คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ขนส่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าสูญหาย แม้มีข้อจำกัดความรับผิดในใบตราส่ง
ก่อนที่เรือบรรทุกสินค้าจะมาถึงประเทศไทย จำเลยได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่าทำการติดต่อกับกรมเจ้าท่า ติดต่อกรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ครั้นเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยได้ติดต่อว่าจ้างขนถ่ายสินค้าลงจากเรือสินค้า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบว่าสินค้าได้มาถึงประเทศไทยแล้ว และรับใบตราส่งจากผู้ซื้อ แล้วออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อเพื่อนำไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในกรณีที่จะมีการส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยเรือของบริษัทเจ้าของเรือ จำเลยจะเป็นผู้ออกใบตราส่งให้ โดยใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับใบตราส่งของบริษัทดังกล่าว ในการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวนี้จำเลยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากค่าระวางการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวแม้บางอย่างจะกระทำการแทนผู้ขนส่งต่างประเทศ แต่ก็เป็นการเข้าลักษณะร่วมกันทำการขนส่งกับผู้ขนส่งต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของเรือ และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ซึ่งต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 618 ลักษณะ 8 เรื่องรับขนในฐานะที่เป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสาม
การที่ผู้ส่งสินค้ายอมรับใบตราส่งไปจากผู้ขนส่งนั้นจะถือว่า ผู้ส่งได้ตกลงด้วยชัดแจ้งกับข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบตราส่งไม่ได้ ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมาย 'ของมีค่า' ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 และความรับผิดของผู้ขนส่ง
คำว่า 'ของมีค่า' ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตร ฯลฯ เครื่องรับโทรทัศน์เป็นเพียงทรัพย์สินตามธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์: ผู้ส่งบรรจุและนับ (Shipper's Load and Count) ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดหากสินค้าสูญหายระหว่างที่ตู้สภาพเรียบร้อย
การขนส่งทางทะเลซึ่งมีลักษณะการส่งของเป็นตู้คอนเทนเนอร์และภายในบรรจุสินค้าไว้และใบตราส่งระบุข้อความว่า 'ผู้ส่งเป็นผู้บรรจุและนับ'(SHIPPER'SLOADANDCOUNT)นั้น หากว่าตู้คอนเทนเนอร์มาถึงจุดหมายปลายทางในสภาพเรียบร้อยโดยไม่ปรากฏว่ามีการเปิดในระหว่างทางมาก่อน แม้สินค้าจะขาดหายไปผู้ขนส่งก็ไม่ต้องรับผิดเนื่องจากสินค้ามิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของผู้ขนส่ง(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: ข้อตกลงที่ต้องชัดแจ้ง
กรณีรับขนส่งทางทะเลปรากฏว่าผู้ขายสัญชาติอเมริกันได้ส่งสินค้าประเภทอะไหล่รถแทรกเตอร์จำนวน2ตู้คอนเทนเนอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกามาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ผู้ซื้อที่กรุงเทพมหานครโดยบริษัทจำเลยสัญชาติเดนมาร์คซึ่งประกอบการพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นผู้ขนส่งจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าผู้รับขนจะไม่มีความรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเกินไปกว่า500เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อหีบห่อหรือหน่วยแล้วผู้ขายได้มอบใบตราส่งดังกล่าวให้แก่ธนาคารและธนาคารได้สลักหลังส่งมอบให้แก่ผู้ซื้ออีกชั้นหนึ่งผู้ซื้อได้เอาสินค้าดังกล่าวประกันภัยไว้กับโจทก์เมื่อเรือจำเลยมาถึงประเทศไทยผู้ซื้อไปรับสินค้าปรากฏว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตกสินค้าที่บรรจุมาส่วนหนึ่งสูญหายโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองกรณีนี้ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับตามกฎหมายไทยหามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481ไม่โดยให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ใบรับใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆทำนองนั้นซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้นถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใดความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งการที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่า500เหรียญสหรัฐอเมริกาก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดนั่นเองเมื่อไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วยจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่งโจทก์จึงหาผูกพันให้ต้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียง500เหรียญสหรัฐอเมริกาไม่แต่มีสิทธิเรียกตามความเสียหายที่แท้จริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดไปรษณีย์: รับประกันภัยตามจริง, ไม่เกิน 3,950 บาท, ผู้ขนส่งชั้นสองไม่ต้องรับผิด
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่1มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการไปรษณีย์เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชนจึงมิใช่ผู้ขนส่งตามป.พ.พ.และตามป.พ.พ.มาตรา609การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยต้องบังคับตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2519และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520 ตามข้อบังคับของไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ของที่ฝากส่งทางไปรษณีย์รับประกันมีได้เฉพาะจดหมายรับประกันการขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุหากมีราคามากกว่า3,950บาทก็ขอให้รับประกันได้ไม่เกินกว่านั้นฉะนั้นเมื่อผู้ฝากส่งได้ฝากส่งของประเภทจดหมายรับประกันและของที่ฝากส่งสูญหายจำเลยที่1คงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในไปรษณียนิเทศเท่าที่รับประกันไว้เท่านั้นหาต้องรับผิดจนเต็มราคาสิ่งของที่ฝากส่งไม่ บริษัทสายการบินอลิตาเลีย จำกัดจำเลยที่2ขนส่งของให้จำเลยที่1ตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งและมิได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์จำเลยที่2จึงมิใช่ผู้รับขนส่งให้ผู้ฝากส่งและกรณีมิใช่การขนส่งหลายทอดเมื่อจำเลยที่2ขนส่งของไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยโดยไม่ปรากฏว่าได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลกรณีเรือล่มจากคลื่น: เหตุสุดวิสัยต้องพิสูจน์ความร้ายแรงผิดปกติ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายหรือบุบสลาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อปรากฏว่าเรือลำเลียงที่จำเลยที่ 1 ใช้ขนส่งจอดอยู่ที่ท่ากำลังบรรทุกสินค้า มีคลื่นจากเรืออื่นมาทำให้เรือลำเลียงนั้นโคลงและล่มลง เมื่อไม่ปรากฏว่าคลื่นนั้นมีความร้ายแรงผิดปกติ จนไม่อาจคาดหมายหรือไม่อาจป้องกันมิให้เรือลำเลียงล่มได้ จำเลยที่ 1 ย่อมคาดหมายได้ว่าจะมีคลื่นมากระทบเรือลำเลียง และอาจมีการระมัดระวังมิให้เรือลำเลียงล่มเพราะถูกคลื่นกระทบได้การที่เรือล่มจึงไม่ใช่ผลบังคับที่ไม่อาจป้องกันได้ และมิใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งสินค้าหลายทอด: ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยมีหน้าที่ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อทราบชื่อเรือ กำหนดเรือเข้า จองท่าเทียบเรือ ติดต่อกรมศุลกากรเพื่อตรวจสินค้าและทราบราคาสินค้า ติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองเกี่ยวกับลูกเรือ แจ้งกรมเจ้าท่าเพื่อส่งเรือนำร่องและแจ้งให้เจ้าของสินค้านำใบตราส่งมามอบแก่จำเลย และรับใบปล่อยสินค้าที่จำเลยลงลายมือชื่อเพื่อไปรับสินค้าจากการท่าเรือฯ และรับจองระวางสินค้าที่จะออกจากท่าเรือแห่งประเทศไทยไปยังประเทศอื่น ซึ่งจำเลยจะลงลายมือชื่อในใบตราส่งแทนเจ้าของเรือ ดังนี้ เป็นวิธีการของการรับขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 615 และ มาตรา 622 มีลักษณะร่วมกันในการขนส่ง สินค้ากับ บริษัทเดินเรือต่างประเทศ และเป็นการขนส่ง หลายทอดโดยจำเลย เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จึงต้อง ร่วมรับผิดในการสูญหาย หรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งตาม มาตรา 618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: ผู้ขนส่ง vs ผู้ขนสินค้า
คำว่า "ผู้ขนส่ง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 610 หมายถึงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งของหรือสินค้า ซึ่งผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงให้ผู้ขนส่งนำของหรือสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง และมีหน้าที่จะต้องเป็นผู้ทำหรือออกใบตราส่งให้ในกรณีที่ผู้ส่งเรียกเอาใบตราส่ง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดังกล่าว จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่ง ซึ่งต่างกับผู้ทำหน้าที่ขนหรือแบกหามสินค้าจากเรือขึ้นท่าเรือและจากท่าเรือลงบรรทุกในเรือ
หมายเหตุ ตามแนวฎีกาที่ 1665/2525 และฎีกาที่ 3630/2525

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับการขนถ่ายสินค้า
คำว่า ผู้ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 610 หมายถึงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งของหรือสินค้า ซึ่งผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงให้ผู้ขนส่งนำของหรือสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งต่างกับผู้ทำหน้าที่ขนหรือแบกหามสินค้าจากเรือขึ้นท่าเรือและจากท่าเรือลงบรรทุกในเรือ
(หมายเหตุตามแนวฎีกาที่ 16652525 และฎีกาที่ 3630/2525)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดชอบของผู้ขนส่ง: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความตกลงของคู่กรณี
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า การที่โจทก์จ้างจำเลยให้ส่งของ จำเลยไม่ได้แจ้งเรื่องจำกัดความรับผิดให้โจทก์ทราบ และโจทก์ไม่ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าโจทก์ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งแล้วเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน20,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
of 19