พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6153/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและการแปลงหนี้: สิทธิของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการทำสัญญาใหม่
จำเลยที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อการทำหนังสือรับสภาพหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสิทธิเรียกร้องเป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 4 จึงยังต้องผูกพันในฐานะตามสัญญาค้ำประกันที่ตนทำไว้กับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอาญา: ผู้ค้ำประกันไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง แม้ถูกเช็คเด้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ส่วนจำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ จะถือว่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ต้องรับฟังข้ออุทธรณ์ของโจทก์ฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยหาได้ไม่ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้เช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย, สิทธิบังคับคดีจำนอง, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง
จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การข้อ 2 ว่า จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ และไม่เคยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยคนใดที่มีภาระจำต้องชำระหนี้แก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 5 จะมิได้ให้เหตุผลหรือรายละเอียดแห่งการปฏิเสธไว้แต่คำให้การของจำเลยที่ 2และที่ 5 ดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การต่อไปในข้อที่ 9 ก็เป็นเพียงคำให้การที่หยิบยกข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นต่อสู้ว่า หากจำเลยที่ 2 และที่ 5 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 5 ก็ยังหลุดพ้นจากความรับผิดต่อผู้ให้กู้ โดยเหตุที่ผู้ให้กู้ได้ปล่อยให้ทรัพย์จำนองหลุดพ้น มิใช่เป็นคำให้การที่ยอมรับ หรือถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 รับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงมิได้ขัดแย้งกันเอง หรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ และต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การปฏิเสธในเรื่องการทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นประเด็นที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5ทำสัญญาค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานยังมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่า จำเลยที่ 2 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เป็นผลให้คดีโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน แม้ตามสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าผู้กู้ได้กู้เงินจากโจทก์จำนวน 3,000,000 บาท และในขณะทำหนังสือสัญญานี้ผู้กู้ได้รับเงินไปครบถ้วนและเรียกร้อยแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์และที่โจทก์นำสืบได้ความว่า ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์เพียง 2,000,000 บาทและหลังจากนั้นในวันที่ 20 มิถุนายน 2526 จำเลยที่ 1ได้รับเงินไปอีก 1,000,000 บาท กรณีหาจำเป็นที่โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ในภายหลังอีกไม่ เพราะโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือในจำนวนเงิน 3,000,000 บาทที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นผู้กู้ยืมมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แล้ว โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลถึงการรับเงินตามจำนวนที่ระบุในสัญญากู้เงินได้ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส.ซึ่งมิได้เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจหลักทรัพย์และเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 14 ต่อปี มาปรับแก่คดี เมื่อสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส. ตามเอกสารหมาย จ.6 กำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ19.5 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินจากจำเลยที่ 1 และไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้จำนองในอัตราเดียวกันด้วยได้ แต่โจทก์ยังมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 แม้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส.ตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์และโจทก์ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระดอกเบี้ยเสร็จสิ้นแล้วจึงนำมาชำระต้นเงิน ซึ่งชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 เช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้ว แม้ดอกเบี้ยนั้นจะเกินอัตราตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ ก็มีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ ที่จำเลยที่ 5 อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นรับฟังตารางคำนวณดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 มาวินิจฉัยเป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ไม่ชอบ เพราะเป็นเอกสารที่ทำขึ้นลอย ๆ นั้น เมื่อศาลศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1ได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ โดยมิได้นำเอกสารหมาย จ.13 มาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่โจทก์ ที่จำเลยที่ 5ฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาอีก ศาลฎีกาจึงไม่จึงต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้, ดอกเบี้ยทบต้น, สิทธิเรียกดอกเบี้ยเกิน 15%, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 21ต่อปี ตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อสัญญากู้เงินได้มีการตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 และยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 1 ปีทบเข้ากับต้นเงินและให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ตกลงในสัญญากู้เงินต่อไปด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่ตกลงในสัญญาและคิดดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 1 ปี ทบต้นได้ต่อไปจนกว่าจะชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้นการที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นดอกเบี้ยที่ทบนั้นจึงกลายเป็นเงินต้นไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกัน อายุความสะดุดหยุดจากรับสภาพหนี้ ผู้ค้ำประกันจำกัดความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัดต่อกัน มีกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่ 20 กันยายน 2526ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 20 กันยายน 2527 จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 และหลังจากนั้นคงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนตลอดมา ทั้งยอดหนี้ในวันครบกำหนดสัญญาก็มีจำนวนสูงกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญา ประกอบกับสัญญาครบกำหนดแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอันแสดงว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 1 ครั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2530 แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชี เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันนับแต่วันที่ 20 กันยายน 2527 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดที่จำเลยที่ 1จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนไม่
การที่จำเลยที่ 1 โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 23เมษายน 2530 เป็นการรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา193/14 (มาตรา 172 เดิม) และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน2530 เป็นต้นไป หนี้รายนี้เป็นบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ได้รับสภาพหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.ให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523ดังนี้ หลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
สำหรับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำกัดวงเงินจำนวน 75,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ย แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 75,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วยไม่เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์เพียงใดผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2527 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2527 และดอกเบี้ยไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 21 กันยายน 2527 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
การที่จำเลยที่ 1 โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 23เมษายน 2530 เป็นการรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา193/14 (มาตรา 172 เดิม) และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน2530 เป็นต้นไป หนี้รายนี้เป็นบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ได้รับสภาพหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.ให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523ดังนี้ หลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
สำหรับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำกัดวงเงินจำนวน 75,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ย แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 75,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วยไม่เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์เพียงใดผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2527 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2527 และดอกเบี้ยไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 21 กันยายน 2527 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี การรับสภาพหนี้ และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัดต่อกัน มีกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่ 20 กันยายน 2526 ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 20 กันยายน 2527 จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 และหลังจากนั้นคงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนตลอดมา ทั้งยอดหนี้ในวันครบกำหนดสัญญาก็มีจำนวนสูงกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญา ประกอบกับสัญญาครบกำหนดแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอันแสดงว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2530แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชี เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันนับแต่วันที่ 20 กันยายน2527 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนไม่
การที่จำเลยที่ 1 โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 23 เมษายน 2530 เป็นการรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(มาตรา 172 เดิม) และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน2530 เป็นต้นไป หนี้รายนี้เป็นบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม2537 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้รับสภาพหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามพระราชบัญญัติให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้ หลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
สำหรับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำกัดวงเงินจำนวน 75,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ย แม้จะปรากฏว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 75,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์เพียงใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2527 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2527 และดอกเบี้ยไม่ทบต้น นับแต่วันที่ 21 กันยายน 2527 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
การที่จำเลยที่ 1 โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 23 เมษายน 2530 เป็นการรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(มาตรา 172 เดิม) และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน2530 เป็นต้นไป หนี้รายนี้เป็นบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม2537 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้รับสภาพหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามพระราชบัญญัติให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้ หลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
สำหรับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำกัดวงเงินจำนวน 75,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ย แม้จะปรากฏว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 75,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์เพียงใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2527 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2527 และดอกเบี้ยไม่ทบต้น นับแต่วันที่ 21 กันยายน 2527 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินส่วนตัวของภริยาเมื่อสามีเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ร่วม และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินส่วนตัว
หนังสือให้ความยินยอมของผู้ร้องมีข้อความให้คู่สมรสของผู้ร้องคือจำเลยที่2มีอำนาจทำนิติกรรมทุกชนิดเกี่ยวกับการจัดสินสมรสของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1477และผู้ร้องยังให้ความยินยอมแก่จำเลยที่2ให้มีอำนาจทำนิติกรรมทุกชนิดกับธนาคารโจทก์ได้โดยให้ถือเสมือนหนึ่งเป็นการกระทำของผู้ร้องเองเมื่อจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัทบ. แก่โจทก์โดยผู้ร้องได้ให้ความยินยอมในภายหลังถือได้ว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2เป็นผู้ก่อขึ้นในระหว่างสมรสผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแล้วจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490(4)แต่สินส่วนตัวของภริยาไม่ใช่ทรัพย์ที่เป็นของภริยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา282วรรคท้ายโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์แม้หนี้ที่จำเลยที่2เป็นหนี้โจทก์จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่2กับผู้ร้องโจทก์ไม่มีอำนาจยึดที่พิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกัน เมื่อผู้ให้กู้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการฟ้องร้อง
ตามหนังสือสัญญากู้ที่จำเลยผู้กู้ได้กู้ยืมเงินไปจาก ท.โดยมีโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันมีข้อตกลงว่า จำเลยผู้กู้ยอมรับผิดในค่าพาหนะและค่าเสียหายต่าง ๆซึ่งผู้ให้กู้ต้องเสียไปในการทวงถาม ฟ้องร้อง จำเลยยอมใช้ให้ตามที่เสียหายจนครบถ้วน ต่อมา ท.นำสัญญากู้ฉบับนี้ไปฟ้องจำเลยและโจทก์ โจทก์ได้ชำระเงินตามคำพิพากษา 89,220 บาท และค่าใช้จ่ายอย่างอื่น 2,080 บาท ให้ ท.แม้เงินส่วนนี้ ท.จะมิได้เรียกร้องไว้ในขณะฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวน2,080 บาท ให้ ท.ไปจริง จึงรวมเป็นต้นเงินทั้งหมดที่โจทก์ชำระให้ ท.ไปโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยให้จำเลยชำระเงินจำนวน 91,300 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 693
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันสัญญาว่าจ้าง: การคืนหนังสือค้ำประกันไม่ใช่เหตุระงับหนี้เด็ดขาด ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
แม้ผู้ค้ำประกันสัญญาว่าจ้างจะได้รับการเวนคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างซึ่งเป็นเอกสารแห่งหนี้ เข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ.มาตรา 327วรรคสาม ว่า หนี้เป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อผู้รับจ้างยังมิได้ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างแก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวระงับไปด้วยเหตุประการอื่น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันตามป.พ.พ.มาตรา 698 ถึง 701 โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างได้ก็ตาม แต่หากธนาคารคืนหลักทรัพย์ที่ผู้รับจ้างนำมาวางเป็นหลักประกัน เนื่องจากผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันมาคืน ธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน โดยเฉพาะคดีนี้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของโจทก์คือจำเลยทั้งสามคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้รับจ้างไปเองยากที่โจทก์จะให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิด ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยทั้งสามจึงต้องมีส่วนรับผิดตามสัญญาว่าจ้างร่วมกับผู้รับจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำและการถอนฟ้องไม่กระทบสิทธิโจทก์ในการฟ้องใหม่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล. โจทก์ได้ถอนฟ้องโดยระบุในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนฟ้องเนื่องจากจำเลยทั้งสองตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนโดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยต่อไปอีก ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แก่โจทก์แสดงว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกัน มิใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไป และที่โจทก์ถอนฟ้องในคดีที่เคยฟ้องจำเลยทั้งสามก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
การชำระหนี้กู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองมาแสดงจำเลยร่วมเพียงปากเดียวมาเบิกความลอย ๆ ว่าได้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ในส่วนของดอกเบี้ยสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและ ล. ระบุว่าลูกหนี้ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปีผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว
การชำระหนี้กู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองมาแสดงจำเลยร่วมเพียงปากเดียวมาเบิกความลอย ๆ ว่าได้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ในส่วนของดอกเบี้ยสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและ ล. ระบุว่าลูกหนี้ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปีผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว