พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนต้องเป็นไปตามกฎหมายและใช้ราคาเช่าที่สมเหตุสมผล ศาลสั่งคืนเงินส่วนเกิน
การประเมินค่ารายปีสำหรับภาษีโรงเรือนประเภทโรงแรมตามสูตรค่ารายปี เท่ากับ ค่าเช่าห้อง คูณ จำนวนห้อง คูณ 15 ส่วน 100ซึ่งโจทก์มิได้ยอมรับว่าถูกต้อง จะถือว่าเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้วไม่ได้ ทั้งข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความก็ไม่ปรากฏว่าจำนวนค่าเช่าปีที่ล่วงมาแล้วและปีที่พิพาทกันที่จะให้เช่าได้นั้นมีราคาแตกต่างกัน จึงต้องนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วกำหนดเป็นค่ารายปีปีที่พิพาท การคืนเงินค่าภาษีส่วนที่ชำระเกินจะต้องคืนภายในกำหนดสามเดือน มิฉะนั้นย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 39 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4488/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ผู้เสียภาษีมีสิทธิโต้แย้งการประเมินที่สูงเกินจริง และศาลต้องใช้ค่ารายปีปีก่อนเป็นหลัก
อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทกันในเรื่องภาษีโรงเรือนในคดีนี้นั้นเป็นของโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังแจ้งรายการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2530 ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้มายังโจทก์โดยตรงในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประเมินภาษีโรงเรือน ทั้งโจทก์ก็ไปชำระภาษีประจำปี พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2530 ตามจำนวนที่ได้รับประเมินในนามของโจทก์เองพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระภาษีดังกล่าวไว้เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือน เมื่อโจทก์เห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีเกินไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินไปนั้นคืนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ.2529 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2526 กับปี พ.ศ.2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2529 ก็สูงกว่าในปีพ.ศ.2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้น แต่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปี พ.ศ.2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ.2528เป็นหลัก
ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ.2529 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2526 กับปี พ.ศ.2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2529 ก็สูงกว่าในปีพ.ศ.2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้น แต่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปี พ.ศ.2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ.2528เป็นหลัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4488/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ผู้รับประเมินมีสิทธิฟ้องเมื่อถูกประเมินภาษีเกินจริง แม้จะรับประเมินไว้แล้ว
อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทกันในเรื่องภาษีโรงเรือนในคดีนี้นั้นเป็นของโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังแจ้งรายการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2529 และพ.ศ. 2530 ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้มายังโจทก์โดยตรงในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประเมินภาษีโรงเรือน ทั้งโจทก์ก็ไปชำระภาษีประจำปี พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2530 ตามจำนวนที่ได้รับประเมินในนามของโจทก์เอง พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ก็ยอมรับชำระภาษีดังกล่าวไว้เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือน เมื่อโจทก์เห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีเกินไปโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินไปนั้นคืนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ. 2529เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2526 กับปี พ.ศ. 2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับ โรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2529ก็สูงกว่าในปี พ.ศ. 2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้นแต่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปีพ.ศ. 2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ. 2528 เป็นหลัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งภาษีโรงเรือน: ต้องยื่นคัดค้านหรือฟ้องภายในกำหนด และชำระภาษีไว้ก่อน จึงจะมีสิทธิโต้แย้งได้
จำเลยไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ให้เสียภาษี ก็ชอบที่จะยื่นคำโต้แย้งคัดค้านการประเมิน หรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และหากจำเลยยังไม่พอใจการชี้ขาดการประเมิน ก็อาจนำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และมาตรา 39 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้ว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นการไม่ชอบ ในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องกระทำภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะเสียสิทธิในการโต้แย้ง
จำเลยไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ให้เสียภาษีก็ชอบที่จะยื่นคำโต้แย้งคัดค้านการประเมิน หรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และหากจำเลยยังไม่พอใจการชี้ขาดการประเมิน ก็อาจนำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31 วรรคหนึ่งทั้งนี้ จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้น ซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และมาตรา 39วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้ว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นการไม่ชอบ ในการโต้แย้งนั้น ไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องใช้ค่าเช่าที่สมควรเป็นหลัก ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีคืน
โจทก์เช่าโรงงานสุราจากจำเลยที่ 1 โดยจดทะเบียนการเช่าอัตราค่าเช่าปีละ 979,200 บาท ดังนี้ต้องถือจำนวนค่าเช่าดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปี เจ้าพนักงานจะอาศัยเทียบเคียงกับการประเมินภาษีโรงเรือนของบริษัทอื่นซึ่งตั้งอยู่ต่างเขตกัน ลักษณะของโรงเรือนและวัตถุประสงค์ในการใช้สอยแตกต่างกัน มาแก้หรือคำนวณค่ารายปีใหม่หาได้ไม่ แม้โจทก์มิใช่ผู้รับประเมิน แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 ตามข้อผูกพันในสัญญาเช่าที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าภาษีที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บเกินไปซึ่งจำเลยที่ 1อุทธรณ์การประเมินไว้แล้วคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อลดหย่อนภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
กรุงเทพมหานครได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ระดับ 3 ขึ้นไปและเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ระดับ 4 ขึ้นไปเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษีตามพ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ 3 งานรายได้ โดยมีหน้าที่ รับแบบตรวจสอบรายการ สถานที่ กำหนดค่ารายปีเสนอหัวหน้างานพิจารณาสั่งการตามคำสั่งหัวหน้าเขต จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ ตามคำสั่งกรุงเทพมหานครหรือไม่ มิใช่สาระสำคัญ การที่จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะทำให้ผู้เสียหายเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินน้อยกว่าที่ควรจะต้องเสีย จึงเป็นการกระทำเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกเงินเพื่อลดหย่อนภาษีโรงเรือน: การกระทำความผิดฐานเจ้าพนักงานใช้อำนาจในทางที่ผิด
กรุงเทพมหานครได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ระดับ 3 ขึ้นไป และเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ ระดับ 4 ขึ้นไปเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ 3 งานรายได้ โดยมีหน้าที่ รับแบบตรวจสอบรายการ สถานที่ กำหนดค่ารายปี เสนอหัวหน้างานพิจารณาสั่งการตามคำสั่งหัวหน้าเขต จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ ตามคำสั่งกรุงเทพมหานครหรือไม่ มิใช่สาระสำคัญ การที่จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะทำให้ผู้เสียหายเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินน้อยกว่าที่ควรจะต้องเสีย จึงเป็นการกระทำเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935-936/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การพิจารณาค่าเช่าและเงินช่วยค่าก่อสร้างเป็นรายได้ในการคำนวณภาษี
จำเลยประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับตึกแถวของโจทก์โดยเทียบเคียงกับตึกแถวที่อยู่บนถนนเดียวกัน มีสภาพเช่นเดียวกันได้
แม้โจทก์จะได้รับค่าเช่าเดือนละ 100-300 บาทต่อห้อง แต่ผู้เช่าต้องชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างถึงรายละ 420,000 บาทต่อห้อง ย่อมถือว่าเป็นค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าเพื่อคำนวณเป็นค่าเช่ารายปีในการประเมินค่าภาษีได้ แม้ความจริงโจทก์จะไม่ได้รับเงินช่วยค่าก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นผู้รับไปก็หาเป็นข้อสำคัญไม่ เพราะโจทก์จะลงทุนก่อสร้างเองหรือจะให้ผู้อื่นลงทุน โจทก์ย่อมคาดคะเนแล้วว่าโจทก์ได้ผลประโยชน์ตอบแทนใกล้เคียงกัน.(ที่มา-ส่งเสริม)
แม้โจทก์จะได้รับค่าเช่าเดือนละ 100-300 บาทต่อห้อง แต่ผู้เช่าต้องชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างถึงรายละ 420,000 บาทต่อห้อง ย่อมถือว่าเป็นค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าเพื่อคำนวณเป็นค่าเช่ารายปีในการประเมินค่าภาษีได้ แม้ความจริงโจทก์จะไม่ได้รับเงินช่วยค่าก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นผู้รับไปก็หาเป็นข้อสำคัญไม่ เพราะโจทก์จะลงทุนก่อสร้างเองหรือจะให้ผู้อื่นลงทุน โจทก์ย่อมคาดคะเนแล้วว่าโจทก์ได้ผลประโยชน์ตอบแทนใกล้เคียงกัน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้การประเมินภาษีโรงเรือนสูงเกินควร และการคืนเงินภาษีที่ประเมินเกินจริง รวมถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.
การลดค่ารายปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีกรณีโรงเรือนถูกทำลาย และยังมิได้ทำขึ้นใหม่เท่านั้น จะตีความเลยไปว่ากฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ถึงกำหนดการยื่นรายการเพื่อชำระภาษีด้วยไม่ได้ เพราะตามบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นกรณีทรัพย์ถูกทำลายแล้ว ซ่อมเสร็จในทันใดก็จะลดค่ารายปีลง ดังนั้นการยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในปีใดก็เพื่อเสียภาษีในปีนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ปิดไว้และงดใช้ประโยชน์ตลอดปีภาษีและโรงเรือนที่โจทก์รื้อถอนไปแล้วก่อนปีภาษี โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินดังที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 9(5ป บัญญัติไว้การประเมินให้โจทก์เสียภาษีสำหรับโรงเรือนดังกล่าวจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
โรงเรือนที่ใช้เป็นโรงงานในการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการกำหนดค่ารายปีจึงไม่อาจนำดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยมาเทียบเคียงได้เพราะเป็นโรงเรือนคนละประเภท เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยกำหนดค่ารายปีโดยไม่ได้คำนึงถึงค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งต้องเสียในปี ต่อมา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 แล้ว การกำหนดค่ารายปีตลอดจนการคำนวณภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชี้ขาดการประเมิน เมื่อผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ชี้ขาดว่าการประเมินชอบแล้วให้โจทก์ชำระภาษีตามที่มีการประเมินจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อ ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 แกล้งชี้ขาดให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ค่าภาษีที่โจทก์ชำระก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไดว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับผิดคืนภาษีที่จำเลยที่ 1 รับชำระไว้ต่อโจทก์ได้
โรงเรือนที่ใช้เป็นโรงงานในการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการกำหนดค่ารายปีจึงไม่อาจนำดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยมาเทียบเคียงได้เพราะเป็นโรงเรือนคนละประเภท เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยกำหนดค่ารายปีโดยไม่ได้คำนึงถึงค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งต้องเสียในปี ต่อมา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 แล้ว การกำหนดค่ารายปีตลอดจนการคำนวณภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชี้ขาดการประเมิน เมื่อผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ชี้ขาดว่าการประเมินชอบแล้วให้โจทก์ชำระภาษีตามที่มีการประเมินจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อ ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 แกล้งชี้ขาดให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ค่าภาษีที่โจทก์ชำระก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไดว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับผิดคืนภาษีที่จำเลยที่ 1 รับชำระไว้ต่อโจทก์ได้