พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้าที่ดินร่วมกัน ความรับผิดของภริยาผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ และค่าเสียหายจากความผิดนัดสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นสามีของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบการค้าที่ดินโดยการจัดสรรขาย ส. ตกลงซื้อที่ดินจัดสรร ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายกันไว้โดยฝ่ายจำเลย มีแต่จำเลยที่ 1ลงลายมือชื่อคนเดียว แม้กระนั้นจำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าที่ดินนั้นมีชื่อจำเลยที่ 2 คนเดียว ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจทำสัญญาขายให้แก่ใครได้ โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยินยอมด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474
การที่ผู้จะขายที่ดินผิดนัดไม่โอนที่ดินให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญานั้นไม่ถือเป็นเหตุโดยปกติ ที่ทำให้ผู้จะซื้อต้องเสียค่าเช่าบ้านที่เช่าคนอื่นอยู่และถ้าจะถือว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ก็ต้องปรากฏว่าผู้จะขายได้คาดเห็นหรือควรได้คาดเห็นอยู่ก่อนแล้ว ผู้จะขายจึงจะต้องชดใช้ให้
ผู้จะซื้อทรัพย์มีหน้าที่ต้องมีเงินมาชำระค่าทรัพย์ที่จะซื้อนั้นอยู่แล้วถ้าผู้จะซื้อไปกู้เงินเขามาชำระต้องเสียดอกเบี้ย เรื่องดอกเบี้ยนั้นย่อมเป็นภาระส่วนตัวของผู้จะซื้ออันมีอยู่แล้วก่อนผิดนัด การที่ผู้จะขายผิดนัดไม่โอนทรัพย์ที่จะขายให้ ไม่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้ผู้จะซื้อต้องไปเสียดอกเบี้ย ผู้จะซื้อจะเรียกให้ผู้จะขายชดใช้ให้เป็นค่าเสียหายหาได้ไม่
การที่ผู้จะขายที่ดินผิดนัดไม่โอนที่ดินให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญานั้นไม่ถือเป็นเหตุโดยปกติ ที่ทำให้ผู้จะซื้อต้องเสียค่าเช่าบ้านที่เช่าคนอื่นอยู่และถ้าจะถือว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ก็ต้องปรากฏว่าผู้จะขายได้คาดเห็นหรือควรได้คาดเห็นอยู่ก่อนแล้ว ผู้จะขายจึงจะต้องชดใช้ให้
ผู้จะซื้อทรัพย์มีหน้าที่ต้องมีเงินมาชำระค่าทรัพย์ที่จะซื้อนั้นอยู่แล้วถ้าผู้จะซื้อไปกู้เงินเขามาชำระต้องเสียดอกเบี้ย เรื่องดอกเบี้ยนั้นย่อมเป็นภาระส่วนตัวของผู้จะซื้ออันมีอยู่แล้วก่อนผิดนัด การที่ผู้จะขายผิดนัดไม่โอนทรัพย์ที่จะขายให้ ไม่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้ผู้จะซื้อต้องไปเสียดอกเบี้ย ผู้จะซื้อจะเรียกให้ผู้จะขายชดใช้ให้เป็นค่าเสียหายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันของภริยา จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสามี หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การที่หญิงมีสามีทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของผู้อื่นก็ถือว่า ทำการที่จะผูกพันสินบริคณห์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 แล้ว ถ้าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของสามี สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้วสัญญานั้นก็ตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันสินบริคณห์ แต่โมฆะกรรมในกรณีเช่นนี้มิได้ทำให้สัญญาที่หญิงมีสามีไปทำไว้นั้นไม่มีผลเสียเลย หญิงนั้นยังคงต้องรับผิดใช้หนี้เป็นส่วนตัว คือให้ใช้ด้วยสินส่วนตัวของหญิงนั้นก่อน เมื่อไม่พอหรือไม่ปรากฏว่าหญิงนั้นมีสินส่วนตัว เจ้าหนี้จะต้องร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงนั้นตามมาตรา 1483 เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษา โจทก์จะยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9 -10/2514)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9 -10/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันของภริยาที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามี: โมฆียะ & ผลกระทบต่อสินบริคณห์
การที่หญิงมีสามีทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของผู้อื่นก็ถือว่าทำการที่จะผูกพันสินบริคณห์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 แล้ว ถ้าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของสามี สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้ว สัญญานั้น.ก็ตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันสินบริคณห์ แต่โมฆะกรรมในกรณีเช่นนี้มิได้ทำให้สัญญาที่หญิงมีสามีไปทำไว้นั้นไม่มีผลเสียเลย หญิงนั้นยังคงต้องรับผิดใช้หนี้เป็นส่วนตัว คือให้ใช้ด้วยสินส่วนตัวของหญิงนั้นก่อน เมื่อไม่พอหรือไม่ปรากฏว่าหญิงนั้นมีสินส่วนตัว เจ้าหนี้จะต้องร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงนั้นตามมาตรา 1483 เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษา โจทก์จะยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9-10/2514)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9-10/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จที่ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ และการขอรับมรดกโดยอ้างความเป็นภริยาโดยพฤตินัย ไม่ทำให้โจทก์เสียหาย
ความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 นั้น แม้ข้อความที่แจ้งจะเป็นเท็จแต่มิได้เกี่ยวข้องพาดพิงถึงโจทก์ ก็ไม่อาจทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
การที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยื่นคำร้องขอรับมรดกโดยอ้างว่าเป็นภริยาของผู้ตายนั้น แม้โดยนิตินัยจำเลยจะไม่ใช่แต่โดยพฤตินัยจำเลยเป็นภริยาของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จทำให้โจทก์ผู้เป็นทายาทเสียหาย
การที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยื่นคำร้องขอรับมรดกโดยอ้างว่าเป็นภริยาของผู้ตายนั้น แม้โดยนิตินัยจำเลยจะไม่ใช่แต่โดยพฤตินัยจำเลยเป็นภริยาของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จทำให้โจทก์ผู้เป็นทายาทเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทบุพการีของภริยาเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
สามีด่าหมิ่นประมาทบิดาของภริยาว่า "โคตรของหลวงสมานนี้เลวทั้งโคตรคบไม่ได้" ดังนี้ นับว่าเป็นการหมิ่นประมาทบุพการีของภริยาซึ่งเป็นการร้ายแรงตามกฎหมายแล้ว ภริยายกขึ้นเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสก่อน/หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการพิสูจน์สถานะทางกฎหมายของภริยาและบุตรเพื่อเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายขอให้บังคับให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างของผู้ขับรถชนผู้ตายตายใช้ค่าสินไหมทดแทน จำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่า โจทก์มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นภริยาของผู้ตายมา 36 ปีแล้วเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรส จำเลยอุทธรณ์โดยมิได้คัดค้านข้อนี้ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยใหม่ แล้วฟังว่ามีการสมรสกันมาเพียง 27 ปี ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จึงไม่ใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย และวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสินบริคณห์ที่ภริยาทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ย่อมเป็นโมฆียะ แต่ยังไม่บอกล้างถือว่ามีผลใช้บังคับ
ภริยานำเอาที่นาสินบริคณห์ไปให้จำเลยเช่า โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นสามีสัญญาเช่านั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
แม้สัญญาเช่าเป็นโมฆียะ แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้บอกล้าง สัญญาเช่านั้นก็คงยังสมบูรณ์ การที่จำเลยเข้าทำนาโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมไม่เป็นละเมิด โจทก์จะฟ้องขับไล่หาว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหาได้ไม่
ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมโดยพฤตินัยได้หรือไม่ ไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้สัญญาเช่าเป็นโมฆียะ แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้บอกล้าง สัญญาเช่านั้นก็คงยังสมบูรณ์ การที่จำเลยเข้าทำนาโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมไม่เป็นละเมิด โจทก์จะฟ้องขับไล่หาว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหาได้ไม่
ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมโดยพฤตินัยได้หรือไม่ ไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อเป็นภริยา ไม่ถือว่าเป็นการพาไปเพื่ออนาจาร
จำเลยกับผู้เยาว์รักใคร่ชอบพอกันแล้วหนีตามกันไปพักค้างคืนที่อื่น 20 กว่าคืน แล้วพากันกลับมาขอขมาพ่อแม่ผู้เยาว์ และพักอยู่กินด้วยกันที่บ้านพ่อแม่ผู้เยาว์อีก 10 กว่าวัน พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยพาผู้เยาว์ไปเพื่อเป็นภริยา ไม่ใช่พาไปเพื่ออนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการค้าสลาก: ภริยาทำกิจการค้าแยกจากสามี สามีมีสิทธิจำกัดแค่การยินยอมครั้งแรก
สามีซึ่งเป็นจำเลยร่วมโอนสิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่ายสลากกินแบ่งในนามส่วนราชการให้ภริยาซึ่งเป็นจำเลยทำการค้าขายมาประมาณ 20 ปี โดยในการค้าสลากกินแบ่งนั้น ภริยามีสิทธิที่จะพิจารณาได้เองตลอดจนการหาเงินจ่ายค่าสลากกินแบ่ง ย่อมเป็นเรื่องภริยาทำกิจการค้าขายแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก(โดยได้รับอนุญาตจากสามี) การที่ภริยาจะเสาะแสวงหาจำนวนสลากกินแบ่งมาค้าขายหรือจำหน่ายจำนวนสลากกินแบ่งนั้นไปอยู่ในวิสัยที่ภริยาจะทำได้ ดังนั้น การที่ภริยาตกลงโอนสิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่ายสลากกินแบ่งให้บุคคลภายนอกไปบางส่วนโดยได้รับค่าตอบแทนจึงอยู่ภายในขอบเขตแห่งกิจการค้าขายของภริยา แม้จะมิได้รับอนุญาตจากสามีอีกชั้นหนึ่งสามีก็หามีสิทธิบอกล้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่ายสลากกินแบ่งภายในครอบครัว ถือเป็นอำนาจจัดการในกิจการค้าขายของภริยา สามีมีสิทธิจำกัด
สามีซึ่งเป็นจำเลยร่วมโอนสิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่ายสลากกินแบ่งในนามส่วนราชการให้ภริยาซึ่งเป็นจำเลยทำการค้าขายมาประมาณ 20 ปี. โดยในการค้าสลากกินแบ่งนั้น ภริยามีสิทธิที่จะพิจารณาได้เองตลอดจนการหาเงินจ่ายค่าสลากกินแบ่ง. ย่อมเป็นเรื่องภริยาทำกิจการค้าขายแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก(โดยได้รับอนุญาตจากสามี). การที่ภริยาจะเสาะแสวงหาจำนวนสลากกินแบ่งมาค้าขายหรือจำหน่ายจำนวนสลากกินแบ่งนั้นไปอยู่ในวิสัยที่ภริยาจะทำได้. ดังนั้น การที่ภริยาตกลงโอนสิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่ายสลากกินแบ่งให้บุคคลภายนอกไปบางส่วนโดยได้รับค่าตอบแทน.จึงอยู่ภายในขอบเขตแห่งกิจการค้าขายของภริยา. แม้จะมิได้รับอนุญาตจากสามีอีกชั้นหนึ่ง.สามีก็หามีสิทธิบอกล้างไม่.