พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. แม้เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ
แม้คดีนี้จะเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนและคำสั่งจังหวัด-กาญจนบุรีที่ 1139/2532 ที่ให้แก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงเพราะออกทับหนองน้ำสาธารณะหนองแฟบจะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมก็ตาม แต่การฟังพยานหลักฐานของศาลยุติธรรมย่อมต้องเป็นไปตามนัยของ ป.วิ.พ. บันทึกถ้อยคำที่บุคคลให้การไว้ต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ทางราชการแต่งตั้งขึ้นนั้นย่อมรับฟังได้ แต่น้ำหนักของพยานหลักฐานดังกล่าวมีน้อยกว่าการที่ฝ่ายผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีจำเลยจะนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความในศาลเพราะเป็นเพียงพยานบอกเล่า
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องดังกล่าวไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องดังกล่าวไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดการชี้สองสถานและงดสืบพยานศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อ้างว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ ดังนั้น การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลซึ่งถือได้ว่าไม่ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 234 กำหนดไว้ กรณีหาจำต้องให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวก่อนไม่ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล: การนับระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. และผลของการยื่นคำร้องล่าช้า
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2537 ขอขยายระยะเวลามีกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้อง จึงครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตวันที่ 3 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นครั้งที่สองในวันที่ 5 กันยายน2537 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่จะขอขยายออกไปต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 4กันยายน 2537 เมื่อขอขยายเวลาอีก 15 วัน จึงครบกำหนดในวันที่ 18 กันยายน2537 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ หากจำเลยประสงค์จะขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกก็ต้องยื่นคำร้องขอในวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอครั้งที่สามเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2537 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ทั้งคำร้องก็มิได้แสดงเหตุว่ามีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาตามคำร้องขอครั้งที่สามได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอครั้งที่สามของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมครั้งที่สามของศาลชั้นต้นนั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. หากไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยคงอ้างเหตุอย่างเดียวกับที่อุทธรณ์โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าเป็นการไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันมีคำสั่งศาล: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลายไม่มีกำหนด
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้น แต่มาตรา 153 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา 140 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่าเมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติในมาตรานี้วันใด ให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้น จึงต้องถือว่าวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 เป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวไม่ใช่วันที่ 17 ตุลาคม 2531 ซึ่งร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้ตามที่นัดไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นครอบครองปรปักษ์ แม้มีประเด็นเพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวเนื่อง ศาลฎีกาตัดสินฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีนี้กับพวกต่อศาลชั้นต้นขอให้แสดงกรรมสิทธิ์และเรียกทรัพย์คืนโดยอ้างว่าวันที่5เมษายน2484บ. ด้วยความยินยอมของจ. เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์โดยบ.ยอมรับเอาที่ดินโฉนดเลขที่1841กับที่ดินโฉนดเลขที่1842ของโจทก์และบ. ด้วยความรู้เห็นยินยอมของจ. ยอมให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่419พร้อมสิ่งปลูกสร้างหลังจากนั้นต่างฝ่ายต่างเข้าครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า10ปีแล้วในพ.ศ.2499โจทก์ได้ปลูกสร้างตึกเลขที่234สูง5ชั้นชั้นล่างของตึกนี้ซึ่งปลูกอยู่ในโฉนดเลขที่419ด้านติดถนนมหาจักรกั้นเป็นห้องเลขที่214/4และได้เปลี่ยนแปลงห้องแถวไม้แต่เดิมโดยรื้อของเก่าออกแล้วปลูกเป็นตึกอาคารพาณิชย์2ชั้นรวม7คูหาโจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างที่โจทก์สร้างขึ้นขอให้พิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่419พร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของพิพากษายกฟ้องโจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าโจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินโฉนดเลขที่419เฉพาะส่วนปลูกตึก5ชั้นและเรือนไม้เลขที่234และตึกแถวเลขที่214/4ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่419พร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์และขอให้เพิกถอนการโอนแม้ในคดีก่อนมีประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนที่ดินกันหรือไม่แต่ก็มีประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์หรือไม่ด้วยซึ่งเป็นประเด็นเรื่องเดียวกันส่วนประเด็นเรื่องขอให้เพิกถอนนิติกรรมเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องกันประเด็นครอบครองปรปักษ์โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีดังกล่าวมาฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9341/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาต้องรอคำสั่งรับรองจากผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อน มิฉะนั้นคำสั่งรับฎีกาไม่ชอบ
คดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคู่ความยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 248 แล้ว ศาลชั้นต้นต้องส่งฎีกาไปให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้องของผู้ฎีกาก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาดังกล่าวโดยสั่งในฎีกาด้วยว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและมิได้ดำเนินการตามที่ผู้ยื่นฎีการ้องขอ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาจึงไม่ชอบด้วยเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง: ศาลไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
โจทก์ยื่นฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารับคำฟ้อง หมายเรียก และสำเนาให้จำเลยแบบคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่งเมื่อโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองในครั้งแรกไม่ได้โจทก์ได้ยื่นคำแถลงภายในกำหนด ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองอีกครั้งหนึ่ง อันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งที่สองนั้น ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ ทั้งไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่ง และเมื่อศาลแขวงตลิ่งชันมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2537 แต่ส่งไม่ได้ ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งว่า"รอโจทก์แถลง" ทั้งเมื่อพนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งที่สองให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2537ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งเช่นเดิมว่า "รอโจทก์แถลง" โดยศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำสั่งที่สั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทั้งสองฉบับให้โจทก์ทราบ ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นรายงานเมื่อวันที่ 4มีนาคม 2537 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ถึง 25 วัน และ 32 วัน ตามลำดับแล้วก็ตาม ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์เกินกำหนด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด142,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเกินไปกว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ทั้งสองฎีกาขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 283,218 บาท (คิดถึงวันฟ้อง) แก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2531 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นว่า ลูกจ้างของโจทก์ทั้งสองมิได้ขับรถโดยประมาท หากแต่ลูกจ้างของจำเลยขับรถโดยประมาทฝ่ายเดียวเป็นเหตุให้รถชนกัน เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นว่า ลูกจ้างของโจทก์ทั้งสองมิได้ขับรถโดยประมาท หากแต่ลูกจ้างของจำเลยขับรถโดยประมาทฝ่ายเดียวเป็นเหตุให้รถชนกัน เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, หนังสือมอบอำนาจ, ฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน, ป.วิ.พ.มาตรา 144, 173
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ข.ฟ้องคดีแทน แต่หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ย่อมฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ข.จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ โดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีข้ออื่น ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ถึงแม้คดีก่อนจะยังอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ แต่คู่ความก็มิได้ยื่นอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าคดีก่อนนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนอันต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)