คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสินสมรส ไม่ต้องมียินยอมจากสามี หากมิใช่การจัดการทรัพย์สินตามที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่1ลูกจ้างจำเลยที่2ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับส. สามีโจทก์จากจำเลยที่2ซึ่งไม่เข้ากรณีใดในอนุมาตรา1ถึงอนุมาตรา8ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามีตามวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมในสินสมรสและการยินยอมให้ผู้อื่นอยู่อาศัย
บ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ฉ. จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และ ฉ.ร่วมกัน เมื่อ ฉ.อนุญาตให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรที่เกิดจากโจทก์อาศัยอยู่ในบ้านพิพาท แม้โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไป ความยินยอมของฉ.ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่งการที่จำเลยไม่ยอมออกจากบ้านพิพาทจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214-2218/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักระหว่างทำงาน: การยินยอมให้ลูกจ้างกลับบ้านก่อนเวลาเลิกงานถือเป็นเวลาพักได้
ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับลูกจ้างตามเอกสารหมายล.1ตกลงให้เลิกงานเวลา17.50นาฬิกาฉะนั้นเวลา17.30-17.50นาฬิกาจึงเป็นเวลาทำงานอยู่จำเลยให้ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงานในเวลาดังกล่าวและยินยอมให้กลับบ้านไปก่อนตั้งแต่เวลา17.30นาฬิกาถือได้ว่าช่วงเวลา17.30-17.50นาฬิกาจำนวน20นาทีเป็นเวลาที่จำเลยจัดให้พักแล้วเมื่อรวมกับเวลาพักตั้งแต่เวลา12.00-12.40นาฬิกาอีก40นาทีเป็นหนึ่งชั่วโมงจึงชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2และข้อ6ซึ่งกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักในระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ1ชั่วโมงแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1905/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยินยอมให้จัดการมรดก & สัญญาจะซื้อจะขาย: ผลผูกพันทายาท
จำเลยและผู้ร้องทั้งสองเป็นทายาทของ ส. เมื่อ ส.ถึงแก่กรรมผู้ร้องทั้งสองและทายาทอื่นทำหนังสือยินยอมให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต่อมาจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทของ ส. และผู้ร้องทั้งสองแก่โจทก์ โดยผู้ร้องทั้งสองและทายาทอื่นทราบแล้วแต่มิได้โต้แย้งคัดค้าน ดังนี้ ฟังได้ว่าทายาททุกคนรวมทั้งผู้ร้องทั้งสองยินยอมให้จำเลยทำสัญญา และแต่ละคนเชิดให้จำเลยเป็นตัวแทนของตน แม้ขณะที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายนั้นจำเลยยังไม่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสองที่จะต้องโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1905/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมของทายาทต่อการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดก และผลผูกพันตามกฎหมาย
ทายาททั้งหมดของผู้ตายได้ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกมีผลเท่ากับทายาทมอบให้จำเลยแต่ผู้เดียวเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับมรดกของผู้ตายเมื่อจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินของผู้ตายแก่โจทก์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้กองมรดกและแบ่งปันแก่ทายาทแม้จะกระทำก่อนที่จำเลยจะได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ตามแต่ทายาททั้งหมดก็ทราบดีและไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านในขณะทำสัญญาหรือภายในเวลาอันสมควรนับแต่ทราบจึงฟังได้ว่าทายาททุกคนยินยอมให้จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์และแต่ละคนเชิดให้จำเลยเป็น ตัวแทนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821สัญญาจึงมีผลผูกพันทายาททุกคนในอันที่จะต้องโอนขายที่ดินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1905/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยินยอมให้จัดการมรดกและทำสัญญาซื้อขาย: ผลผูกพันทายาทอื่น
จำเลยและผู้ร้องทั้งสองเป็นทายาทของส. เมื่อส.ถึงแก่กรรมผู้ร้องทั้งสองและทายาทอื่นทำหนังสือยินยอมให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกต่อมาจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทของส. และผู้ร้องทั้งสองแก่โจทก์โดยผู้ร้องทั้งสองและทายาทอื่นทราบแล้วแต่มิได้โต้แย้งคัดค้านดังนี้ฟังได้ว่าทายาททุกคนรวมทั้งผู้ร้องทั้งสองยินยอมให้จำเลยทำสัญญาและแต่ละคนเชิดให้จำเลยเป็นตัวแทนของตนแม้ขณะที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายนั้นจำเลยยังไม่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสองที่จะต้องโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง การบอกกล่าวและการยินยอมของคู่สัญญา
คู่สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างคือจำเลยที่ 3 กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.เมื่อโจทก์อ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ได้ทำหนังสือโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้โจทก์ แต่ไม่ปรากฎว่า โจทก์ได้บอกกล่าวการโอนหนี้ไปยังจำเลยที่ 3 โดยทำเป็นหนังสือหรือจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมในการโอนเป็นหนังสือ การที่ ป.และจำเลยที่ 2 ลงชื่อในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 3 ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมด้วยในการโอนหนี้รายนี้ เอกสารที่โจทก์อ้างจึงใช้ยันแก่จำเลยที่ 3 ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการยินยอมของลูกหนี้ การที่คู่สัญญาไม่ได้บอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมโดยตรง ย่อมใช้ยันต่อกันไม่ได้
คู่สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างคือจำเลยที่3กับห้างหุ้นส่วนจำกัดช.เมื่อโจทก์อ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดช.ได้ทำหนังสือโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้โจทก์แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนหนี้ไปยังจำเลยที่3โดยทำเป็นหนังสือหรือจำเลยที่3ได้ยินยอมในการโอนเป็นหนังสือการที่ป. และจำเลยที่2ลงชื่อในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่3ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่3ยินยอมด้วยในการโอนหนี้รายนี้เอกสารที่โจทก์อ้างจึงใช้ยันแก่จำเลยที่3ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าที่สมบูรณ์ แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยินยอมของผู้เช่าเดิมและผู้ให้เช่าเพียงพอ
บันทึกการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจากส.ผู้เช่าเดิมมาเป็นจำเลยผู้เช่าใหม่ในหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวหน้าแรกระบุไว้ว่าโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าจำเลยในฐานะผู้เช่าใหม่และส. ในฐานะผู้เช่าเดิมได้ลงลายมือชื่อรับทราบการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าตึกแถวแล้วถือได้ว่าโจทก์และส. ได้บอกกล่าวการโอนและให้ความยินยอมการโอนสิทธิการเช่าตึกแถวเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งการโอนสิทธิการเช่าตึกแถวจึงสมบูรณ์ แม้หนังสือสัญญาเช่าตึกแถวระหว่างโจทก์กับส. จะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มาก่อนแต่ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้การเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจากผู้เช่าเดิมมาเป็นผู้เช่าใหม่ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหนังสือสัญญาเช่ารับทราบด้วยแม้โจทก์จำเลยหรือส. ไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมบันทึกเปลี่ยนแปลงผู้เช่าก็สมบูรณ์จำเลยย่อมต้องผูกพันต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7370/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินแทนและการเป็นตัวแทนโดยปริยาย อำนาจฟ้องเรียกค่าจ้าง
จำเลยรับเงินค่าจ้างของลูกจ้างโจทก์ 3 คน ไว้โดยคนทั้งสามยินยอมให้จำเลยรับแทน จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนโดยปริยายของลูกจ้างโจทก์ทั้งสามคนดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคสอง การที่จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่คนทั้งสามน้อยกว่าจำนวนที่จำเลยรับจากโจทก์ไว้แทนคนทั้งสาม ก็เป็นเรื่องที่คนทั้งสามจะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าจ้างของคนทั้งสามในส่วนที่จำเลยรับไว้จากโจทก์แล้วไม่จ่ายให้แก่คนทั้งสามคืนจากจำเลย
of 68