คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พินัยกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 953 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของพินัยกรรมและการมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก คดีไม่มีทุนทรัพย์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก โดยอ้างว่าเป็นผู้รับ พินัยกรรม ผู้คัดค้านคัดค้านว่าพินัยกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก ดังนี้เป็นเรื่องผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้น มิใช่พิพาทกันในเรื่องทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ผลของคดีไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมที่ทำภายใต้การควบคุมหรืออิทธิพลบุคคลอื่น ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
ในขณะที่เจ้ามรดกเขียนพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยนั้นมีผู้อื่นควบคุมคอยบอกให้เขียนโดยเจ้ามรดกมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ พินัยกรรมจึงเป็นอันเสียเปล่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1704 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมเสียเปล่าจากสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และการถูกควบคุม
ในขณะที่เจ้ามรดกเขียนพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยนั้นมีผู้อื่นควบคุมคอยบอกให้เขียนโดยเจ้ามรดกมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์พินัยกรรมจึงเป็นอันเสียเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1704วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คพิพาทโดยผู้จัดการมรดกแก่ทายาทตามพินัยกรรม และผลของการนำสืบต่อสู้ข้อต่อสู้อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงเช็คก่อนกับผู้ทรงคนปัจจุบัน
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ป.พ.พ.มาตรา ๙๑๘ ประกอบมาตรา ๙๘๙ ช.เป็นผู้จัดการมรดกของ ก.ตามคำสั่งศาล ก.ทำพินัยกรรมต่อหน้า ช. น. และ ย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดก หลังจาก ช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้ว ช.ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้าง และคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่าก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่า ก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว เมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจาก ก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่ จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา ๙๑๖
จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้ง แต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา ๙๐๐ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในเช็คพิพาทโดยทายาทตามพินัยกรรม และการหักกลบลบหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา918ประกอบมาตรา989ช. เป็นผู้จัดการมรดกของก.ตามคำสั่งศาลก.ทำพินัยกรรมต่อหน้าช.น.และย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดกหลังจากช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้วช. ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้างและคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่าก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่าก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้วเมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจากก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา916 จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กันจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้งแต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไปจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8277/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวม-พินัยกรรมยกทรัพย์สิน: สิทธิในที่ดินและบ้านเมื่อมีเจ้าของรวมและพินัยกรรมยกให้ทั้งหมด
ในขณะที่ ผ. กับจำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง ดังนั้น แม้พินัยกรรมของ ผ. จะระบุว่าให้ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งแปลง พินัยกรรมที่ยกที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นของจำเลยย่อมไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมเฉพาะส่วนของ ผ. โจทก์กับจำเลยจึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของบ้านพิพาท แต่บ้านพิพาทก็ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทที่โจทก์กับจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์จะฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกไปหรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ แต่โดยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยคืนบ้านพิพาทให้โจทก์ กับแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่งให้เสร็จสิ้นกันไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครองและการยกให้ก่อนสมรส ไม่เป็นสินสมรส ทำพินัยกรรมยกได้
ท. ครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของ ฮ. จนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382แล้วแต่ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อมา ท. ยกที่ดินดังกล่าวให้แก่ ข. กับ ห. โดย ข. กับ ห. ได้ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของต่อมา ข. กับ ห. จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ได้รับการยกให้โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ ข. หลังจาก ท. ยกที่ดินพิพาทให้แก่ ข. ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์ที่ ข. ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์การที่ ข. กับ ห. ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลและได้ทำสัญญาประนีประนอมกับ ฮ. ก็เป็นการกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนและเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันหามีผลเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ ข. จึงมีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรม การจัดการมรดก และความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับพินัยกรรมและทายาท
เนื้อหาของเอกสารพิพาทเป็นจดหมายที่ผู้ตายแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล.โดยขอให้ ส.เป็นพยานคนที่สองด้วยและเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ขอให้ ส.ช่วยดูแลให้ ล.เก็บรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ของผู้ตายไว้ให้เด็กชาย บ.ด้วย เท่ากับเป็นการฝากฝังให้ ส.ช่วยดูแลทรัพย์สินตามพินัยกรรมที่ทำไว้แล้วให้แก่เด็กชาย บ. ตามเอกสารพิพาทนี้แสดงว่ามีพินัยกรรมอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ ส.ช่วยเป็นพยานในพินัยกรรมอีกคนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายเขียนเอกสารพิพาทขึ้นเองทั้งฉบับก็ตาม ลำพังเอกสารดังกล่าวหาใช่เป็นพินัยกรรมของผู้ตายไม่ เป็นเพียงการแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล.และขอให้ ส.ช่วยดูแลด้วยเท่านั้น
แม้ผู้ร้องเพิ่งจะอ้างเอกสารที่อ้างว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องเพิ่งค้นพบภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคดีนี้มาท้ายอุทธรณ์เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังได้
เอกสารพิพาทมีข้อความระบุว่าเป็นใบมอบอำนาจเขียนขึ้นด้วยลายมือผู้ตายเอง แสดงเจตนาขอยกทรัพย์ทุกอย่างที่มีอยู่ให้แก่ ส.ผู้เป็นภริยา และว่า นิติกรรมอันใดที่ ส.กระทำให้ถือว่าผู้ตายได้กระทำเองโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆทั้งสิ้น และลงชื่อผู้ตายไว้นั้น เอกสารดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นพินัยกรรม เพราะมิได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการตาง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายทำเอกสารดังกล่าวขึ้นไว้ก็ตาม ก็ไม่มีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 กล่าวถึงว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้ผู้คัดค้านที่ 1 และกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 1 ว่ามีบุตรด้วยกัน 2 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในฐานะผู้รับพินัยกรรมหรือในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสอง คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เป็นการขัดกันหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงขนาดที่จะพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้
คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บรรยายให้ศาลเห็นว่า ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก เพื่อแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนทรัพย์มรดกและทายาทมีอยู่อย่างไรเป็นขั้นตอนในชั้นจัดการมรดก แม้คำร้องขอระบุทรัพย์มรดกและทายาทของผู้ตายไม่ครบถ้วน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริตไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีมรดก: พินัยกรรม, ใบมอบอำนาจ, ผู้จัดการมรดก, และการรับฟังพยานหลักฐาน
เนื้อหาของเอกสารพิพาทเป็นจดหมายที่ผู้ตายแจ้งให้ส. ทราบว่าผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ล. โดยขอให้ส.เป็นพยานคนที่สองด้วยและเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ขอให้ ส. ช่วยดูแลให้ ล.เก็บรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ของผู้ตายไว้ให้เด็กชาย บ.ด้วยเท่ากับเป็นการฝากฝังให้ ส. ช่วยดูแลทรัพย์สินตามพินัยกรรมที่ทำไว้แล้วให้แก่เด็กชายบ. ตามเอกสารพิพาทนี้แสดงว่ามีพินัยกรรมอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ ส. ช่วยเป็นพยานในพินัยกรรมอีกคนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายเขียนเอกสารพิพาทขึ้นเองทั้งฉบับก็ตามลำพังเอกสารดังกล่าวหาใช่เป็นพินัยกรรมของผู้ตายไม่เป็นเพียงการแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล. และขอให้ ส.ช่วยดูแลด้วยเท่านั้น แม้ผู้ร้องเพิ่งจะอ้างเอกสารที่อ้างว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องเพิ่งค้นพบภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคดีนี้มาท้ายอุทธรณ์เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังได้ เอกสารพิพาทมีข้อความระบุว่าเป็นใบมอบอำนาจเขียนขึ้นด้วยลายมือผู้ตายเอง แสดงเจตนาขอยกทรัพย์ทุกอย่างที่มีอยู่ให้แก่ ส. ผู้เป็นภริยา และว่า นิติกรรมอันใดที่ ส. กระทำให้ถือว่าผู้ตายได้กระทำเองโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และลงชื่อผู้ตายไว้นั้นเอกสารดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นพินัยกรรม เพราะมิได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆอันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย ดังนั้นแม้จะฟังว่าผู้ตายทำเอกสารดังกล่าวขึ้นไว้ก็ตามก็ไม่มีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 กล่าวถึงว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้ผู้คัดค้านที่ 1และกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 1ว่ามีบุตรด้วยกัน 2 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในฐานะผู้รับพินัยกรรมหรือในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสอง คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เป็นการขัดกันหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงขนาดที่จะพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้ คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บรรยายให้ศาลเห็นว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก เพื่อแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนทรัพย์มรดกและทายาทมีอยู่อย่างไรเป็นขั้นตอนในชั้นจัดการมรดก แม้คำร้องขอระบุทรัพย์มรดกและทายาทของผู้ตายไม่ครบถ้วน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริตไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และสิทธิของผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมไม่ลงวัน เดือน ปี ในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ท.บิดาผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตายผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดา จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1711 และ 1713 ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727
of 96