คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟื้นฟูกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5973/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการฟื้นฟูกิจการต่อคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ผูกพันตามแผนฟื้นฟูและจำเลยหลุดพ้นจากหนี้
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายแล้วต่อมาศาลได้มีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยไว้พิจารณา ศาลที่รับพิจารณาคดีล้มละลายไว้ก่อน จำต้องงดการพิจารณาไว้จนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนหรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอหรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) เพื่อให้โจทก์ที่ฟ้องคดีซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งของจำเลยซึ่งมูลแห่งหนี้ได้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูไปดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ และเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลย คำสั่งของศาลย่อมมีผลผูกมัดทั้งเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 90/27 แผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบจึงผูกมัดโจทก์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง
เมื่อคดีฟื้นฟูกิจการของจำเลยดำเนินการจนเป็นผลสำเร็จตามแผนฟื้นฟูกิจการ และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง ผลของคำสั่งดังกล่าวยังคงผูกมัดโจทก์และมูลหนี้ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/75 กล่าวคือ มีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวง ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ เว้นแต่หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการจะได้ขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ทำให้จำเลยมาผูกพันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามที่ระบุไว้ในแผนแทนการชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5748/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการเท่านั้น การชำระหนี้ก่อนหรือนอกแผนเป็นโมฆะ
เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ก็แต่โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง และการที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้นั้นจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ คือ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวนเท่าใดจะต้องนำหนี้ดังกล่าวมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้ไม่อาจที่จะได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้หรือผู้ทำแผนซึ่งได้นำเงินมาชำระหนี้หรือนำเงินมาวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์แต่อย่างใด และการที่ลูกหนี้นำเงินไปชำระหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว หรือผู้ทำแผนนำเงินไปวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่สำนักงานวางทรัพย์อันมิใช่วิธีที่กฎหมายกำหนดเพื่อชำระหนี้ซึ่งมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นการกระทำที่ไม่อาจกระทำได้เพราะขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 90/12 วรรคท้าย หนี้จึงยังไม่ระงับ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ เมื่อกฎหมายล้มละลายในส่วนของการฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการในการขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ลูกหนี้หรือผู้ทำแผนจะดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในมูลหนี้ดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นการค้าตามปกตินั้นหาได้ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4375/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีฟื้นฟูกิจการ: ความชอบด้วยกฎหมายและการบังคับชำระหนี้
ในการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการนั้น เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้ทำแผนจะนำหนี้ดังกล่าวไปจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้ต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 (3) (ข) และมาตรา 90/42 ทวิ และกำหนดการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มต่าง ๆ ไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ย่อมเป็นไปตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนทั้งแผนฟื้นฟูกิจการนั้นก็เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ในเรื่องเกี่ยวกับหนี้สินและวิธีการในการจัดกิจการของลูกหนี้ต่อไป นอกจากนี้รายการในแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 (6) ก็ให้กำหนดให้ในแผนมีรายการคือ วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการโอนสิทธิเรียกร้อง เช่นนี้สิทธิเรียกร้องในการที่จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการโดยสภาพแล้วย่อมเป็นสิทธิเรียกร้องที่สามารถโอนกันได้ดั่งเช่นสิทธิเรียกร้องอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็เป็นวิธีการในการดำเนินการของสถาบันการเงินเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องสิ้นเปลืองในการบริหารจัดการหนี้เสียและเป็นวิธีการที่จะนำรายได้มาใช้ในการบริหารธุรกิจต่อไป เมื่อปรากฏว่าในการโอนสิทธิเรียกร้องของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้โอนสิทธิเรียกร้องตามแผนให้แก่ธนาคารสแตนดาร์ด แบงค์ เอเชีย จำกัด และมีการกำหนดรายละเอียดดังกล่าวไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นเมื่อปรากฏว่าธนาคารสแตนดาร์ด แบงค์ เอเชีย จำกัด ได้โอนสิทธิเรียกร้องมายังธนาคารสแตนดาร์ด พีเอลซี จำกัด และธนาคารสแตนดาร์ด พีเอลซี จำกัด ได้โอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวพร้อมหลักประกันมายังโจทก์และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทราบแล้ว โจทก์ในฐานะผู้รับโอนจึงรับมาซึ่งบรรดาสิทธิทั้งหลายที่เจ้าหนี้เดิมเคยมีอยู่และสามารถใช้ยันจำเลยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่ค้างอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีฟื้นฟูกิจการ สิทธิเรียกร้องที่ได้รับการปลดหนี้แล้ว ไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ใหม่ได้
