คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดนัดชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้ ศาลยืนตามสัญญาให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อค้างชำระและดอกเบี้ย
สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกัน โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเข้าครอบครองเครื่องมือทันตกรรมที่เช่าซื้อไปได้ทันที จำเลยที่ 1 จำต้องชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมดและต้องส่งมอบเครื่องมือทันตกรรมที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์หากโจทก์ได้รับคืนและจำหน่ายไปได้เงินไม่ครบถ้วนตามที่ค้างชำระ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้จนครบ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันและโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยที่ 1ไม่ได้ส่งมอบเครื่องมือทันตกรรมที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันหนี้ ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่
จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์กับโจทก์มีข้อความว่า ตามที่จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำเลยตกลงโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์และโจทก์ตกลงรับโอนภายใต้เงื่อนไขบังคับก่อนว่า การโอนสิทธิการเช่ารายนี้จะบังเกิดผลสมบูรณ์ตามกฎหมายก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน ในการโอนสิทธิการเช่ารายนี้เมื่อผู้รับโอนตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่ง มาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดแก่โจทก์จนครบ และปรากฏต่อมาว่าจำเลยผิดนัดชำระเงินกู้ตามสัญญา ดังนี้ หนี้เงินกู้เดิมซึ่งเป็นหนี้ประธานมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น มิได้มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เพราะเมื่อตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่ง มาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบ สัญญาโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักประกันการชำระหนี้เงินกู้ เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับเอาชำระหนี้เงินกู้ได้เท่านั้น หาเป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับโอนสิทธิการเช่าตามสัญญาเนื่องจากจำเลยอ้างว่ายังมิได้ผิดสัญญา จำเลยก็ต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันหนี้กู้ ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์กับโจทก์มีข้อความว่าตาม ที่จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำเลยตกลงโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์และโจทก์ตกลงรับโอนภายใต้เงื่อนไขบังคับก่อนว่า การโอนสิทธิการเช่ารายนี้จะบังเกิดผลสมบูรณ์ตามกฎหมายก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน ในการโอนสิทธิการเช่ารายนี้เมื่อผู้รับโอนตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่ง มาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดแก่โจทก์จนครบ และปรากฏต่อมาว่าจำเลยผิดนัดชำระเงินกู้ตามสัญญา ดังนี้หนี้เงินกู้เดิมซึ่งเป็นหนี้ประธานมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น มิได้มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เพราะเมื่อตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่งมาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบ สัญญาโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักประกันการชำระหนี้เงินกู้ เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับเอาชำระหนี้เงินกู้ได้เท่านั้น หาเป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับโอนสิทธิการเช่าตามสัญญาเนื่องจากจำเลยอ้างว่ายังมิได้ผิดสัญญา จำเลยก็ต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นโดยตัวแทนตามสัญญา และสิทธิในการบังคับหลักประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้ออ้างที่ทำให้การที่จำเลยนำหุ้น ของโจทก์ออกขายเป็นการไม่ชอบไว้ 2 ประการคือจำเลยบังอาจขายหุ้นของโจทก์ให้แก่บริษัทในเครือของจำเลยไปโดยพลการ ไม่ได้รับความยินยอมและอนุญาตจากโจทก์ประการหนึ่ง และนำหุ้นของโจทก์ที่จำนำไว้แก่จำเลยออกขายโดยไม่แจ้งบังคับจำนำเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบก่อนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 764 การขายจึงเป็นโมฆะอีกประการหนึ่ง เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์มิได้จำนำหุ้นไว้แก่จำเลย การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมิได้อธิบายให้กระจ่างเพื่อให้โจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยนำหุ้นของโจทก์ไปจำนำไว้แก่จำเลยแล้ว จำเลยนำหุ้นของโจทก์ออกขายเป็นการไม่ชอบจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จะยกขึ้นฎีกามิได้
คำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เอกสารหมาย ล.1 ตอนต้นมีความว่าโจทก์ตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ เพื่อซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อจัดการขายหลักทรัพย์แทนโจทก์ในการทำการดังกล่าวนี้ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ทางโทรศัพท์หรือทางหนังสือ ซึ่งจะแจ้งหรือส่งให้เป็นคราวๆ แต่ความในหน้า 2 วรรคสามตอนท้ายมีว่า '............... และในกรณีที่ข้าพเจ้า / เราไม่ชำระเงินให้ท่านภายในระยะเวลาที่ท่านกำหนดหรือข้าพเจ้า / เราไม่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นให้ครบถึงร้อยละ 30 ตามเงื่อนไขในวรรคก่อน ข้าพเจ้า /เรายินยอมให้ท่านปิดบัญชีได้ทันทีและยอมให้ท่านนำหลักทรัพย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า / เราที่ท่านซื้อไว้แทนออกขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเอาเงินสุทธิที่ได้มาชำระหนี้ที่ค้างอยู่ ...........' ดังนี้ การขายหุ้นของโจทก์ตามข้อความในหน้า 2 วรรคสามตอนท้ายของเอกสารหมาย ล.1 เป็นกรณีที่จำเลยกระทำได้เองตามอำนาจในสัญญาหาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ดังกรณีในหน้า 1 ตอนต้นอันเป็นเรื่องกระทำแทนไม่
