พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3291/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การจำหน่ายคดีเดิมไม่อุปสรรคฟ้องใหม่ แต่ฟ้องแย้งที่รับพิจารณาแล้วกลายเป็นฟ้องซ้อน
ศาลแรงงานกลางได้สั่งจำหน่ายคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์จึงไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอีกต่อไป โจทก์ย่อมยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นคดีใหม่ต่อศาลแรงงานกลางในวันเดียวกันหลังจากศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายคดีแล้วได้ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1) ส่วนที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลแรงงานกลางในวันต่อมานั้นเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่จำหน่ายคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นคดีคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ การยื่นอุทธรณ์และคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ถือว่าคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาอันจะเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนอย่างไรก็ตาม ปรากฎว่าอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งนั้น ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา จึงทำให้ฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามที่จะรับไว้พิจารณา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142,247 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ดังนี้ อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งจึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3291/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การจำหน่ายคดีเดิมไม่อำนวยการฟ้องซ้อน แต่ฟ้องแย้งซ้ำเป็นฟ้องซ้อน
เดิมโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้า ค่าเสียหายและค่าชดเชย จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ต่อมาวันที่ 19 ตุลาคม 2535 โจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมดออกเสียจากสารบบความ ในวันเดียวกันนั้นโจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีเข้ามาใหม่ในข้อหาเดียวกับฟ้องเดิม ต่อมาวันที่ 3 พฤศจิกายน 2535จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งอ้างว่า การที่ศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายฟ้องแย้งของจำเลยด้วยเป็นการไม่ชอบ ศาลแรงงานกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์ จากนั้นวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 จำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางสั่งรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและส่งให้ศาลฎีกาวินิจฉัย ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางได้สั่งจำหน่ายคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์จึงไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอีกต่อไปโจทก์ย่อมยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางในวันเดียวกันหลังจากศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1) แต่อย่างใดส่วนที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลแรงงานกลางในวันต่อมานั้นเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่จำหน่ายคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นคดีคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ การยื่นอุทธรณ์และคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ถือว่าคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาอันจะเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนเช่นกัน อย่างไรก็ตามในเมื่อต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาจึงทำให้ฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้ที่ขอให้โจทก์ชำระค่าเสียหายเช่นเดียวกับที่เคยขอในคดีก่อนเป็นฟ้องซ้อนและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งจึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนและการซื้อขายที่ดินผิดแปลง ศาลฎีกาตัดสินว่าการฟ้องสำนวนหลังไม่เป็นการฟ้องซ้อน
คำฟ้องสำนวนแรกโจทก์อ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382 อันเป็นการกล่าวอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยนิติเหตุ ส่วนคำฟ้องสำนวนหลังโจทก์อ้างการได้มาโดยการที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรม ถึงแม้คำขอของโจทก์ทั้งสองสำนวนจะเป็นอย่างเดียวกันคือขอให้เปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ก็ตาม เมื่อคำฟ้องในสำนวนคดีหลังข้ออ้างที่จะต้องวินิจฉัย ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับข้ออ้างในคำฟ้องสำนวนแรก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่เป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) จำเลยที่ 1 ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5178 แก่โจทก์ และขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2799 แก่จำเลยที่ 2 แต่ได้มีการโอนที่ดินในโฉนดผิดแปลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 รับโอนโฉนดที่ดินสลับกันมาเป็นเพราะความเข้าใจผิด แต่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองที่ดินถูกต้องตลอดมา ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนในคดีครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายที่ดิน การโอนโฉนดผิดแปลง ศาลฎีกายกปัดการวินิจฉัยฟ้องซ้อนของศาลชั้นต้น
คดีสำนวนแรกโจกท์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382เป็นการอ้างการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยนิติเหตุ ส่วนคดีสำนวนหลังโจทก์อ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยโจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรม ถึงแม้คำขอของโจทก์ทั้งสองสำนวนจะขอให้เปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินเป็นของโจทก์เหมือนกันก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการยื่นฟ้องคดีในเรื่องเดียวกัน อันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนที่ศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแล้ววินิจฉัยว่า คดีสำนวนหลังเป็นฟ้องซ้อนให้ยกฟ้อง แต่ยังพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องคดีสำนวนหลัง คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่วินิจฉัยว่าเป็นฟ้องซ้อนไม่ชอบ เพราะเมื่อคดีสำนวนหลังไม่เป็นฟ้องซ้อนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาคดีตามที่พิจารณาได้ความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5178แต่ได้มีการโอนโฉนดผิดแปลงตามคำฟ้องคดีสำนวนหลังได้ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นส่วนนี้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนในคดีแย่งครอบครองที่ดิน: ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องเดิมแล้ว การฟ้องคดีใหม่เป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งว่า จำเลยที่ 1ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 แต่ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณา จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท แล้วจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามดังกล่าวนั้นโดยขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้แล้ว การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีจำเลยทั้งสามเป็นคดีใหม่อีกโดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาประนีประนอมยอมความการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กระทำกันในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามเดิมนั้น เป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ทรัพย์สินรายเดียวกัน มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524ได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอีกดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเกี่ยวกับสิทธิซื้อที่ดินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ การฟ้องคดีใหม่จึงเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 แต่ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาจำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท แล้วจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามดังกล่าวนั้นโดยขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้แล้ว การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีจำเลยทั้งสามเป็นคดีใหม่อีกโดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาประนีประนอมยอมความการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กระทำกันในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 2 เพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามเดิมนั้น เป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ทรัพย์สินรายเดียวกัน มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 หรือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524ได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอีกดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 173วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: โจทก์ต่างกันในคดีจัดการมรดกและฟ้องแย่งครอบครองที่ดิน ไม่ขัดมาตรา 173 วรรคสอง ป.วิ.พ.
คดีก่อนซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ผ. โดยโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ร้องคัดค้าน ส่วนคดีนี้ผู้ร้องคัดค้านกลับเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องขอเป็นจำเลย โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงหาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสองไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำฟ้องที่มีประเด็นซ้ำกับคดีแพ่งในคดีอาญา
ก่อนฟ้องคดีนี้ พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวง ในฐานความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายซึ่งขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ และเป็นโจทก์ในคดีนี้ เงินจำนวนตามคำขอดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องและมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคำขอบังคับของโจทก์ในคดีนี้กับคำขอส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว เป็นเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้อง-ซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว อันต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามป.วิ.พ มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีแพ่งต้องห้าม หากมีคำขอเดียวกันในคดีอาญาอยู่ระหว่างพิจารณา
คำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ ทั้งโจทก์ก็ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวด้วย คำขอบังคับของโจทก์ในคดีนี้กับคำขอส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าวเป็นเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำขอค่าเสียหายในคดีอาญา vs. คดีแพ่ง – ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีการฎีกา
ก่อนฟ้องคดีนี้ พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวง ในฐานความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายซึ่งขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ และเป็นโจทก์ในคดีนี้ เงินจำนวนตามคำขอดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องและมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคำขอบังคับของโจทก์ในคดีนี้กับคำขอส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว เป็นเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว อันต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้