คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาระจำยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: ผู้ใช้ทางต้องเป็นเจ้าของที่ดินที่ได้รับประโยชน์ มิใช่เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมโจทก์และครอบครัวได้ใช้ที่ดินของจำเลยมีขนาดกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวประมาณ 25 เมตร เป็นทางเดินและทางรถยนต์เข้าออกสู่ถนนสาธารณะตลอดมาไม่น้อยกว่า 25 ปีแล้ว โดยมีแผนที่สังเขปท้ายฟ้องประกอบ ทั้งมีคำขอท้ายฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมด้วย ถือว่าเป็นฟ้องที่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่าได้ภาระจำยอมโดยอายุความ แม้คำฟ้องของโจทก์จะบรรยายด้วยว่าที่ดินที่ตั้งบ้านของโจทก์ล้อมรอบด้วยที่ดินแปลงอื่น ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ฟ้องของโจทก์ก็หาเคลือบคลุมไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภาระจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น กรณีการใช้ทางในที่ดินของบุคคลหนึ่งจะตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งเจ้าของบ้านอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่นดังกล่าว ดังนั้นโจทก์ที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของบ้าน แต่มิได้เป็นเจ้าของที่ดินที่บ้านดังกล่าวตั้งอยู่ จึงไม่อาจอ้างการได้สิทธิทางภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 เพราะเป็นการใช้ทางภาระจำยอมโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่โจทก์ที่ 2 ปลูกบ้านอยู่ โจทก์ที่ 2 ไม่อาจอ้างว่าที่ดินของจำเลยตกเป็นทางภาระจำยอมแก่บ้านของโจทก์ที่ 2 ได้ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่ในฟ้องของโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เข้าสู่สำนวนโดยถูกต้องตามวิธีพิจารณา แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ทางพิพาทมีความกว้างเพื่อให้รถยนต์ใช้เข้าออกได้และโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินและทางรถยนต์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์มาเกิน10 ปีแล้ว แม้ในการกะประเด็นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นใช้คำว่าทางเดินเท่านั้นก็ตาม ย่อมมีความหมายรวมกันทั้งทางเดินเท้าและทางเดินรถด้วยเพราะฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์ได้ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางเดินและทางรถยนต์ จึงชอบที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยเปิดทางภาระจำยอมกว้างประมาณ 3 เมตรได้
เมื่อฟังว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมซึ่งโจทก์มีสิทธิใช้ได้แล้ว โจทก์และบริวารย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทตลอดเวลา หากจำเลยปิดประตูเหล็กตาข่ายไว้สองบานหรือบานใดบานหนึ่ง ย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงไม่มีสิทธิทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาบังคับให้จำเลยเปิดประตูเหล็กตาข่ายให้โจทก์ใช้รถยนต์เข้าออกได้ตามปกติ และให้ปิดไว้เมื่อไม่ใช้ จึงไม่จำเป็นและเป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์: การใช้ทางผ่านในที่ดินของผู้อื่นเป็นระยะเวลานาน
โจทก์ใช้เส้นทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางผ่านไปมาระหว่างบ้านของโจทก์และที่นาของโจทก์ในช่วงฤดูทำนาปีละ 2 ช่วง คือ เพื่อไถหว่านข้าว และปลูกข้าว ก่อนที่จำเลยจะปลูกข้าวในที่พิพาทช่วงหนึ่ง และเพื่อเก็บเกี่ยวขนข้าวในนากลับบ้าน หลังจากจำเลยเก็บเกี่ยวข้าวในนาของจำเลยแปลงที่ทางพิพาทพาดผ่านเสร็จแล้วอีกช่วงหนึ่ง และปฏิบัติเช่นนี้มาเกินกว่าสิบปีโดยลักษณะที่เป็นปรปักษ์ต่อสิทธิของจำเลย ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่องเกินกว่าสิบปี และการกำหนดความกว้างของทาง
โจทก์ใช้เส้นทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางผ่านไปมาระหว่างบ้านของโจทก์และที่นาของโจทก์ในช่วงฤดูทำนาปีละ2ช่วงคือเพื่อไถหว่านข้าวและปลูกข้าวก่อนที่จำเลยจะปลูกข้าวในที่พิพาทช่วงหนึ่งและเพื่อเก็บเกี่ยวขนข้าวในนากลับบ้านหลังจากจำเลยเก็บเกี่ยวข้าวในนาของจำเลยแปลงที่พิพาทพาดผ่านเสร็จแล้วอีกช่วงหนึ่งและปฏิบัติเช่นนี้มาเกินกว่าสิบปีโดยลักษณะที่เป็นปรปักษ์ต่อสิทธิของจำเลยทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมที่ดินจัดสรร: สิทธิใช้ทางสัญจร vs. การบำรุงรักษา และการโต้แย้งสิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์
การที่โจทก์แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1831 ออกเป็นแปลงย่อยปลูกสร้างตึกแถวขายถึง 50 แปลง อีกทั้งยังจัดให้มีการทำถนนออกสู่ทางสาธารณะโดยจัดสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างตึกแถวขายเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อตึกแถวเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป ที่ดินที่โจทก์เว้นไว้เป็นถนนจึงเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้น ต้องตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามนัยแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30วรรคแรก และข้อ 32 ดังนั้น ถนนหน้าตึกแถวของจำเลยและผู้ที่ซื้อตึกแถวรายอื่น ๆย่อมตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรเพื่อประโยชน์แก่ผู้ซื้อตึกแถวทุกห้อง
จำเลยคงมีสิทธิใช้ถนนพิพาทเป็นทางสัญจรผ่านเข้าออกได้เท่านั้นส่วนโจทก์ในฐานะเป็นผู้จัดสรรมีหน้าที่บำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภคนั้นให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป เมื่อจำเลยก่อสร้างกันสาดและวางของขายบนถนนย่อมทำให้ถนนอันเป็นสาธารณูปโภคนั้นเสื่อมสภาพ เสื่อมประโยชน์การใช้ทางสัญจร ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดสรรและเจ้าของกรรมสิทธิ์ในถนนพิพาทนั้นด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมไม่เกิดจากการใช้ทางของเพียงผู้เช่า แม้ใช้ต่อเนื่องนานปี
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น โดยไม่มีรายละเอียดว่านอกฟ้องนอกประเด็นอย่างไร จึงไม่เป็นฎีกาที่ชัดแจ้ง ทั้งปรากฏว่าศาลอุทธรณ์เห็นชอบกับศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ไม่มีอะไรให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันจะต้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่เป็นฎีกาที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย
ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของสามยทรัพย์ การใช้ทางพิพาทขนส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินของกระทรวงการคลังเท่านั้น มิได้เป็นการใช้แทนหรือทำในนามหรือเพื่อประโยชน์ของกระทรวงการคลังอันจะก่อให้เกิดภาระจำยอมในสามยทรัพย์ การใช้ทางพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกิดภาระจำยอม แม้จะใช้มาเป็นเวลา 10 ปีเศษจำเลยที่ 1 ผู้เช่าจะอ้างสิทธิว่าได้ใช้ทางพิพาทจนได้ภาระจำยอมแก่เจ้าของที่ดินผู้ให้เช่าหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินราคา, ค่าทดแทนส่วนที่เหลือ, ภาระจำยอม, และดอกเบี้ย
การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ถึง พ.ศ.2534 ของกรมที่ดินเป็นเกณฑ์กำหนด โดยกำหนดสูงกว่าราคาที่ดินที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีบำรุงท้องที่ อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคสี่ ก่อนถูกแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่ให้นำมาตรา 21 (2) (3) มาเป็นเกณฑ์กำหนดก็ตาม แต่ก็เป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญญัติดังกล่าว มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งกำหนดราคาเบื้องต้น การจ่ายเงินค่าทดแทนในการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ และโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2534 คดีจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับ ฉะนั้นการพิจารณาค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนสอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวจะต้องนำเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 21 (1) (4) และ(5) มาประกอบการพิจารณาด้วย
อำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเพราะเหตุราคาลดลงนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสาม บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึงการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์ครั้งนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่เหลือจากการเวนคืนได้
จำเลยได้สร้างทางจำเป็นกว้าง 4.80 เมตร ให้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ซึ่งโจทก์สามารถใช้ทางจำเป็นดังกล่าวเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกอยู่แล้ว ที่โจทก์จะขอให้จดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้มีความกว้าง 6 เมตรนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไปนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นทางด่วนสาธารณูปโภคและได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ข้อ 29 บัญญัติมีใจความว่า ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งอื่นเชื่อมต่อทางพิเศษ หากมีการฝ่าฝืน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจรื้อถอนหรือทำลายได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ห้ามเด็ดขาดที่จะมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือน หรือสิ่งอื่นเชื่อมทางพิเศษ ทั้งการได้ภาระจำยอมในที่ดินแปลงใดก็ตามต้องได้มาโดยนิติกรรม โดยอายุความ หรือโดยผลกฎหมายที่บัญญัติใน ป.พ.พ.เท่านั้น เมื่อกรณีของโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่อาจบังคับภาระจำยอมให้โจทก์ได้
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ผู้ได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นจะต้องได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใด ก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราต่อปีคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้ภาระจำยอมโดยอายุความต้องพิสูจน์การใช้ทางต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ของที่ดินของตนเอง
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ทั้งสองอ้างว่าได้ภาระจำยอมมาโดยอายุความจากการเดินผ่านทางพิพาท ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 โจทก์ที่ 1 จะต้องใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านออกไปจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 หรือผ่านเข้าไปในที่ดินของโจทก์ที่ 1 ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จึงจะได้ภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยตามที่ฟ้อง แต่ปรากฏว่าในคำฟ้องมิได้กล่าวว่า โจทก์ที่ 1ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกในที่ดินของโจทก์ที่ 1 มาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คงกล่าวมีใจความเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางที่ประชาชนและเจ้าของที่ดินบริเวณนั้นใช้มาเป็นเวลาหลายสิบปี มีสภาพเป็นทางภาระจำยอมที่ประชาชนใช้ร่วมกันตามคำฟ้องโจทก์นี้ไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยมาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภาระจำยอมของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าวข้างต้น ส่วนประชาชนจะได้ใช้ทางพิพาทนี้อย่างไรย่อมไม่เกี่ยวกับการได้ภาระจำยอมของโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด สำหรับโจทก์ที่ 2 แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โจทก์ที่ 2เป็นผู้ใช้เส้นทางภาระจำยอมบนที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ทะเลเป็นปกติประจำนานเกินกว่า 40 ปี แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 มีที่ดินที่จะได้รับประโยชน์จากทางภาระจำยอมนั้นด้วยหรือไม่ หากโจทก์ที่ 2 ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง โจทก์ที่ 2จะอ้างว่าใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ในการออกสู่ทะเลไม่ได้ เนื่องจากภาระจำยอมจะเกิดขึ้นต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงมิได้กล่าวถึงข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการที่จะบังคับจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางพิพาทและไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับทางพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมทางเดิน: การใช้ทางต่อเนื่องกว่า 10 ปี และสิทธิของผู้รับมรดก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายประกอบเอกสารกับภาพถ่ายท้ายฟ้องอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องไว้แล้วว่า เดิม พ.สามีจำเลยจัดสรรแบ่งขายที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2800 ให้แก่คนทั่วไปโดยที่ดินส่วนหนึ่งคือที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทตามโฉนดเลขที่10514 ได้เว้นไว้สำหรับทำทางเดินและทางรถกว้าง 2 วา ตามแผนที่โฉนดท้ายฟ้องหมายเลข 2 โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะกว่า 10 ปี และบรรยายต่อไปว่าจำเลยได้ให้คนปักเสาขึงลวดหนามกั้นเขตที่ดินโจทก์ และปักเสา 3 ต้น ขวางถนนเข้าบ้านโจทก์ตามภาพถ่ายหมายเลข 4 และ 5 ตามลำดับ ทำให้โจทก์รับความเสียหายเสื่อมประโยชน์โดยไม่อาจทำประตูเข้าออกบ้านได้ ฟ้องของโจทก์บรรยายชัดเจนซึ่งสภาพแห่งข้อหาปิดกั้นทางภาระจำยอม คำขอบังคับให้จำเลยรื้อรั้วและเสาที่กั้นเขตที่ดิน กั้นทางเข้าออก ตลอดถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เดิม พ.ประสงค์ให้ทางพิพาทเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและใช้ทางพิพาทตลอดมากว่า 10 ปี โดยจำเลยไม่ได้แสดงการสงวนสิทธิในที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทไว้โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาทตลอดแนวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 จำเลยผู้รับมรดกทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จึงจำต้องรับภาระจำยอมดังกล่าว ไม่มีสิทธิปิดกั้นรุกล้ำแนวทางพิพาทหรือประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา 1390
หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์จึงชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8399/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมเกิดขึ้นจากการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้มีการตกลงร่วมกันก่อนหน้า
โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วม จำเลย และผู้ร่วมซื้อที่ดินทุกคนตกลงกันว่ายอมให้จำเลยเลือกเอาที่ดินด้านที่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 941 ของจำเลยตลอดแนวเป็นเนื้อที่ 2,400 ส่วน โดยไม่ต้องจับสลาก และจำเลยยอมให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วม และผู้ร่วมซื้อคนอื่น ๆ ผ่านเข้าออกที่ดินโฉนดเลขที่ 941ของจำเลยไปสู่ถนนสามัคคีได้ เมื่อมีการทำแผนที่แบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยและถนนแล้วให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วม และผู้ซื้อทุกคนตรวจดูเห็นว่าถูกต้องจึงได้จับสลากเป็นของแต่ละคน จำเลยได้จัดการถมดินในที่ดินแปลงย่อยทั้งสองของจำเลยและทำถนนต่อจากถนนที่ใช้ร่วมกันในที่ดินโฉนดเลขที่ 875 ผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 941ไปสู่ถนนสามัคคี ซึ่งเป็นถนนสาธารณะ โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้ประโยชน์จากถนนดังกล่าวเข้าออกสู่ถนนสาธารณะตลอดมาตั้งแต่ปี 2520 โจทก์ที่ 3 ได้เข้าไปปลูกต้นไม้ และโจทก์ที่ 4 ได้เข้าไปปลูกบ้านและขุดบ่อเลี้ยงปลา ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ถนนดังกล่าวตามสิทธิตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้ภาระจำยอมมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7637/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมและการใช้ประโยชน์ที่ดินรถไฟ: ที่ดินรถไฟไม่อาจตกเป็นภาระจำยอม แม้มีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง
ข้อตกลงที่หม่อมหลวง ด.ยอมให้บริษัทรถไฟสร้างถนนผ่านที่ดินของหม่อมหลวง ด.เป็นทางเข้าออกจากสถานีรถไฟคลองสานสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยาเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยของบริษัทรถไฟโดยบริษัทรถไฟ มิได้ตกลงให้หม่อมหลวง ด.มีสิทธิใช้ที่ดินของบริษัทรถไฟ อันจะเป็นเหตุให้ถือได้ว่าหม่อมหลวง ด.มีสิทธิภาระจำยอมในที่ดินของบริษัทรถไฟ ดังนั้นไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะยังคงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองผู้รับโอนที่ดินของหม่อมหลวง ด. กับการรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกิจการและทรัพย์สินของบริษัทรถไฟหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้ที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 เป็นภาระจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินจากโจทก์ทั้งสองและจากบุคคลอื่น โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้คำมั่นหรือรับรองว่าจะซื้อมาทำเป็นถนนหรือทางสาธารณะ แต่ทำถนนพิพาทขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 2ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ถนนสาธารณะ แต่ถือได้ว่าเป็นที่ดินรถไฟตาม พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา 3(2) และเป็นที่ดินที่ห้ามมิให้บุคคลใดยกกำหนดอายุความขึ้นต่อสู้เหนือที่ดินรถไฟดังกล่าว ตามมาตรา 6(1) ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 จึงยังมีผลใช้บังคับได้ตาม พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 3และ 16 ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะใช้ถนนพิพาทมาแล้วนานเพียงใดถนนพิพาทซึ่งเป็นที่ดินรถไฟก็ไม่อาจตกเป็นภาระจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
of 43