คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยึดทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 784 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ซ้ำในคดีล้มละลาย และการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้การยึดที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 205/2526 ของศาลชั้นต้น ซึ่งกระทำภายหลังจากที่ได้ยึดไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 12250/2521 ของศาลแพ่ง เป็นการยึดซ้ำ แต่เมื่อการยึดที่พิพาทได้โอนมาไว้ในคดีล้มละลายนี้แล้ว และผู้คัดค้านได้ดำเนินการขายทอดตลาดในคดีนี้ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้คัดค้าน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 เช่นนี้ การยึดซ้ำในคดีแพ่งดังกล่าวก็ไม่มีผลทำให้การขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นการไม่ชอบแต่อย่างใดไม่ และฎีกาผู้ซื้อทรัพย์ที่ว่า ไม่ว่าการยึดที่พิพาทซึ่งยึดไว้ในคดีแพ่ง 2 ครั้ง จะเป็นยึดซ้ำหรือไม่ก็ตาม เมื่อผู้ร้องทราบถึงการยึดแล้วมิได้ร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงาน-บังคับคดีหรือศาลภายใน 8 วันนับแต่วันทราบ ผู้ร้องไม่มีสิทธินำมากล่าวอ้างในคดีนี้จึงไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป เป็นฎีกาไม่เป็นสาระ
ผู้คัดค้านขายที่พิพาทให้ผู้ซื้อทรัพย์ไปในราคาที่ต่ำเกินไป ไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายแห่งการขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียจึงเป็นการขายที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระค่าปรับ: ศาลเลือกวิธีได้ - ยึดทรัพย์ หรือ กักขัง - การออกหมายกักขังหลังเลือกวิธีแล้วเป็นความผิดพลาด
ป.อ. มาตรา 29 มีเจตนารมณ์ให้ผู้ต้องโทษปรับชำระค่าปรับส่วนการบังคับให้ชำระค่าปรับจะใช้วิธียึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือวิธีกักขังแทนค่าปรับอยู่ที่ศาลจะเลือกใช้ตามรูปคดี ส่วนที่กฎหมายบัญญัติว่า ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะเรียกประกันหรือจะสั่งให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้นั้น เป็นเพียงการกำหนดมาตรการชั่วคราวก่อนดำเนินการตามวิธีที่ศาลเลือกใช้เท่านั้น
เมื่อศาลชั้นต้นเลือกใช้วิธียึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายกักขังเมื่อคดีถึงที่สุดให้กักขังจำเลยที่ 2 แทนค่าปรับ จึงเป็นการออกหมายผิดพลาด หาใช่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเป็นให้กักขังจำเลยที่ 2 แทนค่าปรับหมายกักขังเมื่อคดีถึงที่สุดดังกล่าวไม่มีผลลบล้างคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้ต้องกักขังแทนค่าปรับ อันเป็นผู้ต้องกักขังซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขาย ฝ่ายแพ้คดีต้องรับผิด
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับ ค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีซึ่งรวมทั้ง ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อ ยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้ว ไม่มีการขายหรือจำหน่ายย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดเงินจากบุคคลภายนอก เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจแม้ยังมิได้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดถึงผู้ร้องให้ส่งเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านว่าหนังสืออายัดดังกล่าวมิใช่คำสั่งศาล การอายัดต้องกระทำโดยคำสั่งศาลเท่านั้นและการอายัดจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการยึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วคดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกหนังสืออายัดไปยังผู้ร้องหรือไม่ และการอายัดจะต้องมีการยึดทรัพย์สินของจำเลยก่อนหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสืออายัดไม่มีข้อห้ามผู้ร้องไม่ให้ชำระเงินแก่จำเลย ทั้งไม่ได้กำหนดเวลาให้ผู้ร้องส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ใช่คำสั่งอายัดตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม อันเป็นประเด็นที่ผู้ร้องมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการยึดอายัดทรัพย์สินของจำเลย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้อง จึงเป็นการดำเนินการตามคำสั่งยึดอายัดของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจกระทำได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยตรง โดยไม่จำต้องบังคับคดีตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตราดังกล่าวเรียงตามลำดับ ส่วนมาตรา 310ที่บัญญัติว่า "เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้ว สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้น ให้จัดการดังต่อไปนี้ ฯลฯ" นั้นเป็นการบัญญัติวิธีการยึดทรัพย์ก่อนวิธีการอายัดทรัพย์ อันเป็นบทมาตราที่เรียงต่อกันมาเท่านั้น มิได้หมายความจำกัดว่า จะต้องทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแล้วจึงจะอายัดสิทธิเรียกร้องได้ การที่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยรับไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตมิได้ ผู้ร้องต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความเสียหายจากการยึดทรัพย์โดยมิชอบ เริ่มนับแต่วันที่เกิดเหตุ
การที่จำเลยทั้งสองใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12ประกาศยึดทรัพย์ของโจทก์โดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532 ทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้จะซื้อได้ ทำให้เกิดความเสียหายตั้งแต่วันนั้น หาใช่โจทก์เพิ่งจะได้รับความเสียหายในวันที่โจทก์อ้างว่าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อไม่ จึงเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม2532

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิดเริ่มต้นเมื่อเกิดความเสียหายจากการยึดทรัพย์ ไม่ใช่เมื่อชดใช้ค่าเสียหาย
การที่จำเลยทั้งสองใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12ประกาศยึดทรัพย์ของโจทก์โดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532ทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อได้ ทำให้เกิดความเสียหายตั้งแต่วันนั้น หาใช่โจทก์เพิ่งจะได้รับความเสียหายในวันที่โจทก์อ้างว่าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อไม่ จึงเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2532

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ยึด แม้ผู้จำนองไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานถึงกำหนดหนี้ตามสัญญาจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ที่ว. และจำเลยทำไว้เป็นประกันหนี้ประธานดังกล่าว ย่อมถึงกำหนดเช่นกัน ทรัพย์ที่ว. และจำเลยสามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ได้จำนองไว้แก่ผู้ร้องเป็นประกันหนี้ของ ว. นั้น โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินชำระหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ แม้ ว. มิได้ถูกฟ้องหรือเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก็มีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองเติมจำนวนทั้งสองว.และจำเลยในฐานะเจ้าหนี้จำนองจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีภายใน 10 ปี: เจ้าหนี้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน แม้การยึดทรัพย์ล่าช้าก็มีสิทธิบังคับคดีได้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายในเวลา 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาถือได้ว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว ส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปยึดทรัพย์เมื่อใดนั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีแม้จะพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี แม้การยึดทรัพย์ล่าช้า เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีได้หากปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายในกำหนดสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาและในการร้องขอให้บังคับคดี โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็จะต้องดำเนินวิธีการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวคือ ต้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีก่อน ขั้นต่อไปต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้วจากนั้น ต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาถ้ามีลูกหนี้หลายคนให้ระบุว่าต้องการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้คนใด โจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ได้นำยึดทรัพย์สินเฉพาะของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ แม้โจทก์ยังมิได้บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ได้แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลชั้นต้นขอให้ยึดที่ดินของจำเลยที่ 2ซึ่งอยู่ภายในเวลา 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา แต่เนื่องจากที่ดินอยู่นอกเขตศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลชั้นต้นจึงได้มีหนังสือถึงศาลชั้นต้นขอให้ศาลจังหวัดสีคิ้วซึ่งเป็นศาลที่ที่ดินตั้งอยู่ช่วยบังคับคดีแทน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลจังหวัดสีคิ้วจะไปยึดที่ดินเมื่อใดนั้น เป็นขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลจังหวัดสีคิ้วจะไปทำการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 เกินกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนครบถ้วนแล้วภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการดำเนินคดีบังคับตามสัญญาประกัน: หน้าที่ขอออกหมายบังคับคดี ไม่ใช่หน้าที่นำยึดทรัพย์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(8)บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา และตามมาตรา 4 ให้คำจำกัดความของคำว่าดำเนินคดีว่าหมายถึงการดำเนินการไปตามอำนาจและหน้าที่ในทางอรรถคดีของทางพนักงานอัยการ ดังนั้น เมื่อมีการผิดสัญญาประกันจำเลยเกิดขึ้น พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความของแผ่นดินเป็นผู้ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา ซึ่งหมายถึงการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีการนำยึดและจัดการอื่นใดในทางอรรถคดีเพื่อเป็นผลให้ได้เงินค่าปรับตามคำสั่งศาล หาใช่หน้าที่ของศาลเจ้าหน้าที่ศาลหรือนายประกันที่จะเป็นผู้นำยึดทรัพย์ที่วางประกันไม่
of 79