แม้เมื่อจำเลยขายหุ้นของโจทก์ไปแล้วได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือมีข้อความว่าถ้าหากจำเลยไม่ได้รับการคัดค้านจากโจทก์ภายใน 3 วัน จำเลยจะถือว่ารายการที่แจ้งไปยังโจทก์ถูกต้องสมบูรณ์ก็ตาม แต่มิได้หมายความว่า หากโจทก์คัดค้านแล้วต้องถือว่ารายการที่แจ้งไปยังโจทก์ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ การที่โจทก์ได้แจ้งคัดค้านไปยังจำเลยภายในกำหนดว่าจำเลยไม่มีสิทธินำหุ้นของโจทก์ออกขายจึงหามีผลในการกระทำของจำเลยซึ่งชอบอยู่แล้วกลับกลายเป็นไม่ชอบไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกำหนดชำระหนี้ และผลกระทบต่อสิทธิในการริบเงินตามสัญญาจะซื้อขาย
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อ 2 กำหนดว่าโจทก์ผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินค่าซื้อที่ดินโดยแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 3 ชำระในวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 และข้อ 5 กำหนดว่า 'ผู้จะซื้อให้สัญญาว่า ถ้าผู้จะซื้อ ผิดนัดการชำระเงินตามที่ระบุไว้ในข้อ 2. ผู้จะซื้อยินดี ให้ผู้จะขายถือว่าผู้จะซื้อผิดสัญญา และยินดีให้ผู้จะขาย ริบเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมด โดยมิต้องบอกกล่าวใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้สะดุดหยุดลงด้วย'. การ ที่จำเลยยินยอมให้โจทก์แก้วันที่ในเช็คซึ่งชำระเงินงวดที่ 3 จากวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 เป็นวันที่ 10 กันยายน 2522 เป็นการตกลงเลื่อนกำหนดการชำระเงินออกไปโดยกำหนดวันชำระเงินใหม่ไว้แน่นอนเช่นเดิมไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีไม่ถือเคร่งครัดตามกำหนดการชำระเงิน ความตกลงเช่น นี้แปลได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงกันเปลี่ยนกำหนดชำระเงินงวดที่ 3 ในข้อ 2 แห่งสัญญาเสียใหม่เท่านั้นหากระทบกระทั่ง ถึงสัญญาข้อ 5 ไม่ ดังนั้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะเงินในบัญชีของโจทก์ไม่พอจ่าย เป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้รับชำระเงินงวดที่ 3 ตามกำหนดใหม่ จึงถือว่าโจทก์ผิดนัดชำระเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วและสัญญาเป็น อันเลิกกันตามสัญญาข้อ 5 โดยหาต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา อีกไม่ และจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายใน ระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิบังคับคดี
จำเลยนำเงินมาวางต่อศาลภายหลังวันที่ได้ตกลงกันกำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ได้ชื่อว่าจำเลยผิดนัดแล้ว สิทธิของจำเลยที่จะชำระเงินให้โจทก์ย่อมหมดสิ้นไป โจทก์มีสิทธิ ยึดบ้านพิพาทขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันตามส่วนที่ได้ตกลง กำหนดเป็นเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเลิกสัญญาสัญญาเช่าซื้อ: การรับชำระหนี้ต่อเนื่องแม้ผิดนัด ถือเป็นการระงับข้อผูกพันเดิม
การที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา แต่ยังคงรับชำระหนี้ค่าเช่าซื้อต่อมา ถือได้ว่าผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อต่างมีเจตนามุ่งหมายระงับข้อผูกพันเดิม โดยไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาเป็นการผิดสัญญา ฉะนั้นการที่ผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดกัน จึงถือไม่ได้ว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207-1209/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: หลักการผิดนัดชำระหนี้ และขอบเขตอำนาจศาลแรงงาน
ตามข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แก้ไขฉบับที่ 2 และฉบับที่ 6 นายจ้างมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าชดเชยให้ลูกจ้างทันที โดยลูกจ้างไม่ต้องทวงถาม เมื่อนายจ้างไม่ชำระย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัด และลูกจ้างเสียหายอยู่ในตัว แม้กฎหมายว่าด้วยแรงงานมิได้บัญญัติถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้ก็นำหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ที่ให้ลูกหนี้รับผิดเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดมาบังคับได้
ตามคำฟ้องมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยไว้ ทั้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางก็มิได้อ้างเหตุผลความเป็นธรรมตามที่เห็นควรประการใด การที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าดอกเบี้ยในค่าชดเชยด้วยจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374-375/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกเงินเกินบัญชี, ผิดนัดชำระหนี้, การบอกกล่าวบังคับจำนอง: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี 300,000 บาท กำหนดชำระภายใน 6 เดือนเป็นเรื่องของสัญญาบัญชีเดินสะพัด ลูกหนี้เบิกเงินเกิน 300,000 บาท และเกินเวลา 6 เดือน ก็ยังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ยังไม่ผิดนัดจนกว่าจะหักทอนบัญชีเรียกให้ชำระเงินคงเหลือต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือน
หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งทางไปรษณีย์ถึงผู้จำนอง ณ ภูมิลำเนาแต่ผู้รับไม่ยอมรับ แสดงว่ามีผู้รับแต่ไม่ยอมรับแทน เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับคำบอกกล่าวโฆษณาทางหนังสือพิมพ์จะแพร่หลายหรือไม่ไม่สำคัญ ถือเป็นการมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, อำนาจฟ้อง, การผิดนัดชำระหนี้: การพิจารณาความสมบูรณ์ของฟ้องและการเกิดผลของการผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องมีความตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใจความเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจและเห็นได้ชัดว่ามีความหมายถึงจำเลยที่ 3 ฟ้องโจทก์เช่นนี้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นหญิงมีสามี เมื่อได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจมอบให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องให้สามีลงชื่อให้ความยินยอมในใบมอบอำนาจซ้ำอีก
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดทันทีที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
of 18