พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่คัดค้านคำสั่งศาลในชั้นอุทธรณ์ ถือเป็นการยอมรับ ไม่สามารถมาคัดค้านภายหลังได้
ศาลอุทธรณ์สั่งให้ ศาลชั้นต้นสืบพะยานในข้ออายุจำเลยแล้วให้ส่งสำนวนคือศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาโจทก์มิได้คัดค้านคำสั่งนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้วโจทก์ฎีกาคัดค้านคำสั่งนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบุกรุกแต่ยอมรับสัญญาซื้อขาย ทำให้ฟ้องไม่มีมูล เพราะไม่มีประเด็นให้วินิจฉัย
ฟ้องว่าจำเลยบุกรุก แต่โจทก์กลับรับว่าจำเลยครอบครองที่นั้นโดยอาศัยอำนาจสัญญาซื้อขาย เป็นฟ้องที่ไม่มีมูลคดีที่จะว่ากล่าวเอากับจำเลย เพราะไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจนในสัญญาและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าพะยานเบิกความว่าพะยานมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีและสัญญาที่ฟ้องคือ ฉะบับ พ.ศ.2480 กับจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ตามสัญญาที่ฟ้องนี้สมทั้ง 3 ข้อ จำเลยยอมแพ้ พะยานเบิกความว่า ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจริง จำเลยทำสัญญาให้ 2 ครั้งและยังไม่ได้ชำระหนี้ เช่นนี้ต้องฟังว่าพะยานเบิกความไม่สมทั้ง 3 ข้อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีทำร้ายร่างกาย: จำเลยต้องนำสืบเหตุป้องกันตัวเมื่อยอมรับว่าทำร้ายร่างกาย
หน้าที่นำสืบ โจทก์หาว่าจำเลยทำผิดฐานทำร้ายร่างกายจำเลยต่อสู้ว่าทำโดยป้องกันเป็นหน้าที่จำเลยต้องนำสืบก่อน อ้างฎีกาที่ 865/2478
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าปากเปล่ามีผลผูกพันเมื่อมีการยอมรับการเช่า หากจำเลยอ้างกรรมสิทธิภายหลังและไม่มีหลักฐานสนับสนุน ศาลยกฟ้อง
สัญญาเช่าทำด้วยปากเปล่าผู้เช่าเถียงกรรมสิทธิให้ผู้เช่าได้เพียงไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับพินัยกรรมโดยปริยายและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก
ไม่คัดค้านพินัยกรรมเสียแต่แรกจะมาคัดค้านเมื่อปกครองแล้ว 10 ปีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14961/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้นับโทษต่อเมื่อจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอื่น ศาลต้องรับคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้น กับขอให้นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษของจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาดังกล่าว ถือว่าฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้นแล้ว โดยไม่จำต้องระบุรายละเอียดว่าคดีดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 หรือไม่ อย่างไร เพราะการขอให้นับโทษต่อหาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องกล่าวรายละเอียดมาในคำฟ้องหรือเป็นหน้าที่โจทก์ที่ต้องแถลงผลคดีให้ศาลทราบไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อตามคำให้การฉบับลงวันที่ 25 เมษายน 2557 โดยไม่ได้คัดค้านว่าไม่อาจนับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษในคดีอาญาดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13678/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยสิ่งอื่นแทนเงิน การยอมรับของเจ้าหนี้ และผลของการตกลงเพิ่มเติมที่ขัดแย้งกับกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง อันเป็นหลักทั่วไปในเรื่องหนี้ที่มีบทบัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป" ก็ดี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติเฉพาะในเรื่องเอกเทศสัญญา ลักษณะยืม ที่มีบทบัญญัติว่า "ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ" ก็ดี ล้วนมีองค์ประกอบสำคัญว่าต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้หรือผู้ให้กู้ยืมยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ทั้งสิ้น ซึ่งตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสาม มีบทบัญญัติว่า "ความตกลงกันอย่างใด ๆ ขัดกับข้อความดังกล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมฆะ" นั้น มีความหมายว่า เมื่อผู้ให้กู้ยืมยินยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมแล้ว หากมีข้อตกลงให้คิดมูลค่าสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่ชำระนอกเหนือไปจากจำนวนราคาตามท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ ก็ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะ ดังนี้ การยินยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมจึงเป็นสิทธิของผู้ให้กู้ยืมฝ่ายเดียวที่จะยินยอมหรือไม่ก็ได้ สัญญากู้ยืมเงิน ข้อ 6 ที่มีข้อความว่า "คู่สัญญาตกลงกันว่า ผู้กู้จะชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระเงินไม่ได้เป็นอันขาด" มิได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด จึงหาเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12751/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรศุลกากร การไม่อุทธรณ์ถือเป็นการยอมรับ และฟ้องซ้ำซ้อนที่ไม่เป็นผล
ตามคำฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 716/2553 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ โจทก์ในคดีดังกล่าวฟ้องขอให้จำเลยในคดีนี้รับผิดข้อหาร่วมกันนำหรือพาสินค้าหลบหนีภาษีอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งมีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีนี้มีปัญหาว่า จำเลยต้องรับผิดชำระค่าอากร เงินเพิ่มอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มหรือไม่เพียงใด จะเห็นได้ว่า คำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 716/2553 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ย่อมมีผลเฉพาะในส่วนอาญาที่ขอให้ลงโทษจำเลยเท่านั้น ศาลในคดีอาญาไม่อาจพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระค่าอากร เงินเพิ่มอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ มูลคดีของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นเรื่องทางแพ่งโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องเดียวกับคดีอาญาในความหมายที่บัญญัติไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
ตามมาตรา 112 ฉ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน กฎหมายให้สิทธิผู้นำของเข้าอุทธรณ์การประเมินเช่นนี้ หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจการประเมิน การประเมินนั้นเป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยมิได้สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
ตามมาตรา 112 ฉ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน กฎหมายให้สิทธิผู้นำของเข้าอุทธรณ์การประเมินเช่นนี้ หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจการประเมิน การประเมินนั้นเป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยมิได้สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมให้กันส่วนที่ดินจากการบังคับคดี: การสละสิทธิคัดค้านและการยอมรับแผนที่พิพาทมีผลผูกพัน
โจทก์ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทผู้ร้องกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกันและจำเลยจำนองเฉพาะส่วนของตนไว้แก่โจทก์ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าของใครอยู่ส่วนใด โจทก์จึงนำยึดทั้งแปลง ในชั้นยื่นคำคัดค้านโจทก์ก็ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว แต่คัดค้านว่า การขอกันส่วนเป็นที่ดินตามเนื้อที่ในคำร้องเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ชอบที่ผู้ร้องจะต้องไปขอกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินในภายหลัง แต่ในชั้นไต่สวนโจทก์กลับสละสิทธิตามคำคัดค้าน โดยแถลงต่อศาลว่าโจทก์ได้เจรจากับจำเลยแล้ว ไม่ติดใจที่จะคัดค้านการขอกันส่วนของผู้ร้อง แสดงว่าโจทก์ยอมให้ผู้ร้องกันส่วนที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าครอบครองเป็นส่วนสัดตามคำร้องออกไปจากการบังคับคดีได้ โดยไม่ต้องรอรับเงินกันส่วนหลังจากการขายทอดตลาด ต่อมาเมื่อผู้ร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน โดยผู้ร้องตกลงเอาส่วนด้านตะวันออก จำเลยตกลงเอาส่วนด้านตะวันตก โจทก์ก็แถลงรับต่อศาลว่าตรงตามที่พิพาทกัน อันแสดงถึงการยอมรับในความถูกต้องของการแบ่ง อีกทั้งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาขอให้กันส่วนที่ดินตามคำร้อง โจทก์ก็ไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกา ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับที่จะให้มีการบังคับคดีเฉพาะที่ดินส่วนที่ตกลงให้เป็นของจำเลย โดยกันส่วนที่ดินที่ตกลงให้เป็นของผู้ร้องออกจากการบังคับคดี