หนี้ที่เจ้าหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นสิทธิเรียกร้องที่บริษัทเงินทุน อ. เจ้าหนี้เดิม มีต่อลูกหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.11/2542 ของศาลล้มละลายกลาง และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีการแก้ไขแผนตามข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ครั้งที่ 3 ซึ่งศาลล้มละลายกลางให้ความเห็นชอบแล้วโดยกำหนดให้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เดิมดังกล่าวได้รับการปลดหนี้ทั้งจำนวนตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2547 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการอุทธรณ์คำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนครั้งที่ 3 ของศาลล้มละลายกลาง คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันเจ้าหนี้เดิมตามแผนฟื้นฟูกิจการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 90/63 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากเจ้าหนี้เดิม ผลของคำสั่งในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.11/2542 ของศาลล้มละลายกลาง ย่อมผูกพันเจ้าหนี้ด้วยเช่นกัน เจ้าหนี้จึงไม่อาจนำหนี้ที่ได้รับการปลดหนี้แล้วมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166-4170/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการร้องขอฟื้นฟูกิจการซ้ำและซ้อน โดยศาลพิจารณาว่าการร้องขอซ้ำในมูลเหตุเดิมเป็นเหตุต้องห้าม
บทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือการร้องขอซ้ำนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งบทบัญญัติของกฎหมายล้มละลายส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจไว้และเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเป็นธรรมซึ่งจะได้รับชำระหนี้จำนวนไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามมาตรา 90/4 นั้น เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลาย การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟื้นฟูกิจการ โดยผู้ร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีหนึ่งถือเสมือนว่าเป็นการกระทำแทนบุคคลอื่นๆ ด้วย หากมีการร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างมูลเหตุเดิมหรือช่องทางในการฟื้นฟูกิจการเดียวกันก็ย่อมเป็นการร้องขอซ้ำได้เช่นกัน
ในการร้องขอฟื้นฟูกิจการคดีนี้ผู้ร้องได้อ้างเหตุในการร้องขอฟื้นฟูกิจการว่า ลูกหนี้ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวและการเปลี่ยนค่าเงินบาทในปี 2540 ทำให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น มูลเหตุในการร้องขอฟื้นฟูกิจการคดีนี้เป็นเหตุที่มีการร้องขอฟื้นฟูกิจการมาแล้วในคดีแรก แม้ว่าผู้ร้องขอคดีนี้จะไม่ได้เป็นผู้ร้องขอเองก็ตาม แต่เมื่อคดีแรกศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ อันมีผลทำให้เจ้าหนี้ต้องถูกปรับยอดหนี้ลงมาและมีสิทธิเรียกร้องเฉพาะหนี้ที่ค้างอยู่ตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งหลังจากศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว ก็ไม่ปรากฏเหตุใหม่ในสาระสำคัญที่ทำให้ลูกหนี้หรือผู้ร้องขอมีสิทธิร้องขอฟื้นฟูกิจการได้อีก ทั้งศาลวินิจฉัยในคดีแรกมาแล้วว่าลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้และในคดีแรกมีการดำเนินกระบวนพิจารณาจนกระทั่งศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเช่นนี้ การที่เจ้าหนี้มายื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีนี้อีก จึงเป็นการร้องขอซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในการร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในคดีที่สามนั้น ธนาคาร ส. ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการซึ่งเป็นผู้รับโอนจากห้าธนาคารในประเทศในขณะที่คดีแรกอยู่ระหว่างพิจารณาชั้นอุทธรณ์ การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีที่สามจึงเป็นการร้องขอซ้อนและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแรกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 และมาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 และการที่ผู้ร้องขอมายื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในคดีนี้โดยเหตุทำนองเดียวกับการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการคดีที่สามอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีที่สาม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูเท่านั้น การชำระหนี้โดยวิธีอื่นเป็นโมฆะ
เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ก็แต่โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง และการที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวคือ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวนเท่าใดจะต้องนำหนี้ดังกล่าวมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้ไม่อาจที่จะได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้หรือผู้ทำแผนซึ่งได้นำเงินมาชำระหนี้หรือนำเงินมาวางไว้ที่ สำนักงานวางทรัพย์แต่อย่างใด และการที่ลูกหนี้นำเงินไปชำระหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว หรือผู้ทำแผนนำเงินไปวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่สำนักงานวางทรัพย์อันมิใช่วิธีการที่กฎหมายกำหนดเพื่อชำระหนี้ซึ่งมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจึงเป็นการกระทำที่ไม่อาจกระทำได้ ขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 วรรคท้าย หนี้จึงยังไม่ระงับ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ เมื่อกฎหมายฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการในการขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ลูกหนี้หรือผู้ทำแผนจะดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในมูลหนี้ดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นการค้าตามปกตินั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ยค้างชำระในคดีฟื้นฟูกิจการ การคำนวณระยะเวลา และสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้
ดอกเบี้ยค้างรับตามสัญญากู้เงินระยะยาวและสัญญากู้เงินระยะสั้นโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่เจ้าหนี้อุทธรณ์ว่า หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ขาดอายุความเพราะเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดอายุความตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/15 นั้น เห็นว่า หนี้ดอกเบี้ยค้างรับที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ หนี้ดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระในระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม 2540 ถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2541 มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) ซึ่งครบกำหนดอายุความตั้งแต่ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2546 เมื่อในคดีก่อนศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2546 เห็นได้ว่าอายุความดอกเบี้ยส่วนหนึ่งครบกำหนดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และอายุความดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่งครบกำหนดภายใน 6 เดือน นับแต่วันดังกล่าว มีผลให้อายุความดอกเบี้ยค้างรับทั้งหมดยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/15 อายุความดอกเบี้ยค้างรับจึงครบกำหนดในวันที่ 15 สิงหาคม 2547 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ ดอกเบี้ยค้างรับตามสัญญากู้เงินระยะยาวและสัญญากู้เงินระยะสั้นโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินจึงไม่ขาดอายุความ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ดอกเบี้ยดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองทรัพย์สินในระหว่างฟื้นฟูกิจการ: ข้อจำกัดสิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีต่อทรัพย์สินเช่า
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับของมาตรา 90/13 และมาตรา 90/14 นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน หรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอ หรือจำหน่ายคดี หรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ หรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด... (5) ห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้..." เป็นบทกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีการฟื้นฟูกิจการให้ดำเนินกิจการต่อไปได้ หาได้มีผลต่อบุคคลอื่นที่มิได้เป็นลูกหนี้ที่มีการฟื้นฟูกิจการด้วยไม่ จึงมีข้อจำกัดสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาห้ามบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ เมื่อปรากฏว่าระหว่างฟื้นฟูกิจการนั้นผู้ร้องเป็นเพียงผู้เช่าที่ครอบครองเครื่องจักรซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย เครื่องจักรดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่อยู่ในกองทรัพย์สินของผู้ร้องที่จะได้รับความคุ้มครองเพื่อการฟื้นฟูกิจการ ดังนั้นโจทก์ทั้งเจ็ดร้อยห้าสิบเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินของจำเลยตามหมายบังคับคดีได้ กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนการยึดทรัพย์สินตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างเรียกร้องค่าจ้างค้างอยู่ แม้ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการของนายจ้าง และนายจ้างไม่เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิผู้อื่นจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัด และมาตรา 90/12 ก็ไม่มีข้อห้ามลูกจ้างยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อบังคับให้นายจ้างปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนั้นเมื่อศาลล้มละลายกลางรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยโดยจำเลยเป็นผู้ทำแทนแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจึงสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชำระค่าจ้างค้างพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ได้ และพนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งได้ ทั้งนี้ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันในคดีที่จำเลยขอฟื้นฟูกิจการหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์และแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/25 ไม่ปฏิบัติตามและไม่ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งภายในกำหนด คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสอง ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยอันมีผลเสมือนว่าไม่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้ และศาลแรงงานกลางสามารถถือตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นที่สุดแล้วได้โดยไม่ต้องไต่สวนข้อเท็จจริงใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบการยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการต่อการชำระหนี้และการบังคับสิทธิของเจ้าหนี้
คดีก่อนศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มีผลให้คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนของศาลที่สั่งไปก่อนหน้านั้นเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป ดังนั้น ข้อกำหนดในแผนที่ให้ลูกหนี้ชำระหนี้เพียงบางส่วนอันเป็นความผูกพันตามแผนนั้นต้องสิ้นผลไปด้วย สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ซึ่งได้รับโอนสิทธิเรียกร้องย่อมกลับไปเป็นดังเดิมตามที่เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
เมื่อการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามแผนในคดีก่อนเป็นการชำระหนี้บางส่วน ทำให้หนี้ที่เจ้าหนี้มีต่อลูกหนี้ระงับไปเพียงเท่าจำนวนที่เจ้าหนี้เดิมได้รับชำระหนี้เท่านั้น เจ้าหนี้เดิมได้รับชำระเงินจากลูกหนี้รวม 55,782,026.86 บาท จึงต้องนำเงินดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง มิใช่หักต้นเงินดังที่ผู้บริหารแผนอุทธรณ์ แม้คดีก่อนศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แต่ก็ไม่กระทบถึงการใดที่ผู้ทำแผนได้กระทำไปแล้วก่อนศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/76
of 20