พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี การส่งหมายแจ้งคำฟ้องและหมายนัดพยานไปยังภูมิลำเนาจำเลย
เจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้จำเลยยื่นคำให้การให้แก่ภริยาจำเลยซึ่งอยู่บ้านหลังเดียวกันกับจำเลยทั้งได้ปิดหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบที่บ้านหลังดังกล่าวโดยชอบถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำฟ้องกำหนดเวลายื่นคำให้การและวันเวลานัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้วเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การในกำหนดและมิได้ไปศาลชั้นต้นตามวันเวลานัดสืบพยานโจทก์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องจำเลยก็ตกเป็นผู้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและ จงใจขาดนัดพิจารณา ไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยได้ออกจากภูมิลำเนานำวัวไปเลี้ยงยังต่างท้องที่ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะรับฟังว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีและการขาดนัด: ศาลต้องพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล ส่วนจำเลยที่ 1ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแสดงว่าตั้งใจที่จะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 จึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้นัดสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อไป และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความดังนี้ ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 เลยว่าทนายจำเลยที่ 1 มาศาลไม่ได้เพราะติดว่าความที่ศาลอื่นจริงหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไป และวันดังกล่าวก็มิใช่วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกต่อไป แม้โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันนั้น กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดฉะนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาโดยผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีชั้นต้น/อุทธรณ์ตามขั้นตอนกฎหมาย
คำร้องของโจทก์ได้ขอให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งที่นั่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา โดยยื่นพร้อมฎีกาต่อศาลชั้นต้น เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคท้าย แล้วศาลชั้นต้นจึงต้องส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปยังผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญา ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ประเด็นนั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย แม้จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ศาลลดโทษให้เพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่อีกครั้งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วพิพากษายืน ปัญหาดังกล่าวจึงจะถึงที่สุดเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพิจารณาคดีเช็คหลังมีกฎหมายใหม่ และขอบเขตการใช้มาตรา 10 พ.ร.บ.เช็ค พ.ศ.2534
ขณะโจทก์ยื่นอุทธรณ์ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ที่โจทก์ฟ้องยังมิได้ประกาศยกเลิกและขณะมีประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวและให้ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 แทน ซึ่งอัตราโทษตามกฎหมายใหม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง คดียังค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้ตามที่บทบัญญัติมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 กำหนดให้อำนาจไว้ และมิใช่กรณีที่จะถือว่าคดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534หมายรวมทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา มิได้หมายถึงเฉพาะแต่ศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาคดีเยาวชน แม้ข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฏต่อศาลฎีกา
จำเลยอายุ 15 ปีเศษ ในขณะกระทำความผิด อันอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุของจำเลยมิได้ปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา แต่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และคดีนี้ได้ทำการพิจารณาโดยศาลฎีกาแผนกคดี-เยาวชนและครอบครัว อันถือได้ว่าเป็นการโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณา-พิพากษาต่อไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี-เยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 15 แล้ว จึงไม่ต้องโอนคดีไปยังศาล-เยาวชนและครอบครัว
จำเลยกระทำความผิดขณะอายุยังไม่เกิน 17 ปี จึงต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75
จำเลยกระทำความผิดขณะอายุยังไม่เกิน 17 ปี จึงต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี การเดินทางไปค้าขายต่างจังหวัดเป็นเหตุให้ไม่ถือว่าจงใจขาดนัด
ระหว่างจำเลยถูกฟ้องคดีจำเลยไม่ได้อยู่บ้านตามฟ้องแต่ได้เดินทางไปค้าขายต่างจังหวัดไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยกลับจากต่างจังหวัด หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว จึงทราบว่าถูกฟ้อง การที่จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและไม่ได้มาศาลในวันนัดพิจารณาจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์ฎีกาว่าในเดือนสิงหาคม 2532 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากถูกฟ้องแล้วโจทก์จำเลยได้ไปทำการไกล่เกลี่ยเรื่องที่ดินถูกฟ้องที่บ้านมารดา จำเลยย่อมทราบถึงการถูกฟ้องในวันนั้นแล้ว เมื่อโจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำคัดค้านชั้นขอพิจารณาใหม่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม, อำนาจศาล, การพิจารณาคดีนอกประเด็น, และการเข้าเป็นคู่ความแทน
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว คดี จึง อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งคำร้องของ จำเลย ที่ขอให้เรียกบุคคลอื่นมาเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้บุคคลอื่น เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต ตามคำร้องจึงไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องของ จำเลยไปเสียทีเดียว โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง โจทก์ฟังว่าโจทก์ถูกจำเลยหลอกให้ลงลายพิมพ์นิ้วมือทำนิติกรรมแตกต่างไปจากเจตนาอันแท้จริงของโจทก์เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญ ของ นิติกรรมเป็นโมฆะ จำเลยให้การว่าโจทก์มิได้สำคัญผิด ในลักษณะของนิติกรรมการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่จึงมีความหมายแปลได้ว่าจำเลยหลอกให้โจทก์สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมที่โจทก์จะทำและให้โจทก์หลงเชื่อแสดงเจตนาทำนิติกรรมกับจำเลยโดยสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมอันเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และ ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี โดยมิได้ยกข้อพิพาท ในเนื้อหาของคดีขึ้นมาในคำฟ้องฎีกา และมิได้ขอให้พิพากษา ตามคำขอของโจทก์ตามที่ฟ้องมา ศาลฎีกาจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจ พิจารณาข้อพิพาทในส่วนที่นอกจากปรากฏในคำฟ้องฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีเพื่อรักษาพยาบาล และการพิสูจน์ภาวะวิกลจริตของผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นให้งดการพิจารณาคดี ส่งตัวจำเลยไปรักษาที่โรงพยาบาลจนกว่าอาการจะดีขึ้น โดยให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว เมื่อจำเลยสามารถต่อสู้คดีแล้วให้โจทก์ร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปเนื่องจากแพทย์แถลงว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้แล้วคำสั่งดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 35 ที่บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะนั่งพิจารณาคดีในวันที่ศาลเปิดทำการและเวลาทำงานได้ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15ให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับได้ เมื่อไม่มีความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยก่อนหรือระหว่างเกิดเหตุ ทั้งไม่ปรากฎประวัติการเป็นโรคจิตของจำเลยมาก่อนการที่แพทย์ตรวจอาการของจำเลยในระหว่างพิจารณาคดีแล้วมีความเห็นว่าจำเลยมีอาการทางจิตนั้น ยังไม่อาจรับฟังว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตไม่รู้สึกผิดชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4210/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดี ศาลชอบด้วยกฎหมายหากโจทก์ไม่แจ้งเหตุขัดข้อง
เมื่อโจทก์จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีแม้โจทก์จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ได้มาศาลตามกำหนดนัดเพราะรถยนต์ขัดข้องก็ตามก็มิใช่กรณีศาลสั่งจำหน่ายคดีไปโดยผิดหลงหรือผิดระเบียบ จะเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ และกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณา ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์ขอพิจารณาใหม่เพียงแต่ให้โจทก์มีสิทธิเสนอคำฟ้องเข้ามาใหม่ภายในอายุความเท่านั้น