พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันสัญญาค้ำประกันที่ทำต่อหน้าศาล แม้มีลายมือชื่อจำกัด
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมีคำพิพากษาตามยอมศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยได้นำตัว ช.มาทำสัญญาค้ำประกันตามที่ตกลงกันจึงให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันเสนอมาในวันนี้ด้วยแล้วแม้หนังสือสัญญาค้ำประกันคงมีแต่เพียงลายมือชื่อของ ช. กับจ่าศาลลงไว้เท่านั้นก็ถือได้ว่า ช. ได้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา274แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากไม่ยื่นผูกพันตามแผนประนอมหนี้
ก่อนจำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีก่อน จำเลยที่ 1ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์แล้ว อันทำให้เกิดมูลหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาด อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ แม้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จะยังไม่ถึงกำหนดชำระในขณะที่จำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะจำเลยที่ 1ยังไม่ผิดนัด โจทก์ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายคดีก่อนภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวจนได้มีการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 56 โจทก์จะนำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความผูกพันจำเลย: สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทนายทำไป จำเลยต้องรับผิดชอบหากไม่ได้ถอนทนาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ส. ทนายจำเลยทั้งสามร่วมกับฝ่ายโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสาม การที่ ส. ทนายจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสามมิได้รู้เห็นยินยอมหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามจะต้องไปว่ากล่าวกับ ส. เองเมื่อจำเลยทั้งสามตั้ง ส. เป็นทนายความดำเนินคดีแทนโดยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ตราบใดที่จำเลยทั้งสามยังมิได้ขอถอน ส.จากการเป็นทนายความของตนการกระทำของส. ในฐานะทนายความของจำเลยทั้งสามย่อมจะต้องผูกพันจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีผลผูกพัน แม้ยังมิได้ทำเป็นหนังสือ เมื่อมีการวางมัดจำและตกลงกันแล้ว
โจทก์ตกลงซื้อตึกแถวจากจำเลยและได้วางมัดจำไว้แล้วและข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยมีการตกลงกันว่าจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้จะยังไม่ได้ทำสัญญากันเป็นหนังสือ ก็ถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีขึ้นแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5991/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นเดิม คู่ความรายเดียวกัน คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพัน
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน สำหรับคดีนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ที่ดินพิพาท อำเภอวารินชำราบเคยเป็นโจทก์ฟ้อง บ.บิดาจำเลยว่า บ. ได้บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทางราชการได้สงวนหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการ บ. จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่สาธารณะ คดีดังกล่าวถึงที่สุด โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า พยานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ที่ทางการหวงห้ามไว้เพื่อสาธารณประโยชน์และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ปกครองดูแลสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายกลับมาฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นทายาทผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อจาก บ. เป็นคดีนี้อีกว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ปัจจุบันเป็นที่ราชพัสดุสืบต่อจาก บ. ขอให้บังคับขับไล่และจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของ บ. บิดาจำเลย โจทก์ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ นอกจากที่ดินพิพาททั้งสองคดีจะเป็นที่ดินแปลงเดียวกันแล้ว ประเด็นพิพาททั้งสองคดีก็เป็นอย่างเดียวกันว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้โจทก์จำเลยคดีนี้มิใช่เป็นคู่ความคนเดียวกับโจทก์จำเลยในคดีก่อน แต่โจทก์ในคดีนี้ก็เป็นผู้รับผิดชอบปกครองดูแลที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสืบต่อจากโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบสิทธิต่อจาก บ. บิดา ย่อมต้องถือว่าโจทก์จำเลยคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกันผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้มิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิต: การลดระยะเวลาโดยจำเลยผูกพันตาม
ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 วรรคสอง ไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191(เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาประกันชีวิตลงมาเป็นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตหลังต่ออายุ และผลผูกพันตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ยังมิได้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ คำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ ช.ทายาทของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะได้ ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191(เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้ เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตสมัครใจยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 865 วรรคสอง ลงมาเป็นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น ตามคำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตมีข้อความว่าหลังจากครบ 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตจำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือบอกเลิกข้อผูกพันในกรมธรรม์ฉบับนี้แต่ประการใด ซึ่งข้อความดังกล่าวผูกพันจำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้อนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องบอกล้างเสียในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2529 ฉะนั้นเมื่อจำเลยเพิ่งบอกล้างเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 จึงเป็นการมิได้บอกล้างโมฆียะกรรมเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้จะเกิดขึ้นหลังสัญญากู้เงินเดิม
จำเลยทั้งสองกู้เงินโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.1 ต่อมาได้ทำเอกสารหมาย จ.2 มีข้อความว่า ข้าพเจ้าได้กู้เงิน บ.(โจทก์) เป็นเงิน 100,000 บาท จะผ่อนส่งคืนให้หมดสิ้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 แล้วลงท้ายด้วยการลงชื่อของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นข้อความที่แสดงแจ้งชัดว่าจำเลยทั้งสองรับว่าเป็นหนี้เงินกู้โจทก์รายนี้จริง จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นถึงแม้การเรียกประชุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังผูกพันได้หากศาลยังไม่ได้เพิกถอน
ส. กรรมการของโจทก์ได้เรียกประชุมใหญ่โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการด้วยไม่ได้มีมติให้นัดเรียกประชุมใหญ่ การนัดเรียกประชุมใหญ่จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นส่วนบริษัท แต่หาทำให้การประชุมใหญ่และมติที่เกิดขึ้นเสียไปหรือตกเป็นโมฆะไม่ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ต้องถือว่าการนัดเรียกประชุมและการประชุมใหญ่ที่ได้ลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีซึ่งศาลยังไม่ได้พิพากษาเพิกถอน มีผลเป็นการนัดเรียกประชุมและประชุมใหญ่ตามกฎหมายแล้ว มติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย โจทก์โดยผู้ชำระบัญชีจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองหยุดประกอบกิจการในนามของโจทก์และส่งมอบเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ให้แก่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน vs. สัญญาผูกพัน - ความรับผิดตามสัญญาไถ่ถอนจำนอง
จำเลยและจำเลยร่วมทำสัญญากับโจทก์ว่า ตามที่โจทก์นำโฉนดที่ดินไปจำนองไว้แก่ธนาคาร เพื่อค้ำประกันหนี้ของบริษัท ฐ. มีกำหนดเวลา 1 ปี โดยจำเลยและจำเลยร่วมยอมรับผิดชอบเป็นลูกหนี้ร่วมกับบริษัท ฐ.หากบริษัทฐ.ผิดสัญญาไม่ไถ่ถอนจำนองให้โจทก์ จำเลยและจำเลยร่วมยอมรับผิดชอบยินดีไถ่ถอนให้และยินดีชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการจำนองให้โจทก์เช่นนี้ โจทก์เป็นเพียงผู้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของบริษัท ฐ.ลูกหนี้ของธนาคารเจ้าหนี้ โจทก์จึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ของธนาคารหาใช่เจ้าหนี้ของบริษัท ฐ. ไม่ ดังนั้นสัญญาที่จำเลยและจำเลยร่วมทำกับโจทก์จึงไม่เป็นสัญญาค้ำประกัน แต่เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่คู่กรณีอาจทำผูกพันและใช้บังคับระหว่างกันได้ตามกฎหมายเมื่อบริษัท ฐ. ไม่ชำระหนี้แก่ธนาคาร โจทก์จึงนำเงินชำระหนี้แทนบริษัท ฐ.และไถ่ถอนจำนองแล้วถือได้ว่าบริษัทฐ.ไม่ไถ่ถอนที่ดินที่จำนองให้โจทก์ตามที่จำเลยและจำเลยร่วมได้ให้สัญญาไว้ต่อโจทก์ซึ่งทำให้โจทก์เสียหายจำเลยและจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา