คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 831 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7222/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดเมื่อฟ้องคดี การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่ทำให้ขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความแล้ว อายุความจึงสะดุดหยุดลง การที่โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเรียกค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยตามหลักฐานของสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา2 ปี แล้ว ไม่ทำให้คดีของโจทก์ในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2)
ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท จำเลยได้ระบุเรื่องความรับผิดต่อทรัพย์สินว่า บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางแล้ว ดังนี้เมื่อเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ถูกรถโจทก์ผู้เอาประกันภัยชนได้รับความเสียหาย และได้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมชำระเงินให้แก่ผู้นั้นและโจทก์ถูกบังคับคดีแล้ว ดังนี้ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ การที่โจทก์จะยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลภายนอกมิได้เข้ามาเรียกร้องต่อจำเลย ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ และศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงินซึ่งไม่เกินกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นได้
แม้เงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทกำหนดไว้ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยผู้รับประกันภัยได้ปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยสิ้นเชิงมาตั้งแต่ต้นก่อนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลย โดยจำเลยอ้างว่าได้ยกเลิกกรมธรรม์ไปแล้วตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุวินาศภัยรถยนต์ชนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องจึงหาเป็นการผิดเงื่อนไขข้อกำหนดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องคดีอาญา: โจทก์ต้องขอลงโทษจำเลยในความผิดที่ฟ้องเท่านั้น
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 โดยในคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11 ที่เป็นบทกฎหมายมาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นว่านั้นเป็นความผิดมาด้วย ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6117/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเพิ่มเติมหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด และการเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความ
แม้ที่ดินตามแผนที่พิพาทเส้นสีเขียวเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์และเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พิพาทกันในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1278/2532 ของศาลชั้นต้น และคดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรื้อถอนแนวรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย ต่อมาในชั้นบังคับคดีปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ทำการรื้อถอนรั้วออกไป แต่ยังส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพไม่เรียบร้อย เนื่องจากระหว่างพิจารณาคดีจำเลยทั้งสองได้ขุดดินออกไปจากที่ดินพิพาท รวมทั้งปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทบางส่วน ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองขุดดินออกไปจากที่ดินพิพาทและปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทบางส่วนในระหว่างพิจารณาคดีก่อน มูลคดีนี้จึงเกิดภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่สามารถฟ้องมาในคราวเดียวกันได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุว่า ตนอาจถูกฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) วรรคสี่ แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยนั้น ได้ความแต่เพียงว่านายอำเภอเป็นผู้สอบสวนข้อเท็จจริงและห้ามโจทก์กับจำเลยถือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองและการฟ้องคดีเรียกคืนที่ดิน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสองมีความหมายว่า คดีจะขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทต่อเมื่อมีการแย่งการครอบครองเสียก่อน การที่จำเลยขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทแต่ไม่เคยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลย ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เกินหนึ่งปีคดีก็ไม่ขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาท คดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นสำคัญในคดีที่ว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คดีนี้โจทก์ฟ้องเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจช่วงก่อนยื่นฟ้อง แม้หนังสือมอบอำนาจลงวันที่หลัง แต่มีผลบังคับใช้ย้อนหลังได้
โจทก์ยื่นคำฟ้องเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ตลอดจนให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงกระทำการแทน และบรรยายฟ้องต่อไปว่า ส. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้องและแต่งตั้งทนายความแทนโจทก์ได้ แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส. ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้แม้หนังสือมอบอำนาจช่วงจะลงวันที่ 4 มกราคม 2537 อันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วก็ตาม เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ได้ระบุเงื่อนเวลาเริ่มต้นของการมอบอำนาจช่วงว่าจะให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงเริ่มมีอำนาจเมื่อใด จึงเป็นที่เห็นได้ว่าในขณะยื่นฟ้อง ส. ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้หาทำให้กลับกลายเป็นการมอบอำนาจช่วงภายหลังยื่นคำฟ้อง อันจะทำให้ ว. ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีทางปกครองและการเทียบเคียงบทบัญญัติละเมิดเมื่อไม่มีกำหนดเวลาเฉพาะ
ในคดีปกครองหากผู้ใดถูกกระทบสิทธิจากการกระทำหรือคำสั่งทางปกครอง ผู้นั้นย่อมต้องใช้สิทธิฟ้องร้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กำหนดเวลาดังกล่าวหาใช่อายุความตามหลักแห่งกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายแพ่งไม่ คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2495 มาตรา 103 ประกอบ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2485 มาตรา 60 (2) และ 62 โดยเป็นการสั่งการฝ่ายเดียวในทางปกครองที่มุ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิหรือหน้าที่หรือสถานภาพทางกฎหมายของจำเลยจึงเป็นคำสั่งทางปกครองมิใช่นิติกรรมตาม ป.พ.พ. ต้องใช้กำหนดเวลาทางปกครองปรับแก่คดี แต่เมื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนดังกล่าวแล้วไม่ปรากฏกำหนดเวลาในการที่จะนำคดีมาฟ้องศาล จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ลักษณะละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง ประกอบมาตรา 448 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสอบสวนและมิได้สอบสวนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามกฎหมายและคำสั่งดังกล่าวกระทบสิทธิของโจทก์จนเกิดความเสียหาย โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง หรือภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันล่วงสิทธิ เมื่อกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2496 ซึ่งถือเป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้ที่โจทก์จะพึงใช้สิทธิฟ้องร้องแล้ว โจทก์จะต้องฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง คดีโจทก์จึงพ้นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องร้อง
ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ถูกกระทำละเมิดในปี 2533 เพราะมิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพตาม พ.ร.ก.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2533 นั้น ในวันดังกล่าวมิใช่วันล่วงสิทธิ แต่เป็นผลกระทบมาจากคำสั่งที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2496

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความจากการฟ้องคดีและการบังคับสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย
การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.กับลูกหนี้ที่ 2 เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่ 2ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่ 2 ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่ ส. อันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่ 2 ได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ จึงต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเรียกร้องหนี้จากสัญญาค้ำประกัน: ผลกระทบจากการฟ้องคดีและผลการพิจารณาคดีต่อลูกหนี้
การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.กับลูกหนี้ที่ 2 เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่ 2 ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่ ส. อันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่ 2 ได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ จึงต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าและการฟ้องคดีอาญาที่ไม่สมบูรณ์
จำเลยแทงผู้เสียหายโดยแทงอ้อมผ่านตัว ส.ซึ่งกำลังจับมือผู้เสียหายอยู่ และผู้เสียหายยืนหันหลังให้จำเลย จำเลยมีโอกาสเลือกแทงผู้เสียหายที่ส่วนใดของร่างกายก็ได้ จำเลยเลือกแทงบริเวณรักแร้ซ้ายของผู้เสียหายโดยแรงคมมีดทะลุช่องปอดซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทั้งยังได้แทงซ้ำอีก 1 ครั้ง ที่บริเวณลำคอผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยพาอาวุธมีดไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรก็ตาม แต่คำขอท้ายฟ้องไม่ได้อ้าง ป.อ.มาตรา371 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฟ้องโจทก์ฐานพาอาวุธไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะจึงขาดการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6) เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์สำหรับการกระทำความผิดฐานนี้ ศาลจะลงโทษตามบทมาตราดังกล่าวไม่ได้แม้คู่ความมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การจับกุมและภูมิลำเนาผู้ต้องจำคุกไม่เป็นเหตุให้ฟ้องคดีต่อศาลในเขตอำนาจนั้นได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา22วรรคหนึ่งคำว่าจำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่งหมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยตามข้อหาที่ถูกกล่าวหาในคดีที่จะนำมาฟ้องเท่านั้นแต่ตามบันทึกการจับกุมจำเลยกับคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีของโจทก์ปรากฎว่าจำเลยถูกจับในความผิดฐานพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และความผิดฐานอื่นๆนอกเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งมิใช่ความผิดตามที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้แต่เจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้และโจทก์ขอยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีดังนี้กรณีถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในท้องที่ซึ่งอยู่เขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัวบทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น2กรณีต่างหากจากกันกล่าวคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่งและถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่งหาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่เมื่อปรากฎว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้นจำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีดังนี้จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ไม่ได้
of 84