พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4451/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นรู้เห็นยินยอมทำบัญชีเท็จ ไม่เป็นผู้เสียหาย และไม่ขาดประโยชน์อันควร จึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ. ห้างหุ้นส่วนฯ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยทำนองเดียวกันว่า โจทก์รู้เห็นยินยอมให้บริษัทที่โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและจำเลยเป็นกรรมการทำบัญชี 2 ชุดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสียภาษีอันเป็นการกระทำผิดกฎหมายโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีนี้ได้ และเหตุที่ไม่ได้แบ่งเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเนื่องจากต้องนำเงินไปใช้ขยายกิจการของบริษัทผู้ถือหุ้นซึ่งรวมทั้งโจทก์มิได้ขาดประโยชน์อันควรได้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามฟ้องเช่นนี้ ถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
จำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัททำบัญชีเท็จว่าบริษัทขาดทุนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีอันเป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรู้เห็นยินยอม การทำบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการหลอกลวงให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้ ไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42
จำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัททำบัญชีเท็จว่าบริษัทขาดทุนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีอันเป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรู้เห็นยินยอม การทำบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการหลอกลวงให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้ ไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732-3733/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมายและอำนาจฟ้องกรรมการบริษัทให้แก้ชื่อผู้ถือหุ้น
โจทก์รับโอนหุ้นบริษัทมาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัทให้แก้ชื่อผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นจากผู้ถือหุ้น เดิมเป็นชื่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732-3733/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถือหุ้นเดิมมีอำนาจฟ้องบังคับให้แก้ชื่อในทะเบียนผู้ถือหุ้น
โจทก์รับโอนหุ้นบริษัทมาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัทให้แก้ชื่อผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมเป็นชื่อโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอื่นเพื่อวินิจฉัยคดีปัจจุบัน: ความเกี่ยวพันของสถานะผู้ถือหุ้นในการประชุม
ข้อเท็จจริงตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 7663/2524 ของศาลชั้นต้นที่ว่า ด. โจทก์ได้ขายหุ้นจำนวน 3398 หุ้น ให้แก่ กว.จำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวไปแล้วใช่หรือไม่ มีความเกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนี้โดยตรง แม้ว่าโจทก์ทั้งสองคดีจะเป็นคนละคนกันและมิใช่คู่ความในคดีเดียวกันก็ตาม เพราะก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยคดีนี้ว่าการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2522 ของบริษัทจำเลยมีผู้ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของหุ้นทั้งหมดหรือไม่นั้น จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ด. ยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยขณะที่บริษัทจำเลยจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2522 หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีแพ่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวที่ฟังว่า ด. ได้ขายหุ้นจำนวน 3,398 หุ้นให้แก่ ม.และ ม. ได้โอนหุ้นจำนวนดังกล่าวให้แก่ ว. มาวินิจฉัยตัดสินในคดีนี้ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ตรงกับประเด็นที่ได้กำหนดหน้าที่นำสืบและภาระการพิสูจน์ไว้ในคดีนี้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยองค์ประชุมผู้ถือหุ้น: การพิจารณาข้อมูลการซื้อขายหุ้นที่เกี่ยวข้องกับสถานะผู้ถือหุ้น ณ วันประชุม
ข้อเท็จจริงตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่7663/2524ของศาลชั้นต้นที่ว่าด.โจทก์ได้ขายหุ้นจำนวน3398หุ้นให้แก่ว.จำเลยที่3ในคดีดังกล่าวไปแล้วใช่หรือไม่มีความเกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนี้โดยตรงแม้ว่าโจทก์ทั้งสองคดีจะเป็นคนละคนกันและมิใช่คู่ความในคดีเดียวกันก็ตามเพราะก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยคดีนี้ว่าการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่1/2522ของบริษัทจำเลยมีผู้ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ70ของหุ้นทั้งหมดหรือไม่นั้นจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าด.ยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยขณะที่บริษัทจำเลยจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่1/2522หรือไม่ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีแพ่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวที่ฟังว่าด.ได้ขายหุ้นจำนวน3,398หุ้นให้แก่ม.และม.ได้โอนหุ้นจำนวนดังกล่าวให้แก่ว.มาวินิจฉัยตัดสินในคดีนี้จึงเป็นการวินิจฉัยที่ตรงกับประเด็นที่ได้กำหนดหน้าที่นำสืบและภาระการพิสูจน์ไว้ในคดีนี้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่ทุนทรัพย์น้อยกว่า 20,000 บาท และการสันนิษฐานความเป็นผู้ถือหุ้น
ผู้ร้องอุทธรณ์ว่าผู้ร้องไม่ได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้มีการรับโอนหุ้นตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 จึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทลูกหนี้ ตามมาตรา 1141ถือว่าผู้ร้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่ว่า ผู้ร้องไม่ได้รับโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้ และไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทลูกหนี้ที่ผู้ร้องยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้าง ก็เพียงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทลูกหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงนั่นเอง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 20,000 บาท คดีย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามมาตรา 224 และผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกา ตามมาตรา 247 ประกอบมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้น การหักกลบลบหนี้ และข้อจำกัดการหักหนี้กับบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้น
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 บัญญัติยกเว้นเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341,342 เท่านั้นว่า หนี้ซึ่งหักกลบลบกันไม่ได้ตาม มาตรา 341,342 นั้นย่อม หักกลบลบกันได้ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไม่รวมถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119 ซึ่งบัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ถือหุ้นหักหนี้ กับบริษัท ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) จึงจะขอหักหนี้ค่าพิมพ์หนังสือที่บริษัทลูกหนี้(จำเลย) เป็นหนี้อยู่กับหนี้ค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยอ้างเหตุจากความขัดแย้งในฐานะผู้ถือหุ้น ศาลยืนตามศาลแรงงานกลางให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน
การที่โจทก์กับพวกฟ้อง ป. กรรมการผู้จัดการของจำเลยกับพวกและโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนคำร้องเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวเป็นกรณีที่โจทก์กระทำในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัทจำเลยมิใช่กระทำในฐานะที่เป็นลูกจ้าง การที่โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฟ้อง ป. กับพวกซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นเช่นเดียวกับโจทก์ ถือไม่ได้ว่าป. กับพวกอยู่ในฐานะที่เป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยจะนำเหตุนี้เป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์หาได้ไม่
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 49ให้อำนาจ ศาลที่จะวินิจฉัยว่าลูกจ้างกับนายจ้างสามารถร่วมกันทำงานต่อไปได้หรือไม่ โดยคำนึงถึงสภาพของสถานประกอบการและความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ถ้าเห็นว่าพอทำงานร่วมกันต่อไปได้ ก็จะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน ถ้าเห็นว่าไม่อาจร่วมกันทำงานต่อไปได้ก็จะกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแทนการบังคับให้รับกลับเข้าทำงานเมื่อคดีได้ความว่าโจทก์กับกรรมการบริษัทจำเลยเป็นพี่น้อง กันการที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจพิจารณาถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้ และสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานจึงไม่ใช่การวินิจฉัยคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 49ให้อำนาจ ศาลที่จะวินิจฉัยว่าลูกจ้างกับนายจ้างสามารถร่วมกันทำงานต่อไปได้หรือไม่ โดยคำนึงถึงสภาพของสถานประกอบการและความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ถ้าเห็นว่าพอทำงานร่วมกันต่อไปได้ ก็จะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน ถ้าเห็นว่าไม่อาจร่วมกันทำงานต่อไปได้ก็จะกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแทนการบังคับให้รับกลับเข้าทำงานเมื่อคดีได้ความว่าโจทก์กับกรรมการบริษัทจำเลยเป็นพี่น้อง กันการที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจพิจารณาถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้ และสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานจึงไม่ใช่การวินิจฉัยคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การกระทำในฐานะผู้ถือหุ้นไม่เป็นเหตุเลิกจ้าง ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง
การที่โจทก์กับพวกฟ้อง ป. กรรมการผู้จัดการของจำเลยกับพวกและโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนคำร้องเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวเป็นกรณีที่โจทก์กระทำในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัทจำเลยมิใช่กระทำในฐานะที่เป็นลูกจ้าง การที่โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฟ้อง ป. กับพวกซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นเช่นเดียวกับโจทก์ ถือไม่ได้ว่า ป. กับพวกอยู่ในฐานะที่เป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยจะนำเหตุนี้เป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์หาได้ไม่
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าลูกจ้างกับนายจ้างสามารถร่วมกันทำงานต่อไปได้หรือไม่ โดยคำนึงถึงสภาพของสถานประกอบการและความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ถ้าเห็นว่าพอทำงานร่วมกันต่อไปได้ ก็จะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานถ้าเห็นว่าไม่อาจร่วมกันทำงานต่อไปได้ก็จะกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแทนการบังคับให้รับกลับเข้าทำงาน เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์กับกรรมการบริษัทจำเลยเป็นพี่น้อง กัน การที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจพิจารณาถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้ และสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน จึงไม่ใช่การวินิจฉัยคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าลูกจ้างกับนายจ้างสามารถร่วมกันทำงานต่อไปได้หรือไม่ โดยคำนึงถึงสภาพของสถานประกอบการและความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ถ้าเห็นว่าพอทำงานร่วมกันต่อไปได้ ก็จะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานถ้าเห็นว่าไม่อาจร่วมกันทำงานต่อไปได้ก็จะกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแทนการบังคับให้รับกลับเข้าทำงาน เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์กับกรรมการบริษัทจำเลยเป็นพี่น้อง กัน การที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจพิจารณาถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้ และสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน จึงไม่ใช่การวินิจฉัยคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นและการสืบตำแหน่งนายจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1. เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1เช่ามาจากผู้อื่น. จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1. เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง. บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่. จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล. ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน. แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม. แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา. จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย.จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่.