให้เห็นว่าถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536 ไม่ชอบ แม้โจทก์จะฟ้องคดีและในที่สุดศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีก็ตาม ก็ถือได้ว่าโจทก์โต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536 แล้ว และปัญหายังมิได้ยุตินั้น เมื่อโจทก์ทิ้งคำฟ้องจนเป็นเหตุให้ศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีคำฟ้องของโจทก์จึงตกไปและมีผลทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176 ปัญหาข้อโต้แย้งการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536จึงถือว่าไม่มีข้อโต้แย้งต่อไป ค่ารายปีของปี 2536 ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินจึงฟังเป็นยุติโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ไม่ต้องแสดงว่า ถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนทำให้ต้องมีการประเมินเพิ่มขึ้น การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยยึดถืออัตราค่ารายปีของปี 2536 ดังกล่าวประกอบทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเล ที่ตั้งและบริการสาธารณะของบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน ย่อมเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว
ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้เป็นสำนักงานเพื่อประกอบธุรกิจของโจทก์พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้กำหนดค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ48.96 บาทต่อเดือน โดยเทียบเคียงจากโรงเรือนของธนาคาร ซึ่งธนาคารใช้ดำเนินเอง มีค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ 70 บาทต่อเดือน เมื่อโรงเรือนของธนาคารดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับโรงเรือนของโจทก์และอยู่ติดถนนสี่พระยาเช่นเดียวกับโรงเรือนของโจทก์และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็กำหนดค่ารายปีต่ำกว่าโรงเรือนดังกล่าว มิได้กำหนดสูงเกินไป การกำหนดค่ารายปีของทรัพย์สินตามรายการดังกล่าวจึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา" เมื่อค่ารายปีของปี 2536 เป็นอันยุติตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีของปี 2537โดยอาศัยค่ารายปีของปี 2536 เป็นหลัก จึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
of 72