พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขืนหมายเรียกของพนักงานสอบสวน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 168
เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน จำเลยย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (2)แล้ว ซึ่งในชั้นสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนจะบังคับให้ผู้ต้องหาให้ถ้อยคำใด ๆ ไม่ได้ และมาตรา 135 ก็บัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนล่อลวงหรือขู่เข็ญผู้ต้องหาให้ให้การอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า หมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหามาเพื่อให้การ ไม่เข้าลักษณะเป็นคำบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168
กรณีผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(3) บัญญัติทางแก้ไว้ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ เป็นการลงโทษอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่า เจตนารมย์ของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกด้วยไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)
กรณีผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(3) บัญญัติทางแก้ไว้ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ เป็นการลงโทษอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่า เจตนารมย์ของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกด้วยไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาประกันตัว: พนักงานสอบสวนในฐานะบุคคลธรรมดาและหน้าที่ตามกฎหมาย
พนักงานสอบสวนเป็นบุคคลธรรมดา โดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำสัญญาประกันได้จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันได้
นายประกันได้รับหนังสือให้ส่งตัวผู้ต้องหาภายหลังกำหนดวันที่จะต้องส่งตัวผู้ต้องหา นายประกันยังมีหน้าที่ส่งตัวผู้ต้องหาในเวลาต่อมา การที่นายประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการผิดสัญญาประกัน
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 112 มิได้บัญญัติถึงกำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาไว้ก็ตาม แต่เป็นที่เข้าใจว่านายประกันจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดที่พนักงานสอบสวนเรียกให้ส่งตัว
นายประกันได้รับหนังสือให้ส่งตัวผู้ต้องหาภายหลังกำหนดวันที่จะต้องส่งตัวผู้ต้องหา นายประกันยังมีหน้าที่ส่งตัวผู้ต้องหาในเวลาต่อมา การที่นายประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการผิดสัญญาประกัน
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 112 มิได้บัญญัติถึงกำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาไว้ก็ตาม แต่เป็นที่เข้าใจว่านายประกันจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดที่พนักงานสอบสวนเรียกให้ส่งตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวนในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา และการผิดสัญญาจากการไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด
พนักงานสอบสวนเป็นบุคคลธรรมดา โดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำสัญญาประกันได้ จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันได้
นายประกันได้รับหนังสือให้ส่งตัวผู้ต้องหาภายหลังกำหนดวันที่จะต้องส่งตัวผู้ต้องหา นายประกันยังมีหน้าที่ส่งตัวผู้ต้องหาในเวลาต่อมา การที่นายประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการผิดสัญญาประกัน
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 มิได้บัญญัติถึงกำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาไว้ก็ตาม แต่เป็นที่เข้าใจว่านายประกันจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดที่พนักงานสอบสวนเรียกให้ส่งตัว
นายประกันได้รับหนังสือให้ส่งตัวผู้ต้องหาภายหลังกำหนดวันที่จะต้องส่งตัวผู้ต้องหา นายประกันยังมีหน้าที่ส่งตัวผู้ต้องหาในเวลาต่อมา การที่นายประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการผิดสัญญาประกัน
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 มิได้บัญญัติถึงกำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาไว้ก็ตาม แต่เป็นที่เข้าใจว่านายประกันจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดที่พนักงานสอบสวนเรียกให้ส่งตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637-638/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องหาโดยไม่มีอำนาจตามประกาศคณะปฏิวัติ และการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของพนักงานสอบสวน
โจทก์ถูกจับหาว่าวิวาทชกต่อยกัน ตำรวจเปรียบเทียบสั่งปรับไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอได้สั่งให้ควบคุมตัวโจทก์ไว้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 อีก 30วัน โดยมิได้มีการสอบสวนเกี่ยวกับพฤติการณ์บุคคลอันธพาลแต่อย่างใด ดังนี้ ย่อมเป็นการแสดงว่า ไม่มีการสอบสวนในข้อหาข้อใดแก่โจทก์อีก อำนาจควบคุมตัวโจทก์ 30 วันจึงไม่เกิด จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การเท็จในชั้นสอบสวน การพิสูจน์ความเท็จจากคำให้การที่ไม่สอดคล้องกัน และผลกระทบต่อพนักงานสอบสวน
การที่จะพิสูจน์ถ้อยคำของบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้เห็นเหตุการณ์ใดๆ ว่าเป็นเท็จนั้นไม่จำต้องมีประจักษ์พยานมายืนยันโดยตรงว่าบุคคลนั้นมิได้เห็นเหตุการณ์เช่นนั้นเสมอไปในบางกรณีรายละเอียดแห่งถ้อยคำของผู้นั้นโดยลำพังหรือประกอบด้วยพฤติการณ์ของผู้นั้นเองย่อมพิสูจน์ได้ในตัวว่าผู้นั้นกล่าวคำเท็จ
ฟ้องว่าจำเลยให้การเท็จในคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,172 เมื่อพิจารณาได้ความตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา172
ฟ้องว่าจำเลยให้การในครั้งแรกว่า จำเลยได้ยินเสียงปืน อีกสักครู่ก็เห็น ต.ถือปืนสั้นกับ ท.และจ.โผล่ออกมาจากข้างถนนแล้วตอนท้ายจำเลยว่า เห็นเหตุการณ์ตั้งแต่ ต. กับพวกใช้ปืนยิงด้วยต่อมาจำเลยให้การในครั้งหลังว่า ผู้ตายขี่จักรยานหนี ต.กับพวกท. และ จ. วิ่งไล่ติดตามไป ผู้ตายล้มลง ท. กับ จ. วิ่งตรงไปที่ผู้ตายพอดี ต. เหลียวมาทางจำเลยแล้วร้องบอก ท. กับ จ. ถ้อยคำให้การนี้เป็นเท็จทั้งสิ้น ดังนี้ แม้ศาลจะฟังว่าเฉพาะคำให้การในครั้งหลังเป็นความเท็จเพียงตอนเดียว ก็ลงโทษตามมาตรา172 ได้
ฟ้องว่าจำเลยให้การเท็จในคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,172 เมื่อพิจารณาได้ความตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา172
ฟ้องว่าจำเลยให้การในครั้งแรกว่า จำเลยได้ยินเสียงปืน อีกสักครู่ก็เห็น ต.ถือปืนสั้นกับ ท.และจ.โผล่ออกมาจากข้างถนนแล้วตอนท้ายจำเลยว่า เห็นเหตุการณ์ตั้งแต่ ต. กับพวกใช้ปืนยิงด้วยต่อมาจำเลยให้การในครั้งหลังว่า ผู้ตายขี่จักรยานหนี ต.กับพวกท. และ จ. วิ่งไล่ติดตามไป ผู้ตายล้มลง ท. กับ จ. วิ่งตรงไปที่ผู้ตายพอดี ต. เหลียวมาทางจำเลยแล้วร้องบอก ท. กับ จ. ถ้อยคำให้การนี้เป็นเท็จทั้งสิ้น ดังนี้ แม้ศาลจะฟังว่าเฉพาะคำให้การในครั้งหลังเป็นความเท็จเพียงตอนเดียว ก็ลงโทษตามมาตรา172 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน-บุคคลธรรมดา และการทำให้เดือดร้อนรำคาญ กรณีจำเลยด่าพนักงานสอบสวนเชื่อมโยงถึงอัยการ
พนักงานสอบสวนจับจำเลยมาโดยอัยการผู้ช่วยแจ้งความว่าถูกจำเลยด่าต่อมาจำเลยไปด่าพนักงานสอบสวนด้วยถ้อยคำหยาบคายและมีความหมายว่า พนักงานสอบสวนนั้นเป็นขี้ข้าหรือลูกน้องอัยการ ทำงานอยู่ใต้อาณัติของอัยการ ดังนี้เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตามมาตรา 136 และเมื่อเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานอยู่เช่นนี้แล้วก็ไม่เข้าบทที่จะลงโทษจำเลยฐานดูหมิ่นบุคคลธรรมดาตามมาตรา 393 อีก
และการที่จำเลยด่าซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งที่หน้าประตูบ้านผู้เสียหาย ในเวลากลางดึกอันเป็นเวลาหลับนอนของผู้เสียหายซึ่งอยู่ในบ้าน ถือได้ว่าเป็นการทำให้ผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อน รำคาญ การกระทำเช่นนี้จึงผิดมาตรา 397 ด้วย แต่นับว่าเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 136 แต่บทเดียว
และการที่จำเลยด่าซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งที่หน้าประตูบ้านผู้เสียหาย ในเวลากลางดึกอันเป็นเวลาหลับนอนของผู้เสียหายซึ่งอยู่ในบ้าน ถือได้ว่าเป็นการทำให้ผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อน รำคาญ การกระทำเช่นนี้จึงผิดมาตรา 397 ด้วย แต่นับว่าเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 136 แต่บทเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดเรือของกลางโดยพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญา ไม่ถือเป็นการละเมิด
พนักงานสอบสวนยึดเรือของกลางไว้เกี่ยวกับคดีอาญาเพื่อดำเนินการสอบสวย โดยสมควรภายในกรอบอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 ย่อมไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ และการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ไม่กี่ยวข้อง ไม่ถือเป็นเหตุให้การร้องทุกข์ไม่ชอบ
การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้ (อ้างฎีกาที่ 755/2502) และกฎหมายก็ไม่ได้บังคับให้ร้องทุกข์ได้เฉพาะต่อพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจเสมอไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์และการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ไม่ได้รับมอบหมายอำนาจ
การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้(อ้างฎีกาที่ 755/2502) และกฎหมายก็ไม่ได้บังคับให้ร้องทุกข์ได้เฉพาะต่อพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจเสมอไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับคำร้องทุกข์: เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจำกัดเฉพาะพนักงานสอบสวนและฝ่ายปกครอง
เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ได้ตามมาตรา 2(17) นั้น ได้แก่พนักงานสอบสวนกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา 123,124 เท่านั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่พนักงานสอบสวนและพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา 2(16)และ 2(17)