พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า โจทก์ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และเพิ่งแบ่งที่ดินบางส่วนมาสร้างตึกแถวขึ้นภายหลัง เพื่อประสงค์จะขายตึกแถวพร้อมที่ดินโดยแบ่งเป็นคูหา ตึกแถวที่สร้างขึ้นใหม่จึงเป็นตึกแถวที่โจทก์สร้างขึ้นมาเพื่อขายหากำไรโดยเฉพาะ เงินได้จากการขายตึกแถวเป็นเงินได้พึงประเมินตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)เพราะคำว่า "การอื่น" นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(8) นั้นหมายถึงเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1) ถึง (7) ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไร ถือเป็นการค้า ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และเพิ่งแบ่งที่ดินบางส่วนมาสร้างตึกแถวขึ้นภายหลัง เพื่อประสงค์จะขายตึกแถวพร้อมที่ดินโดยแบ่งเป็นคูหาตึกแถวที่สร้างขึ้นใหม่จึงเป็นตึกแถวที่โจทก์สร้างขึ้นมาเพื่อขายหากำไรโดยเฉพาะเงินได้จากการขายตึกแถวเป็นเงินได้พึงประเมินตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) เพราะคำว่า 'การอื่น' นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(8) นั้นหมายถึงเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1)ถึง (7) ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8).
โจทก์ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และเพิ่งแบ่งที่ดินบางส่วนมาสร้างตึกแถวขึ้นภายหลัง เพื่อประสงค์จะขายตึกแถวพร้อมที่ดินโดยแบ่งเป็นคูหาตึกแถวที่สร้างขึ้นใหม่จึงเป็นตึกแถวที่โจทก์สร้างขึ้นมาเพื่อขายหากำไรโดยเฉพาะเงินได้จากการขายตึกแถวเป็นเงินได้พึงประเมินตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) เพราะคำว่า 'การอื่น' นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(8) นั้นหมายถึงเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1)ถึง (7) ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากส่วนต่างราคาตั๋วเครื่องบินผ่านตัวแทน ถือเป็นรายรับที่ต้องนำมาคำนวณภาษี
โจทก์ประกอบกิจการบินขนส่งระหว่างประเทศ การที่โจทก์มอบให้ตัวแทนของโจทก์ขายตั๋วเครื่องบินและติดต่อรับขนของทางอากาศ โจทก์จะต้องจ่ายเงินผลประโยชน์แก่ตัวแทนเท่ากับผลต่างระหว่างราคาที่โจทก์เรียกเก็บจากตัวแทนกับราคาที่ตัวแทนเรียกเก็บจากผู้โดยสารและผู้ส่งของในราคาไม่เกินราคาที่ระบุในตั๋วเครื่องบินหรือใบขนของทางอากาศ ผลประโยชน์ดังกล่าวถือเป็นรายรับของโจทก์ส่วนหนึ่งตาม ป.รัษฎากรมาตรา 79 โจทก์จึงต้องคำนวณเอาเงินจำนวนนี้เข้าเป็นรายรับของโจทก์เพื่อคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67ด้วย ส่วนที่ตัวแทนต้องนำรายรับดังกล่าวไปเสียภาษีก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลซึ่งต่างต้องรับผิดชอบเสียภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่เกี่ยวถึงความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล: การตีราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นถือเป็นกำไรที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิต โจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วย ถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้ การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3)
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและการรวมเป็นกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิตโจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วยถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(3) หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ทวิ(3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิ ของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ใน งบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทประกันภัยลงทุนในหุ้น
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิต โจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วย ถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3)
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย.
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาษีการค้าคลังสินค้า vs. ค่าขนส่ง และหน้าที่หักภาษีเงินได้ของลูกจ้าง
ตามประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติว่ารายรับจากการค้าประเภทคลังสินค้าหมายถึงอะไรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา770และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา770,771นายคลังสินค้าคือผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเท่านั้นกฎหมายหาได้กำหนดให้นายคลังสินค้าต้องมีหน้าที่ขนสินค้ามาเข้าหรือออกจากคลังสินค้าของตนด้วยไม่ฉะนั้นรายรับจากการประกอบการคลังสินค้าก็คือค่าบำเหน็จในการเก็บรักษาสินค้าหรือค่ารับฝากสินค้าเท่านั้นหารวมถึงค่าขนส่งไม่การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าได้ออกทดรองจ่ายค่าจ้างขนสินค้าให้แก่ผู้รับขนแทนผู้ฝากสินค้าไปนั้นเงินทดรองจ่ายค่าขนสินค้าของผู้ฝากนี้เป็นรายรับของผู้รับขนซึ่งผู้ฝากสินค้ามีหน้าที่ต้องจ่ายตามสัญญาหาใช่รายรับของโจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าโจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเงินค่ารับขนที่ได้ทดรองจ่ายแทนผู้ฝากไป. โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ของลูกจ้างไว้จากเงินได้ของลูกจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา50เมื่อโจทก์ไม่หักภาษีไว้โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา54.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร โดยพิจารณาจากเงินได้ที่ได้รับจริง
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาแล้ว
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้น คือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน
ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ 2 ราย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้น คือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน
ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ 2 ราย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายสำหรับพนักงานที่เข้าทำงานระหว่างปี: เกณฑ์การคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับจริง
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา39เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาแล้ว. การคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้นคือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน. ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ2รายการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขัน จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย แต่ไม่รวมค่าภาษีเงินได้ และศาลไม่เห็นสมควรวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาล
จำเลยไม่ยอมรับโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของโรงงานสุราบางยี่ขันเข้าทำงานกับจำเลยตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับจำเลยซึ่งจำเลยได้ให้สัญญาว่าจะรับพนักงานของโรงงานสุราบางยี่ขัน และเมื่อโจทก์ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวได้แสดงความจำนงจะเข้าทำงานกับจำเลยแล้วนั้น จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญา ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ค่าเสียหายของโจทก์ในกรณีนี้คือเงินที่โจทก์พึงได้รับจากจำเลยหากจำเลยรับโจทก์เข้าทำงาน และเมื่อโจทก์มีรายได้จากการทำงานกับบริษัทอื่นหลังจากที่จำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้ว ก็ต้องนำรายได้นั้นมาหักจากจำนวนเงินที่โจทก์พึงได้จากจำเลยดังกล่าวด้วย
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ต้องฟ้องต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 นั้นจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ แม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่กรมสรรพากรแทนโจทก์มาด้วย โจทก์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่เรียกร้องโจทก์จะมาอ้างว่าเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเสียภาษีเงินได้ของโจทก์ต่อกรมสรรพากรแล้วขอคืนเงินค่าขึ้นศาลดังกล่าวหาได้ไม่
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานของจำเลยเท่านั้น โจทก์มิได้เป็นพนักงานของจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้วจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จดังกล่าวสิทธิของโจทก์มีเพียงเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาเท่านั้น และหากจะถือว่าโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จมาในฐานะเป็นค่าเสียหาย เมื่อค่าเสียหาย ที่ศาลกำหนดให้มาเหมาะสมแล้ว โจทก์จึงไม่สมควรได้รับเงินบำเหน็จนั้นในฐานะเป็นค่าเสียหายอีก
ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามที่โจทก์ต้องชำระต่อกรมสรรพากรในยอดค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ เมื่อปรากฏว่าตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้แทนพนักงานหรือคนงานของจำเลยเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์ และเมื่อค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนพอสมควรแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์
ค่าเสียหายของโจทก์ในกรณีนี้คือเงินที่โจทก์พึงได้รับจากจำเลยหากจำเลยรับโจทก์เข้าทำงาน และเมื่อโจทก์มีรายได้จากการทำงานกับบริษัทอื่นหลังจากที่จำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้ว ก็ต้องนำรายได้นั้นมาหักจากจำนวนเงินที่โจทก์พึงได้จากจำเลยดังกล่าวด้วย
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ต้องฟ้องต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 นั้นจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ แม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่กรมสรรพากรแทนโจทก์มาด้วย โจทก์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่เรียกร้องโจทก์จะมาอ้างว่าเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเสียภาษีเงินได้ของโจทก์ต่อกรมสรรพากรแล้วขอคืนเงินค่าขึ้นศาลดังกล่าวหาได้ไม่
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานของจำเลยเท่านั้น โจทก์มิได้เป็นพนักงานของจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมรับโจทก์เข้าทำงานแล้วจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จดังกล่าวสิทธิของโจทก์มีเพียงเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาเท่านั้น และหากจะถือว่าโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จมาในฐานะเป็นค่าเสียหาย เมื่อค่าเสียหาย ที่ศาลกำหนดให้มาเหมาะสมแล้ว โจทก์จึงไม่สมควรได้รับเงินบำเหน็จนั้นในฐานะเป็นค่าเสียหายอีก
ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามที่โจทก์ต้องชำระต่อกรมสรรพากรในยอดค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ เมื่อปรากฏว่าตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฯ ระบุให้จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้แทนพนักงานหรือคนงานของจำเลยเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์ และเมื่อค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนพอสมควรแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวแทนโจทก์