คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระเบียบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการใช้ดุลพินิจนายจ้างในการงดเลื่อนขั้นเงินเดือน: การพิจารณาผลงานตามระเบียบ
ระเบียบว่าด้วยการขอเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีมิได้กำหนดขีดขั้นไว้ชัดแจ้งว่า การปฏิบัติงานของลูกจ้างอย่างไรจึงจะถือว่าได้ผลสมบูรณ์ตามคุณภาพและปริมาณของงานในตำแหน่งหน้าที่ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องให้อำนาจแก่นายจ้างโดยเฉพาะที่จะพิจารณาใช้ดุลพินิจ เมื่อนายจ้างได้ใช้ดุลพินิจแล้วว่าโจทก์ปฏิบัติงานไม่ได้ผลสมบูรณ์ตามคุณภาพและปริมาณของงานในตำแหน่ง เป็นผู้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องงดบำเหน็จจึงเป็นการชอบด้วยระเบียบและเป็นอันยุติตามนั้น ลูกจ้างหามีอำนาจฟ้องขอให้ศาลวินิจฉัยสั่งเป็นอย่างอื่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการสหภาพแรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวันลา ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
ระเบียบข้อบังคับและสภาพการจ้างว่าด้วยวันลาและหลักเกณฑ์การลาได้กำหนดไว้ว่าการลาหยุดงานทุกครั้งต้องยื่นใบลาและแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาและได้รับอนุมัติเสียก่อน เว้นแต่กรณีป่วยกะทันหันหรือมีเหตุฉุกเฉิน การลากิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาถือว่าขาดงาน เมื่อไม่ปรากฏว่าการที่ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานไปร่วมประชุมจัดงานวันแรงงานแห่งชาตินั้นเป็นกรณีมีความจำเป็นโดยฉุกเฉินหรือเร่งด่วนแต่อย่างใดทั้งลูกจ้างทราบล่วงหน้ามาก่อนแล้วย่อมมีโอกาสที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และระเบียบของนายจ้างได้การที่ลูกจ้างขาดงานไป 4 วันโดยมิได้ยื่นใบลาตามระเบียบและไม่แจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเลื่อนตำแหน่งขัดต่อระเบียบและข้อตกลงสภาพการจ้างตามกฎหมายแรงงาน
การบรรจุ แต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งพนักงานรัฐวิสาหกิจ ย่อมมุ่งหมายให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่แน่นอนชัดเจนเมื่อข้อบังคับการสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดให้การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกเป็นไปตามที่ผู้ว่าการกำหนด และผู้ว่าการได้วางระเบียบไว้แล้วว่าบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ให้ใช้ได้จนกว่าจะมีการสอบคัดเลือกใหม่และประกาศผลแล้ว ดังนั้น การยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ทุกคราวต้องเป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ ย่อมไม่ใช่ความมุ่งหมายของข้อบังคับและระเบียบดังกล่าวที่จะให้ผู้ว่าการมากำหนดวิธียกเลิกบัญชีเฉพาะการสอบคราวใดคราวหนึ่งให้ผิดแผกไปจากระเบียบที่วางไว้และยังใช้บังคับอยู่ ฉะนั้นผู้ว่าการจึงไม่มีอำนาจที่จะกำหนดว่าบัญชีผลการสอบคัดเลือกครั้งพิพาทใช้ได้มีกำหนด 2 ปีนับแต่วันประกาศผลการสอบคัดเลือก
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และข้อบังคับที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องต่างก็เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 แห่งกฎหมายดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงสิทธิหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิมย่อมเป็นการทำสัญญาจ้างแรงงานตามบทบัญญัตินี้ด้วย เมื่อความผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิมผลการสอบคัดเลือกให้ใช้ได้จนกว่าจะมีการสอบใหม่และประกาศผลแล้ว แต่ข้อกำหนดที่ออกภายหลังตามประกาศผลการสอบคัดเลือกครั้งพิพาทระบุว่าผลการสอบใช้ได้เพียง2 ปีจึงไม่เป็นคุณแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 20 จึงใช้บังคับไม่ได้ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเลื่อนตำแหน่งขัดต่อระเบียบและ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
การบรรจุ แต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งพนักงานรัฐวิสาหกิจย่อมมุ่งหมายให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่แน่นอนชัดเจนเมื่อข้อบังคับการสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดให้การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกเป็นไปตามที่ผู้ว่าการกำหนดและผู้ว่าการได้วางระเบียบไว้แล้วว่าบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ให้ใช้ได้จนกว่าจะมีการสอบคัดเลือกใหม่และประกาศผลแล้วดังนั้น การยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ทุกคราวต้องเป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ ย่อมไม่ใช่ความมุ่งหมายของข้อบังคับและระเบียบดังกล่าวที่จะให้ผู้ว่าการมากำหนดวิธียกเลิกบัญชีเฉพาะการสอบคราวใดคราวหนึ่งให้ผิดแผกไปจากระเบียบที่วางไว้และยังใช้บังคับอยู่ฉะนั้นผู้ว่าการจึงไม่มีอำนาจที่จะกำหนดว่าบัญชีผลการสอบคัดเลือกครั้งพิพาทใช้ได้มีกำหนด 2 ปีนับแต่วันประกาศผลการสอบคัดเลือก
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และข้อบังคับที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องต่างก็เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 แห่งกฎหมายดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงสิทธิหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิมย่อมเป็นการทำสัญญาจ้างแรงงานตามบทบัญญัตินี้ด้วย เมื่อความผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิมผลการสอบคัดเลือกให้ใช้ได้จนกว่าจะมีการสอบใหม่และประกาศผลแล้ว แต่ข้อกำหนดที่ออกภายหลังตามประกาศผลการสอบคัดเลือกครั้งพิพาทระบุว่าผลการสอบใช้ได้เพียง2 ปีจึงไม่เป็นคุณแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 20 จึงใช้บังคับไม่ได้ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้สมัครเลือกตั้งกำนัน ร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่ไม่ชอบตามระเบียบ
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 30 มิได้กำหนดให้การเลือกตั้งกำนันเป็นอำนาจสิทธิขาดของนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อการเลือกตั้งมิได้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ซึ่งจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วยผู้หนึ่งถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายแพ่งผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะใช้สิทธิทางศาลร้องขอให้สั่งว่าการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการมิชอบ และขอให้ศาลสั่งให้จัดให้มีการเลือกตั้งกำนันใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2515 ข้อ 17 กำหนดไว้ว่า บัตรเลือกตั้งซึ่งมิใช่ คณะกรรมการเลือกตั้งจัดทำขึ้นให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย จึงมีความหมายรวมถึงบัตรปลอมด้วย และถือได้ว่าบัตรปลอมเป็นบัตรเลือกตั้งฉะนั้นเมื่อการตรวจนับคะแนนปรากฏว่ามีบัตรเลือกตั้งเกินกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งแม้จะมีบัตรปลอมรวมอยู่ด้วย คณะกรรมการเลือกตั้งก็ต้องจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ทันทีตามข้อ 16 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างพักงานไม่มีสิทธิเบิกค่าเล่าเรียนบุตร เหตุระเบียบกำหนดเฉพาะลูกจ้างที่ทำงานปกติ
ระเบียบว่าด้วยการช่วยเหลือลูกจ้างเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรกำหนดว่า ลูกจ้างที่มีสิทธิจะได้รับการช่วยเหลือดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้อันได้แก่เงินที่นายจ้างจ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงานลูกจ้างที่ถูกพักงานแม้จะมีระเบียบให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้าง เงินนี้ก็มิใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน นอกจากนี้ระเบียบดังกล่าวยังกำหนดให้ลูกจ้างผู้มีสิทธิเบิกค่าเล่าเรียนบุตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้ชำระเงินให้โรงเรียน และมิได้ระบุถึงสิทธิของลูกจ้างที่ถูกพักงานดังนั้นระเบียบนี้จึงให้สิทธิเฉพาะลูกจ้างที่ทำงานตามปกติเท่านั้น ลูกจ้างที่ถูกพักงานไม่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเงินค่าเล่าเรียนบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาพักร้อนไม่เป็นไปตามระเบียบ และการละทิ้งหน้าที่ ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากโจทก์ถูกกล่าวหาว่ารายงานเท็จ โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลาหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งกำหนดว่า ลูกจ้างจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โจทก์ลาหยุดพักผ่อนแล้วไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2524 แต่ผู้บังคับบัญชาไม่อนุมัติ ถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาพักร้อนที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ และการเลิกจ้างลูกจ้างที่สมเหตุผล
โจทก์ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากโจทก์ถูกกล่าวหาว่ารายงานเท็จ โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลาหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งกำหนดว่า ลูกจ้างจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โจทก์ลาหยุดพักผ่อนแล้วไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2524 แต่ผู้บังคับบัญชาไม่อนุมัติถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899-910/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ: ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ยังมีผลผูกพัน แม้มีระเบียบภายใน
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ใช้สำหรับพิจารณาว่า คุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรบ้าง การที่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะขาดคุณสมบัติในเรื่องอายุนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ มิได้ยกเว้นไว้ว่าไม่ให้ถือเป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46กำหนดบทนิยามคำว่า 'การเลิกจ้าง' ไว้ และได้ระบุเจาะจงลงไปด้วยว่า 'การเลิกจ้างตามข้อนี้' แสดงว่าให้ใช้แก่เรื่องค่าชดเชยตามประกาศนี้เท่านั้น มิได้มุ่งหมายให้นำไปใช้แก่เรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นด้วย การแปลคำว่า 'เลิกจ้าง' ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา31 จึงไม่จำต้องพลอยแปลตามข้อ 46 ด้วย (การที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ(ฉบับที่6) กลับไปใช้ข้อความตาม (ฉบับที่ 2) โดยไม่มีข้อความให้รวมเอากรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างด้วยดังเช่น (ฉบับที่ 5) นั้นอาจเป็นเพราะเห็นบทนิยามคำว่า 'การเลิกจ้าง' ตามที่เคยใช้อยู่นั้น ครอบคลุมถึงกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุอยู่แล้วก็ได้ เพราะมิได้ระบุยกเว้นไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใด จะถือว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะเปลี่ยนหลักการยังไม่ได้
นายจ้างหามีอำนาจที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยขึ้นเองให้ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อันมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายไม่
แม้นายจ้างจะได้กำหนดเป็นข้อตกลงซึ่งลูกจ้างทราบดีแล้วตั้งแต่สมัครเข้าทำงานว่า เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็จะให้พ้นจากตำแหน่งไป ก็ถือไม่ได้ว่ามีการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว เพราะเป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติลูกจ้างเป็นการทั่วไป
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46และข้อ 47 ไม่ปรากฏชัดว่ามีเจตนารมณ์ในการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ลูกจ้างมีเงินยังชีพในระหว่างหางานใหม่เนื่องจากต้องออกจากงานโดยไม่รู้ตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 ไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และยังไม่มีกฎหมายใดๆ บัญญัติไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับอายุความในเรื่องนี้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างจึงเป็นหนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้วโดยลูกจ้างมิพักต้องทวงถามอีกเมื่อจำเลยมิได้จ่ายให้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบังคับไว้ จึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิสูจน์เจตนาฝ่าฝืนระเบียบ และข้อความในเอกสารที่ไม่เข้าข่ายการปลุกปั่น
ลูกจ้างมีเจตนาฝ่าฝืนระเบียบของนายจ้างหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อความในใบปลิวเป็นแต่แถลงผลการเจรจา และขอให้ต่อสู้ต่อไปไม่เป็นการผิดระเบียบที่จะเลิกจ้าง
of 22